โรคเอดส์อันตรายจากภัยเงียบ
โดย...แพทย์หญิง ภาวิณี รุ่งทนกิจ
นายแพทย์เชี่ยวชาญและผู้อำนวยการ
กองควบคุมโรคเอดส์วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
กระทรวงสาธารณสุข

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)


          เอดส์หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมเป็นโรคของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเราในเรื่องของภูมิคุ้มกันมีความบกพร่อง
ซึ่งเอดส์ถือเป็นโรคติดต่อที่มีการแพร่ระบาดมาแล้วมากกว่า 30 ปี จนคนอาจจะลืมเลือนไปแล้วก็ได้ และในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการระบาดอยู่ และมีการติดเชื้อ HIV ของผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นประมาณ
5 คนต่อวัน


ภาพจาก Web Site
http://www.thaihealth.or.th/data/content/28158/cms/thaihealth_c_egklqsuvx238.jpg
https://www.beartai.com/wp-content/uploads/2016/10/hiv-1000x600.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-6-60

          ตามรายงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปี 2558 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อ HIV ที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 60,100 คน ผู้ติดเชื้อ HIV ที่ได้รับยาต้านไวรัสประมาณ 29,500 คน และคาด
ว่าจะมีผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่ประมาณ 1,770 คน ซึ่งการติดต่อส่วนใหญ่จะพบได้ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายด้วยกันมากที่สุด รองลงมาเป็นภรรยาที่ติดเชื้อจากสามีซึ่งเป็นผู้เอาเชื้อมาติดให้ภรรยา
ที่รักเดียวใจเดียว อีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นกลุ่มของผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด และกลุ่มผู้ให้บริการทางเพศทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
          แนวทางการรักษาโรคเอดส์แต่เดิมจะเริ่มให้ยาต้านไวรัส HIV ในกลุ่มผู้ที่มีระดับเม็ดเลือดขาว CD 4 ต่ำกว่า 300 หรือ 350 แต่ปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็น จะเริ่มให้ยากับผู้ติดเชื้อ HIV ทุกราย
โดยเร็วที่สุด ซึ่งเป็นการให้ยาแบบฟรี ๆ โดยไม่คำนึงถึงปริมาณเม็ดเลือดขาว CD 4 เลย ซึ่งยาต้านไวรัสที่ให้เป็นยาที่มีประสิทธิภาพเป็นการลดผลข้างเคียงของผู้ใช้ยา ทำให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีสุขภาพที่ดี
ใกล้เคียงกับคนปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยืนยาว มีความรู้สึกที่ดี ไม่เครียดจนเกินไป เมื่อพบว่าตนเองเป็นโรคเอดส์ก็ต้องดูแลตัวเองให้ดี คือ ต้องดูแลสุขภาพตัวเอง ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ สุขภาพ
กายก็ด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพดี ทานผัก ทานปลา ทานไข่ ทานเนื้อสัตว์ให้เหมาะสม ออกกำลังกายให้พอเหมาะ พักผ่อนให้เพียงพอ งดสิ่งเสพติดทุกชนิด รวมทั้งยาเสพติดด้วย ก็จะทำให้มี
สุขภาพที่ดี มีจิตใจที่แจ่มใสควบคู่กันไปด้วย คือเราต้องมีความหวังว่า เอดส์แม้จะรักษาไม่หาย แต่ปัจจุบันก็มียาต้านไวรัสที่สามารถทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ถ้าได้รับยาที่ถูกต้องเหมาะสม และปฏิบัติ
ตัวตามคำแนะนำของแพทย์
          นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อ HIV ทุกคนควรใส่ใจใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพื่อเป็นการป้องกันการรับเชื้อ และการถ่ายทอดเชื้อ HIV ไปให้ผู้อื่น หรือเพื่อป้องกันการรับเชื้อ HIV ดื้อยาที่อาจ
จะเข้ามาใหม่ และก็ยังเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ยังไม่พร้อม ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ทุกคนควรใส่ใจในการไปพบแพทย์ ต้องติดตามการรักษาตัวเองอย่างใกล้ชิด การทานยาต้องทานให้ตรงเวลา เหมาะสม
กับวิถีชีวิตของผู้ติดเชื้อ HIV


ภาพจาก Web Site
http://1.bp.blogspot.com/-tWEE7ueD5x8/VknzoFXi5ZI/AAAAAAAAQ3I/c4-I4CuAcKM/s640/%25E0%25B9%2586%25E0%25B9%2584.png
http://spi1uk.itvnet.lv/upload2/articles/70/705417/images/3-Slimibas-par-kuram-tu-23.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-6-60

อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV จะมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ
          1. กลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับการรักษา ไม่ได้รับยาต้านไว้รัส HIV. จะมีอาการเริ่มตั้งแต่ อาจจะรู้สึกอ่อนเพลีย ติดเชื้อในหลาย ๆ ระบบ ผิวหนังอักเสบจะเป็นตุ่มที่ตรงนั้น ตรงนี้ เป็นแล้วเป็นอีกรักษาแล้วก็ยัง
ไม่หาย โดยไม่มีหรือไม่ทราบสาเหตุอะไร ไม่ได้ไปสัมผัสกับอะไรที่จะทำให้เกิดอาการแพ้ หรือเป็นงูสวัดที่เยอะมาก ติดเชื้อทางผิวหนังจะเป็นอาการทางระบบของผิวหนัง แต่ถ้าเป็นทางระบบทางเดินหายใจ
ก็จะมีอาการไอเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ไอติดต่อกันเป็นเวลานานเกิน 2 สัปดาห์ ซึ่งไม่ใช่อาการเป็นหวัดธรรมดา และจากสถิติคนไข้ที่มีเชื้อ HIV จะพบว่ามักจะมีโรควัณโรครวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมากกว่า
กลุ่มคนปกติ อาการที่เป็นทางระบบทางเดินอาหารมักจะมาพบหมอด้วยอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว เป็นเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ทั้ง ๆ ที่ทานอาหารก็ปกติ สะอาด ทำสุก ทุกอย่าง จะมีน้ำหนักลดลง คลื่นไส้
อ่อนเพลีย จนทำให้ร่างกายผ่ายผอมจนเหมือนหนังหุ้มกระดูกหรือสุขภาพทรุดโทรม จะเห็นได้จากคนไข้ที่วัดพระบาทน้ำพุ
          2. กลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV ที่เข้ามารับการรักษา โดยการได้รับยาต้านไวรัส HIV. จะเป็นผู้ที่มีสุขภาพค่อนข้างดีใกล้เคียงกับคนปกติ ถ้าเดินมาในท้องถนนจะไม่ทราบเลยว่าเป็นผู้ติดเชื้อ HIV จะดูดีค่อน
ข้างจะแข็งแรง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างปกติ จะมีชีวิตใกล้เคียงกับคนปกติ ฉะนั้นผู้ติดเชื้อ HIV. ทุกคนจึงควรจะมาเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด


ภาพจาก Web Site
http://www.sopon.ac.th/sopon/sema_web/secondary_m2/HealthEducation_m2/unit11_habit-formingDrug/image/200anoi.jpg
https://bk.tsgclub.net/wp-content/themes/TSGNew/scripts/timthumb.php?src=https://bk.tsgclub.net/wp-content/uploads/2017/05/Untitled-24-31.jpg&w=800&h=600&zc=1%27;%20?%3E
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-6-60

การติดเชื้อของโรคเอดส์ HIV มีได้ 4 ทางคือ
          1. จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ HIV
          2. จากการแพร่กระจายของเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ ระหว่างการคลอดบุตร หรือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด
          3. จากการได้รับเชื้อ HIV โดยการได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเลือด เช่น การไปถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ แต่ในปัจจุบันนี้จะพบได้น้อยมาก เพราะจะมีการตรวจแล้วตรวจอีกทำให้
ไม่มีการติดต่อกันทางช่องทางนี้ได้
          4. จากการใช้เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV การสัก ที่ผิวหนังผิวหนังจากการใช้เข็มสักหรือหมึกสีที่เอามาแต้มเป็นรอยสักที่ผิวหนังร่วมกับคนอื่น ๆ การสักที่คิ้วของ
สุภาพสตรีก็ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ที่จะสักคิ้ว ควรปลอดเชื้อ รวมถึงสีที่มาสักให้คิ้วสวย ว่าต้องไม่ใช้ร่วมกับคนอื่น ร้านแต่งผมสุภาพสตรีมีการใช้กรรไกรตัดเล็บมีความสะอาด ปลอดเชื้อหรือเปล่า ร้านตัดผม
ผู้ชายที่ใช้ใบมีดมีการเปลี่ยนใบมีดหรือเปล่า ควรจะตรวจสอบดูก่อนใช้บริการ
          วิธีการป้องกันการติดเชื้อ HIV. ควรจะมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หญิงที่คิดจะมีบุตร ควรจะไปตรวจเลือดก่อนการตั้งครรภ์ ทั้งตัวเองและสามี แต่ถ้าพบว่ามีการ
ติดเชื้อ HIV. แล้ว แพทย์จะวางแผนให้ยาป้องกันในระหว่างการตั้งครรภ์ ระหว่างการคลอด และงดการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ ไม่ควรใช้เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
          การรักษาผู้ติดเชื้อ HIV คนไทยทุกคนสามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรี ปีละ 2 ครั้ง ในทุกสถานพยาบาลของรัฐ ในกรุงเทพมหานครศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง ของสำนักอนามัยกรุงเทพฯ
โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง และโรงพยาบาลภาครัฐ ตามคำขวัญ วันเอดส์โลก Getting to Zero เพื่อลดการติดเชื้อของผู้ป่วย HIV รายใหม่ให้เข้าใกล้ศูนย์ให้มากที่สุด ลดการตายจาก
โรคเอดส์ลงให้มากที่สุด และลดการตีตราหรือการเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่ติดเชื้อ HIV ซึ่งถ้าผู้ติดเชื้อมีความรู้และมีวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสม ก็สามารถจะอยู่ร่วมสังคม อยู่ร่วมที่ทำงานได้อย่างปลอดภัย
          การตรวจเลือดจะใช้วิธีการทดสอบแบบ Rabbit Test คือจะเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว หรือเจาะเลือดที่ข้อพับแขน แล้วเก็บไว้ ใช้เวลาตรวจประมาณ ? ชั่วโมง ก็จะทราบผลตรวจได้เลย ถ้าผล
ตรวจออกมา
เป็นผลบวกแพทย์ก็จะตรวจต่ออีก 2 Test รวมเวลาทั้งหมดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง เป็นการสะดวกกับผู้ที่สงสัยว่าตัวเองจะติดเชื้อ HIV หรือไม่


ภาพจาก Web Site
https://scontent-fbkk5-7.us-fbcdn.net/v1/t.1-48/1426l78O9684I4108ZPH0J4S8_842023153_K1DlXQOI5DHP/dskvvc.qpjhg.xmwo/w/data/932/932502-img.rkxvrv.8.jpg
http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=3644079
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-6-60

 


นางสาวเยาวลักษณ์ ศิริสุวรรณ เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/50-59
CD-A1(2/4)-59