กระบือไทย กับ Microchip ?
โดย...คุณกมลชนก   สร้อยเพชร
อาชีพ  สัตวแพทย์
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
อีเมล์ : hochi.dao2012@gmail.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)



          การติดเครื่องหมายประจำตัวสัตว์อิเล็กทรอนิกส์ หรือไมโครชิพ(microchip)ในสัตว์ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะนึกถึง สุนัข แมว เพียงเท่านั้น แต่ในปัจจุบันหน่วยงานราชการ
ได้มีการติดหรือฝังไมโครชิพในกระบือไทยและใช้การเชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบ RFID (Radio frequency indentification) เพื่อขึ้นทะเบียนสัตว์แล้ว
          ตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้มีการจัดทำโครงการบริหารจัดการเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ (Zoning) กิจกรรมพัฒนาเศรษฐกิจกระบือ และสืบเนื่องจากสถานการณ์
กระบือและผู้เลี้ยงกระบือในประเทศไทยมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้เกิดการสูญพันธุ์ของกระบือในประเทศไทยได้ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายเร่งด่วน
ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนประชากรกระบือเพศเมีย จำนวน 1 ล้านตัว ภายในปี 2565 ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบาย


รูปภาพถ่ายโดยเจ้าของบทความ: กระบือปลักที่ฝังไมโครชิพ จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
4-6-59


ให้มีการจัดทำเครื่องหมายและขึ้นทะเบียนกระบือทั่วประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการลดลงของจำนวนกระบืออย่างเร่งด่วน ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าว จึงมี
แผนในการจัดทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ (Microchip) กับกระบือในประเทศไทย เป็นเครื่องระบุตัวสัตว์ชนิดปลอดเชื้อ (Sterile Identity ISO Microchip) พร้อมทั้งเครื่องอ่านรหัส
ไมโครชิพ เพื่อจัดเก็บข้อมูลประวัติกระบือเป็นรายตัว และทราบถึงพิกัด แหล่งที่อยู่ของกระบือในแต่ละพื้นที่เชื่อมโยงข้อมูลกระบือในระบบ RFID เข้ากับระบบเคลื่อนย้ายสัตว์ผ่าน
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Movement) และขึ้นทะเบียนสัตว์แห่งชาติ (NID) ทราบเส้นทางและทิศทางในการเคลื่อนย้ายกระบือ และเป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาสายพันธุ์กระบือ
          เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และดำเนินการตามโครงการดังกล่าวทางปศุสัตว์ได้ดำเนินการติดไมโครชิพให้กับกระบือตัวเมียทั่วประเทศที่ร่วมโครงการในครั้งนี้ ซึ่งการติด
ไมโครชิพ จะติดตั้งที่โคนหางของกระบือเพศเมียทุกตัว จะเป็นเครื่องการรันตีว่า กระบือตัวนั้นจะทราบแหล่งที่มาที่ใบว่าใครเป็นเจ้าของ มีการตรวจรักษา ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตาม

ขอขอบคุณ รศ.น.สพ.วิวัฒน์ ชวนะนิกุล คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2010
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
4-6-59


ระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ และเป็นการช่วยตรวจสอบได้ผลอย่างชัดเจนหากว่ามีการลักขโมยกระบือ หรือมีการขนส่งกระบือผ่านจุดตรวจ จุดสกัดกักกันสัตว์ตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
สามารถจะตรวจจับคนร้ายที่ลักขโมยวัวควายได้อย่างทันท่วงที
          ไมโครชิพในกระบือมีลักษณะเป็น Passive microchip คือ เป็นไมโครชิพชนิดที่ไม่มีแบตเตอรี่ในตัว แต่รับคลื่นความถี่วิทยุจากเครื่องอ่าน แล้วสะท้อนข้อมูลรหัสระบบ RFID
(ตัวเลข หรือตัวอักษรที่แสดงบนเครื่องอ่าน โดยปัจจุบันจะกำหนดเป็นตัวเลข 15 หลัก ตามมาตรฐานสากล) กลับไปที่เครื่องอ่าน ไมโครชิพมีลักษณะเป็นหลอดแก้วมีขนาดเส้นผ่า


ข้อมูลภาพ ณ วันที่
4-6-59


ศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3 มิลลิเมตร และความยาวหลอดแก้วไม่น้อยกว่า 13 มิลลิเมตร โดยไมโครชิพจะบรรจุอยู่ในเข็มและไซริงค์และบรรจุปิดผนึกอยู่ในซองที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค
ด้วยวิธี Gas Sterilization พร้อมใช้งานได้ทันที
          ไมโครชิพสามารถอยู่ในร่างกายสัตว์ได้นาน โดยในกระบือ จะทำการฝังไมโครชิพครั้งเดียวที่บริเวณโคนหางด้านขวา ซึ่งสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตสัตว์ โดยไม่ทำปฏิกิริยากับ
ร่างกายสัตว์ โดยสามารถใช้ไมโครชิพในสัตว์ทุกประเภทตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น หนูทดลอง ปลา กิ้งก่า จนกระทั่งสัตว์ที่มีขนาดใหญ่เช่น ช้าง และล่าสุด กรมปศุสัตว์ได้นำไมโครชิพมา


ข้อมูลภาพ ณ วันที่
4-6-59


ใช้ในกระบือ โดยในการติดไมโครชิพไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวสัตว์ โดยไม่มีข้อห้ามใดๆหลังจากฝังไมโครชิพ และมีอันตรายน้อย นอกจากนี้ยังใช้เวลาน้อยมาก รวมทั้งมีผลการศึกษา
ว่าการฝังไมโครชิพในร่างกายสัตว์แทบจะไม่เกิดอาการที่แสดงถึงความเจ็บปวด (less signs of pain)ในร่างกายสัตว์และแทบเรียกว่าไม่มีการอักเสบเลย (less inflammation)
และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในระยะยาวใดๆ (Casper Lindegaard et al.,2009)

          การติดเครื่องหมายประจำตัวสัตว์อิเล็กทรอนิกส์ (microchip)ในกระบือ และเชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบ RFID (Radio frequency indentification)
เพื่อขึ้นทะเบียนสัตว์มีประโยชน์อย่างไร ?

          1.เป็นการขึ้นทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์กระบือ ให้มีบัตรประจำตัวสัตว์ตามระเบียบกรมปศุสัตว์
          2.กระบือที่ติดไมโครชิพ สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกตามระเบียบการเคลื่อนย้ายสัตว์ โดยไมโครชิพจะทำให้ทราบข้อมูลตัวสัตว์ ทำให้การซื้อขายไม่ผิดตัว และตรงไป
ตรงมา และสามารถยืนยันความเป็นเจ้าของสัตว์ได้จากใบรับรองการติดตั้งบัตรประจำตัวสัตว์อิเล็กทรอนิกส์

รูปภาพถ่ายโดยเจ้าของบทความ: กระบือปลักที่ฝังไมโครชิด อ.วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
4-6-59


          3.การติดไมโครชิพในแม่พันธุ์กระบือ จะทำให้เกิดความแน่นอนในการยืนยันสายพันธุ์ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำเชื้อแช่แข็งในการผสมเทียมในแม่พันธุ์แล้วเกิดเลือดชิด (inbreed)
และสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้
          4.จะได้รับบริการต่างๆตามระเบียบกรมปศุสัตว์ เช่น การบริการดูแลด้านสุขภาพ ถ่ายพยาธิ หรือการติดตามดูแล ช่วยเหลืออื่นๆ สืบค้นประวัติของกระบือ เพศ พันธุ์ อายุ สี
ตำหนิรวมถึงเกษตรกรเจ้าของกระบือ ซึ่งกระบือต้องขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ รวมทั้งอาจสามารถสืบประวัติการทำวัคซีน การถ่ายพยาธิหรือการเจ็บป่วยและการรักษาก่อนหน้าได้

          โดยกรมปศุสัตว์จะดำเนินการฝังไมโครชิพในกระบือภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตกระบือ, ธนาคารไถ่ชีวิตโค-กระบือ, และกระบือเพศเมีย
ทั่วประเทศ ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2559



เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................


Casper Lindegaard, D. V. (2009). Evaluation of pain and inflammation associated with hot iron branding and microchip transponder injection in horses (No.7 ed., Vol. Vol.70).
           AVMA journals.
กองสารวัตรและกักกัน กรมปศุสัตว์. (2558). คุณลักษณะเฉพาะเครื่องหมายระบุสัตว์ชนิดปลอดเชื้อ (Sterile Identity ISO Microchip). ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์, pp. 1-3.
ชวนะนิกุล, ว. (2010). การกำหนดรหัสประจำตัวสัตว์สำหรับประเทศไทย. (pp. 1-34). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสัตวบาล คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนังสือพิมพ์ Bright TV20. (n.d.). กรมปศุสัตว์มอบกรรมสิทธิ์ไถ่ชีวิตกระบือ 30 ตัว เนื่องในมหามงคลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 60 พรรษา พร้อมนำเทคโนโลยีฝังไมโครชิพให้กับกระบือจังหวัดขอนแก่น.