การศึกษาทางเลือกในโรงเรียน
โดย...รศ.ดร.สุรศักดิ์  หลาบมาลา
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)


ภาพจาก Web Site
http://p3.isanook.com/ca/0/ud/274/1372913/_mg_1571.jpg
http://www.swp.in.th/2012/wp-content/uploads/2012/06/A002.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 27-6-60

           การกำหนดให้เด็กทุกคนต้องเข้าโรงเรียนเมื่ออายุครบเกณฑ์ เท่ากับเป็นการผลักดันให้เด็กที่ยังไม่พร้อมต้องเข้าสู่ระบบโรงเรียน เช่นเด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าปกติ เด็กที่มาจากครอบครัวแตกแยก
หรือเด็กพิการและด้อยโอกาส ทำให้เกิดปัญหาความเลื่อมล้ำในการเรียน มีความต้องการต่างกันซึ่งสังคมส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อว่า การศึกษาการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเฉพาะในระบบเท่านั้น แต่ว่าระยะเวลาที่
ผ่านมาพบว่าการศึกษาในระบบไม่สามารถตอบสนองผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันได้ การศึกษาทางเลือกในประเทศไทยจึงเป็นคำตอบหนึ่งสำหรับการศึกษาในยุคปัจจุบันนี้
          การศึกษาทางเลือกในโรงเรียนของประเทศไทยเริ่มขึ้นจากความจำเป็นบางอย่างที่โรงเรียนเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี จากการมีเด็กที่มีปัญหาเรื่องท้องก่อนแต่งแล้วต้องลาไปคลอด แต่ก็ยังอยากจะ
เรียนต่อให้จบ ม.6 ผู้อำนวยการ ของโรงเรียนจัดอาจารย์ที่เป็นบรรณรักษ์ทำหน้าที่สอนให้ในวิชาที่เหลือเพื่อให้เด็ก เรียนจบ แล้วไปเรียนต่อจนจบปริญญาตรี จะเห็นได้ว่าการศึกษาทางเลือกถึงแม้ไม่ได้เรียน
ในชั้นเรียน แต่ไปเรียนกับอาจารย์เป็นรายบุคคลก็สามารถทำให้เด็กมีความรู้ ความสามารถที่จะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้ ซึ่งก็มีโรงเรียนหลายแห่งนำมาใช้กันอยู่
          ความหมายของการศึกษาทางเลือก ถ้าไม่ได้เรียนตามระบบแล้ว ยังมีทางอื่นที่จะได้เรียนต่อให้จบได้เหมือนกับนักเรียนที่เรียนในระบบ จึงเกิดมีการสอนเป็นรายบุคคล หรือเลือกเรียนทางไปรษณีย์
ก็จะเรียกว่าการศึกษาทางเลือก เพราะเขาไม่สามารถที่จะเรียนในระบบได้ก็ต้องมาเลือกเรียนทางนี้เป็นการให้โอกาสแก่ผู้เรียน แท้จริงแล้วการศึกษาหลักใหญ่จะยึดตัวผู้เรียนเป็นหลัก เมื่อเขาต้องการจะ
เรียนที่ไหน เขาก็สามารถเรียนได้ทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ที่จะให้เขาได้รับความรู้เป็นสำคัญ อย่างเช่นการเรียนในโรงเรียนระบบการศึกษาทางเลือกของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผู้เรียนจะไปเรียนอะไรมาก็ได้


ภาพจาก Web Site
http://www.triggeractivism.com/wp-content/uploads/2014/05/homeschooling.jpg
http://www.motherandcare.in.th/_admin/covercontent/M_99--1475486246.png
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 27-6-60

แล้วก็ส่งเครดิตแบงค์มาเก็บไว้ซึ่งเขาจะมีดาต้าแบงค์ พอได้ระดับหนึ่งก็จะให้วุฒิบัตร ผู้เรียนสามารถที่จะเรียนต่อเนื่องได้จนถึงปริญญาเอกเป็นเหมือนการสะสม ซึ่งสมาคมวิชาชีพของสวิตเซอร์แลนด์จะเป็น
ผู้ออกใบประกอบวิชาชีพให้ ไม่ว่าจะเป็นช่างนาฬิกา พนักงานทำความสะอาด ก็ต้องผ่านการเรียนจากสมาคมวิชาชีพมาก่อน เมื่อผ่านการประเมินก็จะได้รับ ใบประกอบวิชาชีพก็สามารถที่จะไปทำงานได้
โดยที่ผู้เรียนสามารถที่จะเปลี่ยนความรู้เป็นเครดิตไปเก็บไว้ได้ และสามารถใช้ต่อ ๆ กันไปได้ยังมีการศึกษาทางเลือกที่เรียกว่า Home School คือการเรียนที่บ้าน โดยมีพ่อหรือแม่เป็นผู้สอนให้ โดยพ่อ
หรือแม่ต้องไปลงทะเบียนกับโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งไว้ก่อน พอสิ้นปีก็ไปสอบและประเมิน ถ้าผ่านก็จะรับประกาศนียบัตรของโรงเรียนที่ลงทะเบียนไว้ เป็นการสอนข้างนอกโรงเรียน นอกจากนี้ยังมีโรงเรียน
พิเศษ เป็นโรงเรียนเฉพาะทางของอเมริกากลุ่มศาสนา เป็นโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่เป็นแคธอลิค และโรงเรียนสำหรับคนผิวดำ ในเมืองไทยก็มีโรงเรียนพิเศษ เช่น โรงเรียนสัตยาไสยเป็นโรงเรียนสำหรับ
เด็กออทิสติก โรงเรียนสำหรบเด็กที่ฐานะดีมีอันจะกิน ก็จะเป็นโรงเรียนเซนคาร์เบลียน โรงเรียนอัสสัมชัน เป็นหลักสูตรเทียบกับประเทศสิงค์โปร์ จะสอนเน้นเป็นพิเศษ แบ่งแยกนักเรียนเป็นเกรด มีครูสอน
2 คนต่อนักเรียนจำนวน 45 คน หลังเลิกเรียนจะช่วยสอนเสริมให้ในสิ่งที่เด็กยังไม่เข้าใจระหว่างเรียนในชั่วโมงเรียน พร้อมกับสอนการบ้านให้ด้วย นอกจากนี้ยังมีแผนก English Program สอนเป็นภาษา
อังกฤษในวิชาหลัก มีบางวิชาก็เรียนเป็นภาษาไทย จึงมีผู้ปกครองเลือกโรงเรียนเหล่านี้ให้ลูกหลานเข้าศึกษา
          ประโยชน์ของการศึกษาทางเลือก เด็กจะได้รับการศึกษาเต็มตามศักยภาพของตัวเด็กเองในแต่ละคน ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองก็ชอบที่จะสนับสนุนให้ลูกหลานเป็นคนเก่ง ประเทศชาติก็ได้ประโยชน์ด้วย
เพราะเมื่อเขาเรียนจบก็จะได้กลับมาพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ตามที่เขาถนัด


ภาพจาก Web Site
https://i2.wp.com/www.techtalkthai.com/wp-content/uploads/2017/06/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-SAU-_ICDL-2017.jpg?resize=600%2C390&ssl=1
https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/images/2016/07/post_thumbnail_2016070516565853511.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 27-6-60

          ข้อคิดสำหรับผู้ที่สนใจที่จะเข้าศึกษาในโรงเรียนการศึกษาทางเลือก
          1. ให้ดูตัวเด็กว่าเขาเก่งหรือเปล่าสำหรับโรงเรียนทางเลือกที่เป็นเอกชน ซึ่งจะสร้างชื่อเสียงให้ทุนแก่เด็กเรียนเก่ง โรงเรียนหรือสถานศึกษาของรัฐบาลก็จัดให้เรียนฟรีสำหรับเด็กที่เรียนเก่ง ซึ่งพ่อแม่
ผู้ปกครองหรือตัวเด็กต้องรู้ว่าตัวเด็กมีความรู้ ความสามารถดีเพียงไหน เก่งด้านไหน มีความตั้งใจในการเรียนหรือไม่
          2. โรงเรียนที่เข้าไปเรียนในระบบการศึกษาทางเลือกจะต้องใช้เงินมากสำหรับการสนับสนุนให้เด็กเข้าไปเรียนสำหรับสถานศึกษาเอกชน พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องมีความพร้อมของเรื่องการเงิน
          3. ต้องดูที่ชื่อเสียงของโรงเรียนหรือสถาบันนั้น ๆ ด้วย ว่าเขามีชื่อเสียงในการสร้างเด็กในเรื่องอะไร เช่น ด้านการกีฬา ด้านวิชาการ และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความเอาใจใส่ของครูผู้สอน


นางสาวเยาวลักษณ์ ศิริสุวรรณ เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/43-59
CD-A1(1/4)-59