จัดการปัญหาด้วย
AQ
โดย...คุณปิยวรรณ คำดวง
อาชีพพนักงานบริษัท
ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
อีเมล์ : pi_ku@hotmail.co.th
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
ในยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน
ผู้คนมุ่งหวังที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต มีหลายคนที่สมหวัง แต่ก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องผิดหวัง
ปัจจุบันนี้เพียง IQ , EQ นั้นไม่
พอที่จะทำให้คนคนหนึ่งประสบความสำเร็จได้ดีเท่าที่ควร จึงจำเป็นที่จะต้องมาทำความรู้จักกับความฉลาดอีกประเภทหนึ่งนั่นคือ
AQ (Adversity Quotient) หรือความสามารถ
ในการฟันฝ่าอุปสรรค นั่นเอง ยกตัวอย่าง โทมัส อัลวา เอดิสัน (อังกฤษ: Thomas
Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์และนักธุรกิจชาว อเมริกัน ผู้ซึ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สำคัญ
ต่างๆ มากมาย ทดลองทำอะไรต่างๆ ด้วยตนเอง ทดลอง ถึง 20 ปี (ประมาณ 50000
ครั่ง ล้มเหลวประมาณ 40000 กว่าครั้ง) ซึ่งถ้าหากเป็นคนธรรมดา เพียงล้มเหลวแค่
100 ครั้ง ก็อาจทำให้ถอดใจล้มเลิกได้ หากแต่เขายังมีความพยายามที่จะฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านั้นมาจนผลิตไฟส่องสว่างให้พวกเราได้ใช้จนถึงทุกวันนี้
A.Q. หรือ adversity quotient เป็นศักยภาพที่บุคคลสามารถเผชิญกับปัญหา และพยายามหาหนทางแก้ไข
อย่างไม่หยุดหย่อน ด้วยพลังจิตใจที่จะพัฒนางานอย่าง
ต่อเนื่อง สตอลต์ (Paul G.Stoltz, Ph.D.) เป็นผู้เสนอแนวความคิด และ แนวทางพัฒนา
สามารถเผชิญ กับปัญหา และพยายามหาหนทางแก้ไขอย่างไม่หยุดศักยภาพด้าน
เอคิว ( A.Q.)ขึ้น เขาได้แบ่งลักษณะของบุคคล เมื่อเผชิญปัญหาโดยเทียบเคียงกับนักไต่เขาไว้
3 แบบคือ
1.ผู้ยอมหยุดเดินทางเมื่อเผชิญปัญหา (Quitters)
มีลักษณะ
✓
ปฏิเสธความท้าทายอย่างสิ้นเชิง
✓
ไม่คำนึงถึงศักยภาพที่ตนมีอยู่ที่จะจัดการกับปัญหาได้
✓
พยายามหลบหลีกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทุกวิถีทาง
✓
ไม่มีความทะเยอทะยาน ขาดแรงจูงใจ
✓
เป็นตัวถ่วงในองค์กร
2.ผู้หยุดพักพิงเมื่อได้ที่เหมาะ (Campers)
มีลักษณะ
✓
วิ่งไปข้างหน้าบ้างและแล้วก็หยุดลง
✓
หาพื้นที่ราบซึ่งจะได้พบกับปัญหาอุปสรรคเพียงเล็กน้อย
✓
ถอยห่างจากการเรียนรู้ สิ่งน่าตื่นเต้น การเติบโต และความสำเร็จที่สูงขึ้นไป
✓
ทำในระดับเพียงพอที่จะไม่เป็นที่สังเกตได้ ได้แก่พยายามไม่ทำให้โดดเด่นเกินหน้าใคร
3.ผู้ที่รุกไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดนิ่ง (Climbers)
มีลักษณะ
✓
อุทิศตนเองเพื่อมุ่งไปสู่จุดที่ดีขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
✓
ไม่เคยรู้สึกพอใจ ณ จุดปัจจุบันเสียทีเดียว
✓
สร้างสิ่งใหม่ๆให้ตนเองและองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง
✓
สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง และสร้างวินัยแก่ตนเอง
✓
สนุกกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ
ความเข้าใจแนวความคิดด้านเอคิว(
A.Q. )ทำ ให้เข้าใจถึงวิธีที่บุคคลตอบสนองต่ออุปสรรคหรือสิ่งท้าทายตลอดทุกแง่มุม
ของชีวิต ด้วยวิธีการค้นหาว่า ตนเอง ณ จุด ใด
ของงานนั้นๆ จากนั้นจึงวัดและพัฒนางานนั้นให้ดีขึ้นตลอด บันไดในการ กำหนดเป้าหมาย
และการไปให้ถึงได้แก่
ขั้นหนึ่ง
คือ การจินตนาการสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ( Dream the Dream )
ขั้นสอง
คือ แปลงจินตนาการให้เกิดภาพที่ชัดเจน ( Making the Dream the Vision
)
ขั้นที่สาม
คือ คงสภาพและพยามทำตามจินตนาการนั้นจนบรรลุเป้าหมาย ( Sustaining
the Vision )
อย่าลืมว่าหัวใจของเอคิว( AQ. ) คือดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง ไม่ท้อถอย รู้จักที่จะให้กำลังใจตนเองสู้ต่อไป
เพิ่มพลังให้ตนเอง เพื่อให้ถึงสิ่งที่ต้องการคือ เป้าหมายที่ชัดเจน
เทคนิคการสร้าง AQ
มองปัญหาเป็นโอกาส
CORE
1. CONTROL ควบคุมเหตุการณ์/สถานการณ์ได้
2. Ownerships ความเป็นเจ้าของปัญหาอยู่ที่ตัวเรา
3. REACH คิดว่าปัญหาทุกประเภท มีทางแก้ไข ไม่ใช่จบสิ้นแล้วทุกอย่าง
4. ENDURANCE มีความทนทาน อดทน ต่อปัญหาต่างๆ มองโลกในแง่ดีไม่วู่วาม
มาถึงตอนนี้คงจะเห็นได้แล้วว่าเอคิว
(A.Q.) นั้นมีประโยชน์ต่อสังคมโลกอย่างใด และหากเด็กได้รับการพัฒนา ความคิดดังกล่าว
จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กและสังคม
อย่างมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลประเทศสิงคโปร์ถึงให้ความสำคัญต่อสิ่งนี้อย่างมาก
นอกจากนี้ได้มีการศึกษาถึง อานิสงค์แห่งการคงไว้ซึ่งเอคิว( AQ. )ใน 3 ลักษณะคือ
- ทำให้บุคคลนั้นมีความคล่องตัวอยู่เสมอ
ไม่เหี่ยวเฉา การฝึกสมองอยู่ตลอดเวลาทำให้เซลล์สมองพัฒนาการเชื่อมโยงเซลล์ประสาท
ตลอดเวลาทำให้มีความคิดความจำ
ที่ดีอยู่ตลอด
- เป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอ
มาติน เซลิกมาน ( Martin Seligman ) ได้ศึกษาตัวแทนประกันชีวิตเป็นเวลา 5
ปี พบว่าผู้มองโลกในแง่ดี มีผลงานขายประกันสูงกว่า
ผู้มองโลกในแง่ร้ายถึง ร้อยละ 88
- งานวิจัยด้านระบบจิตประสาทภูมิคุ้มกัน
(Psycho- Neuroimmunology) พบว่า วิธีการตอบสนองต่ออุปสรรค มีความสัมพันธ์ทางตรงกับ
สุขภาพกายและสุขภาพจิต
ผู้ที่มีจิตใจต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อ ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อความเจ็บป่วยดีขึ้น
เช่น ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัด จะพบว่าแผลผ่าตัดฟื้นหายเร็วขึ้น มีอายุที่ยืนยาวกว่าฉะนั้นเองผู้ที่ประสบความ
สำเร็จในโลกจะเป็นคนที่คิดในทางบวกจะมองเห็นโอกาสและความหวังเสมอในอุปสรรคนั้นๆ
ปัญหาทุกปัญหามีทางออก แก้ไขได้
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์ . (2551). AQ พลังแห่งความสำเร็จ.กรุงเทพมหานคร:บิสกิต.
Paul . G. Stoltz . (1997). Adversity Quotient @ Work . London: Harper
Collins Publishers.
Paul G. Stoltz. & Erik Weihenmayer (2006). The Adversity Advantage.
NewYork: Simon&Schuster,Inc.
|