สีบาติกแบบอัดเม็ดนวัตกรรมจากข้าวไทย
โดย...ดร.เพ็ญจา จิตจำรูญโชคชัย
อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559) |
ภาพจาก
Web Site
- https://www.bangkokbanksme.com/wp-content/uploads/2016/02/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%
B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7.jpg
- https://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000003126913.JPEG
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
20-7-60
|
|
สีที่นิยมนำมาย้อมผ้าส่วนใหญ่เป็นสีสังเคราะห์ซึ่งก็มีหลากหลายชนิด
หลากหลายประเภท แต่มีสีย้อมผ้าชนิดหนึ่งซึ่งหลายคนอาจจะชื่นชอบก็คือสีย้อมผ้าบาติก
และปัจจุบันนี้ก็มีสีย้อมผ้าบาติกที่ทำจาก
ต้นข้าวของไทยแล้ว ผ้าบาติกเป็นคำที่เรานั้นรู้จักกันดี คือผ้าชนิดหนึ่งที่มีวิธีการทำลวดลายผ้าด้วยการใช้เทียนมาปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้สีนั้นติดลงบนผ้า
แล้วระบายสีในส่วนที่ต้องการให้มีสีสัน เมื่อเสร็จขั้น
ตอนแล้วจึงลอกเทียนออกด้วยการนำไปต้มในน้ำเดือด ก็จะได้ผ้าที่สวยมีลวดลายไม่เหมือนใคร
เป็นสีบาติกเอิ๊ดโทนแบบอัดเม็ดที่สกัดจากข้าวไทย จึงเกิดมีโครงการในการทำสีผ้าบาติกอัดเม็ด
เกิดขึ้นจาก
ชาวบ้านที่อยู่ในชนบทหรือชุมชนโอทอปที่ทำผ้าบาติกประสบกับปัญหาในเรื่องของการต้องไปซื้อสีเคมีมาใช้ในการย้อมทำผ้าบาติก
ทำให้มีการคิดหาวิธีการทำสีสำหรับเขียนผ้าบาติกโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ
ซึ่งนั้นก็คือข้าวที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน และจะต้องเป็นข้าวไทย ซึ่งข้าวไทยมีสีเข้ม
โดยการสกัดสีข้าวจากข้าวในลักษณะที่มีสี แล้วเอามาเขียนลงในผ้าบาติก
ประเทศไทยเราเป็นประเทศที่ปลูกข้าว
ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ และข้าวบางชนิดมีสีค่อนข้างเข้ม นอกจากเราจะขายข้าวโดยการชั่งเป็นกิโลกรัมแล้ว
เรายังสามารถที่จะต่อยอดได้ ด้วยการเอาสีของ
ข้าวมาใช้ประโยชน์ได้ในเรื่องของการย้อมประเภทต่าง ๆ จากการสกัดให้เป็นสีสำหรับเขียนผ้าบาติก
เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของข้าว โดยสามารถที่จะมาทำย้อมลงไปในผ้าเป็นลวดลายต่าง
ๆ ได้ด้วยสีบาติก
อัดเม็ดจากต้นข้าว โดยมีวิธีในการทำคือ เราจะใช้การสกัดสีจากเม็ดข้าว ด้วยการใช้เอ็ชทิลแอลกอฮอลหรือแอลกอฮอลที่ใช้กันทั่ว
ๆ ไป โดยใส่ข้าวลงไปประมาณครึ่งต่อครึ่ง แช่ไว้ในแอลกอฮอลประมาณ 2
อาทิตย์ ก็จะมีสีออกมาจากข้าวที่เราแช่ทิ้งเอาไว้ สีที่ได้จะมีเช่น จากข้าวไรซ์เบอร์รี่สีจะออกเข้ม
ๆ ออกม่วง ข้าวหอมแดงจะออกสีแดงอมส้ม ข้าวหอมนิลจะออกสีเกือบ ๆ สีดำ สีของต้นข้าวจะสกัดเป็นสีเขียว
หรือสีน้ำตาล ข้าวเหนียวเขี้ยวงู สกัดจะได้สีเหลืองออกนวล ๆ หรือสีจาง ๆ
แต่ไม่ใช่สีขาว ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสว่างให้กับภาพได้
ภาพจาก
Web Site
http://image.bangkokbiznews.com/kt/media/image/eureka/2015/10/02/633745/633745_0_1443783233.JPG
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
20-7-60
|
|
หลังจากนั้นก็ทำการระเหยให้สีแห้ง
พอสีแห้งก็ใส่น้ำกลั่นผสมกับแป้งที่มีลักษณะพิเศษมาอัดเป็นเม็ด แต่ชาวบ้านไม่จำเป็นต้องอัดเป็นเม็ดก็ได้เมื่อได้ผงสีออกมาก็สามารถที่จะเอาผงสีไปใช้เขียน
ผ้าบาติกได้เลย ผงสีบาติกอัดเม็ดสามารถจะเก็บไว้ได้นานและสะดวกต่อการขนส่งข้าวที่เรานำมาใช้ทำสีบาติกจะมีหลากหลายสีมาก
ซึ่งจะไล่เฉดสีไปได้เรื่อย ๆ เช่น ม่วงเข้ม ม่วงกลาง ม่วงอ่อน หรือออก
ใกล้สีดำ หรือแดง แดงอมส้ม แดงอมเหลือง จะได้ประมาณ 10 สี ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อการที่จะทำลายของผ้าบาติก
จะได้ลายเฉพาะด้านที่เรียกว่าเอิ๊ดเทียน คือสีที่คล้าย ๆ กับสีธรรมชาติ หรือใกล้เคียงกับ
ธรรมชาติ สีอิฐ สีปูน ซึ่งกำลังเป็นที่ชื่นชอบของต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรป
หรืออเมริกา
วิธีการเรียกสีออกจากน้ำที่เป็นแอลกอฮอล
ด้วยการกรองเอาเม็ดข้าวออก สีก็จะอยู่ในน้ำแอลกอฮอล หลังจากนั้นก็กรองทำความสะอาดให้เป็นน้ำสีที่ไม่มีส่วนผสมอื่น
ๆ ก็จะได้สีที่ผสมในแอลกอฮอล
ก็ต้องมาทำการระเหยให้สีแห้งลง ด้วยวิธีการระเหยแบบง่าย ๆ ก็คือ วิธีการนึ่งโดยเอาหม้อใส่น้ำแล้วเอาขวดที่มีสีแอลกอฮอลวางบนหม้อ
ทำการต้มบนไฟ อีกวิธีหนึ่งก็คือ ตั้งทิ้งไว้เฉย ๆ โดยเปิดฝาขวดที่มี
สีแอลกอฮอล แอลกอฮอลก็จะค่อย ๆ ระเหยออกไปเอง วิธีนี้จะช้าใช้เวลานาน เมื่อแอลกอฮอลระเหยไปหมดแล้ว
เราก็จะได้ผงสี ก็สามารถนำไปใช้ได้
การนำเอาข้าวมาทำแบบนี้สำหรับชาวนาที่ปลูกข้าวแล้วเกิดปัญหา
เช่น ข้าวที่ขายไม่ได้ ข้าวที่หักหรือเสีย หรือข้าวที่มีราคาถูกมาก ๆ ก็จะสามารถเปลี่ยนหรือต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อีกรูปแบบหนึ่ง
เป็น
การให้ความรู้ หรือสร้างเป็นอาชีพเสริม โดยการเข้ารับการฝึกอบรมทำสีบาติกอัดเม็ดจากเม็ดข้าวได้ที่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จะเป็นการให้ความรู้ต่อชุมชน
ผู้สนใจ เป็นการ
พัฒนาชุมชนเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา ปัญหาของการทำสีบาติกแบบอัดเม็ดจากเม็ดข้าว
คือการผลิตได้ไม่ทันกับความต้องการของลูกค้า เนื่องจากมีความต้องการผลิตภัณฑ์ค่อนข้างมาก
และยัง
เป็นการผลิตของโรงงานขนาดเล็ก
ภาพจาก
Web Site
- http://image.bangkokbiznews.com/kt/media/image/eureka/2015/10/02/633745/633745_0_1443783233.JPG
- https://mpics.manager.co.th/pics/Images/559000003126913.JPEG
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
20-7-60
|
|
คุณสมบัติเด่นของสีบาติกอัดเม็ดที่ทำจากข้าว
คือ
1. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เพราะสีบาติกส่วนใหญ่จะเป็นสารเคมี ในขบวนการผลิตผ้าบาติกจะต้องมีการล้างสีออก
เมื่อล้างสีออกก็จะต้องเทน้ำที่เหลือจากการล้างสีลงสู่สิ่งแวดล้อม สารเคมีก็ยังคงอยู่
ในสิ่งแวดล้อม ทำให้เป็นพิษต่อแหล่งน้ำและพื้นดิน แต่ถ้าเราใช้สารอินทรีย์ที่สกัดจากข้าว
จะทำให้น้ำที่เทลงสู่แหล่งน้ำหรือพื้นดินจะเป็นสารอินทรีย์ จะย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ
2. เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าให้กับข้าวซึ่งเป็นสินค้าหลักของประเทศ
ข้าวที่เราขายปลีกในรูปแพ็ก จะได้ราคา 60 70 บาทต่อ 1 กิโลกรัม แต่ถ้าเอาข้าวมาทำเป็นสีบาติก
1 กิโลกรัมจะใช้เขียน
ภาพได้ 5 ภาพ ภาพหนึ่งจะได้ราคา 200 บาท ซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มมูลค่าได้มากกว่า
3. สีที่สกัดออกมาสามารถนำเอาไปย้อมสีกระดาษสาได้
4. คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังทำการวิจัย
โดยนำเอาสีสกัดจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ไปย้อมเซลมะเร็ง ซึ่งก็ทำได้ผลดีในระดับหนึ่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการใช้สีบาติกจากเม็ดข้าว
จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาเป็นที่ยอมรับไม่ใช่เฉพาะในระดับที่ทำอยู่ในชุมชน
ระดับประเทศ แต่จะเป็นที่ยอมรับกันในระดับนานาชาติ หรือ AEC ซึ่งเมื่อเราทำแล้วเกิดประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ
โดยเฉพาะเกษตรกรที่เกิดกรณีราคาข้าวตกต่ำ ก็จะเป็นการช่วยให้มีรายได้ หรือมีอาชีพเสริมขึ้นมา
จากการขายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าวให้ได้ราคาอีกทางหนึ่งด้วย
นางสาวเยาวลักษณ์
ศิริสุวรรณ เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี/นวัตกรรม
กลุ่มรายการที่ 2/51-59
CD-A2(2/3)-59
|