ดอกป๊อปปี้นอกจากจะเป็นดอกไม้สัญลักษณ์แห่งวีรกรรมของเหล่าทหารผ่านศึก ซึ่งดอกสีแดงของดอกป๊อปปี้ หมายถึงสีเลือดของเหล่าทหารหาญที่ได้หลั่งชโลมแผ่นดินไว้ด้วย ความกล้าหาญและความเสียสละสูงสุดแล้ว ลักษณะของก้านที่ยาวของดอกป๊อปปี้ยังถูกนำมาอธิบายในนัยยะอื่นด้วยเช่นกัน
อย่างที่เราทุกคนทราบกันดีว่าลักษณะของดอกป๊อปปี้จะก้านยาวและเติบโตขึ้นในแนวดิ่ง และสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใดก็ตามที่มีดอกป๊อปปี้สูงเด่นเกิน ดอกป๊อปปี้ดอกอื่นๆ สิ่งที่คน ออสเตรเลียทำ คือ ตัดดอกที่สูงเด่นเกินเพื่อนๆ ออก เช่นเดียวกันคนที่สูงเด่นเกินเพื่อนๆในสังคมก็จะถูกกำจัดทิ้งไปด้วยเช่นกัน The Tall Poppy Syndrome จึงหมายถึง วัฒนธรรม ทางสังคมที่ไม่ต้องการให้ใครเด่นเกินหน้าใคร เป็นอาการของคนที่มีลักษณะร้อนรนทนไม่ได้ที่เห็นบุคคลหรือทีมงานมีผลงานที่ดีกว่า แน่นอนว่าถ้าหากอาการนี้แพร่ระบาดไปจะทำให้ เสียสุขภาวะทั้งตัวผู้ที่อิจฉาและตัวผู้ที่ตั้งใจทำงานเองด้วย ในที่สุดก็จะทำให้เกิดปัญหาที่ว่าคนที่เก่งๆ ก็จะทำงานแบบขอไปทีหรือลาออก องค์กรไม่เติบโตหรือมีแต่เสื่อมถอย สาเหตุ ก็เพราะว่า เรายังเชื่อภาษิตหรือค่านิยมที่ว่า "จงทำดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน" ทางแก้ไขที่ดีที่สุดก็คือเราควรปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานแบบมืออาชีพ และตระหนักอยู่เสมอว่าทำดีและ โดดเด่นได้ไม่เป็นไร คนเก่งได้ ให้คนอื่นเก่งตาม โดยแนวทางในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมที่ยั่งยืน มีดังนี้ 1. คุณค่าในองค์กร (Core Value) คือหัวใจสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมในองค์กรเลยก็ว่าได้ คุณค่าองค์กรนั้นอาจเป็นแก่นวิธีคิด ความเชื่อ หรือหลักการสำคัญที่กำหนดขึ้น มาโดยองค์กรให้ทุกคนยึดถือเป็นหลักสำคัญ คุณค่าขององค์กรนี้ควรปลูกฝังให้กับพนักงานทุกๆ คนให้เข้าใจและรับทราบตั้งแต่วันแรกที่พวกเขาเข้ามาทำงาน พร้อมทั้งบอกวิธีการ นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อไม่ให้คุณค่าเหล่านี้เป็นเพียงคำพูดลอยๆ 2.สร้างความผูกพันระหว่างพนักงานทุกฝ่าย กิจกรรมสันทนาการกิจกรรมสันทนาการถือเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการสร้างความผูกพันในองค์กร เพื่อทำให้การทำงานและการใช้ ชีวิตในที่ทำงานดำเนินไปอย่างราบรื่นและเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ 3. ชื่นชมคนทำดี กำลังใจถือเป็นแรงผลักดันให้คนที่ตั้งใจทำงานเดินหน้าต่อไปโดยไม่ย่อท้อ หมั่นสังเกตบ่อยๆ ว่ามีใครในองค์กรที่ทำงานได้ดี ซึ่งเพียงแค่คำชมหรือของรางวัล เล็กๆ น้อยๆ ก็ถือเป็นกำลังใจที่สามารถทำให้พวกเขาพยายามให้ดีขึ้นต่อไปได้อีกในครั้งต่อๆ ไป โดยการประกวดพนักงานดีเด่นประจำเดือนหรือประจำปี ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยกระตุ้น ให้คนในองค์กรพยายามทำงานให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา 4 . เอาใจใส่พนักงาน ปัจจัยหนึ่งของความภักดีของพนักงานขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ของหัวหน้า มีหลากหลายวิธีที่เราสามารถแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสำคัญต่อองค์กรของเรา ขนาดไหน การทำบันทึกเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ของพนักงานแต่ละคนไว้ในระบบ อย่างเช่น วันเกิด วันแต่งงาน หรือวันสำคัญอื่นๆ ในชีวิต เพื่อแสดงความยินดี หรือจัดกิจกรรมฉลอง เล็กๆ น้อยๆ ให้กับพนักงานเหล่านั้น ซึ่งการเอาใจใส่นั้นไม่สำคัญว่าใครจะอยู่ตำแหน่งไหน ไม่ว่าจะสูงกว่าหรือต่ำกว่า ก็ควรทำความรู้จักกับคนอื่นๆ ในทุกๆ ระดับขององค์กร และเอาใจใส่ให้กับพนักงานทุกคน อย่างเท่าเทียมเท่าที่จะทำได้ 5 . ส่งเสริมการเรียนรู้ พนักงานทุกคนไม่ว่าจะตำแหน่งไหนๆ ก็ต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งการที่จะเติบโตขึ้นไปได้ต้องอาศัยการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็น สำหรับตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอยู่เสมอ องค์กรที่แข็งแรงจึงควรสนับสนุนการอำนวยความสะดวกในการพัฒนาตัวเองให้พนักงาน เพื่อช่วยผลักดันให้พนักงานกระตือรือร้นที่จะเพิ่มศักยภาพ ของตัวเองให้มากขึ้น 6 . สร้างความต่อเนื่อง อีกหนึ่งคุณลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมองค์กรที่ควรต้องมีคือความต่อเนื่อง ไม่ว่าองค์กรเราจะมีโครงการอะไร สิ่งสำคัญที่ควรทำคือสร้างความต่อเนื่อง ให้กับโครงการหรือกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมขึ้นมา เพราะการทำแบบฉาบฉวยมักจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ตามมา เช่น การจัดชมรมต่างๆ ก็ต้องมีการป้อนกิจกรรม และมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจของกิจกรรม และดึงดูดให้คนเข้าร่วมอยู่ตลอดเวลา หรือแม้แต่กิจกรรมการกุศลก็เช่นกัน ควรมีความต่อเนื่องและไม่ควรทำเพื่อเกาะกระแสสังคมต่างๆ เท่านั้น
|