พระภิกษุสงฆ์ที่บวชในพระพุทธศาสนา ต้องทำหน้าที่ในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและช่วยกันสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงสืบต่อไป การที่พระสงฆ์จะทำงานรับใช้พระศาสนานั้น ท่านจะต้องรับหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนประชาชนแล้ว บทบาทในเรื่องของการดูแลและอุปัฏฐากท่านจึงเป็นหน้าที่สำคัญของชาวพุทธ ที่จะทำให้ท่านสามารถทำภารกิจต่างๆ ได้สำเร็จ การถวายภัตตาหารจึงเปรียบเสมือน การให้เลือดและเนื้อและกำลังที่จะทำให้พระสงฆ์มีเรี่ยวแรงในการทำภารกิจต่างๆ แต่ทว่าความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับถวายภัตตาหาร จึงทำให้เกิดโทษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้ การถวายภัตตาหารควรมีข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ๑. เลือกของใหม่และสดถวาย สำหรับการใส่บาตรในตอนเช้า ผู้ซื้อควรที่จะต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อน อาหารสำหรับผู้ขายบางราย ทำมาเพื่อผลทางธุรกิจอย่างเดียวที่ทำขาย แก่บุคคลทั่วไปมิได้เจาะจงว่าจะเป็นพระภิกษุสงฆ์ แต่เพียงอย่างเดียวบ่อยครั้งที่ต้องเจออาหารที่ค้างคืนแล้วอุ่นในตอนเช้า หรือเป็นอาหารที่ใกล้จะเสียและนำมาลดราคาจำหน่าย เมื่อ พระสงฆ์ฉันอาหารเหล่านั้นไปก็ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของท่าน จึงควรตรวจสอบอาหารให้ดีก่อนที่จะนำไปถวายทุกครั้ง ๒. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัดและเค็มจัด อาหารที่มีรสหวานจัดทำให้ร่างกายได้พลังงานเพิ่มขึ้นและทำให้อ้วนและมีน้ำตาลเกินกว่าร่างกายจะจัดการได้ จะทำให้ระดับ น้ำตาลในเลือดสูง เมื่อน้ำตาลสูงก็กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ซึ่งเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมัน โรคไขมันเกาะตับและตับอักเสบจะส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน ยังรวมไปถึงการถวาย น้ำหวานและน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลมาก อาหารที่มีรสเค็มจัด จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง จะทำให้ร่างกายเก็บกักน้ำเพื่อสร้างความสมดุล จึงทำให้เลือดในร่างกายไหลเวียนช้าการคั่งของโซเดียมในร่างกายจึงทำให้ ความดันโลหิตสูงและทำให้ระบบการดูดซึมอาหารในร่างกายทำงานหนัก ร่างกายที่ได้รับโซเดียมสูงกว่าปกติจึงพยายามขับเกลือทิ้งทางเหงื่อ, ปัสสาวะ จึงทำให้รู้สึกกระหายน้ำ, ร้อนในทำ ให้เกิดภาวการณ์ขาดน้ำและถ้าบริโภครสเค็มบ่อยๆ ก็จะเป็นสาเหตุสำคัญของโรคไตวายได้
๓. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสมันจัด, ของทอดมีน้ำมันเยอะ อาหารประเภทนี้จะพบได้กับแกงกะทิ, พะแนงหรือของทอดที่อมน้ำมันไว้มากมาย การทานไขมันมากเกินไปนอก เสียจากจะทำให้อ้วนง่ายแล้ว ยังเสี่ยงเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด โดยปกติแล้วปริมาณน้ำมันประกอบอาหารไม่ควรเกินวันละ ๕ ช้อนชา (๒๕ กรัม) สำหรับคนที่ไม่ต้องใช้พลังงานมาก และไม่เกิน ๗ ช้อนชา (๔๕ กรัม) ในผู้ที่ต้องการพลังงานมาก เช่น ผู้ใช้แรงงาน, เกษตรกร, นักกีฬา ในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายนของทุกปีถูกเลือกให้เป็น วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) โดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF) องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) และสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้ร่วมกันกำหนดให้เป็นวันเบาหวานโลก เพื่อต้องการรณรงค์ให้ทุกคนได้ ตระหนักถึงอันตรายจากโรคเบาหวานทำให้ทราบว่าขณะนี้สถานการณ์โรคเบาหวานกำลังเข้าขั้นวิกฤติ กำลังเป็นภัยเงียบของคนไทยและคนทั่วโลก ล่าสุดพบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานจำนวน ๓๗๑ ล้านคนและยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ จะมีผู้ป่วยถึง ๕๕๒ ล้านคน โดยร้อยละ ๘๐ ของคนป่วย อยู่ในประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้น เมื่อทราบแล้วว่า อาหารเป็นปัจจัยที่ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าอาหารที่เราถวายแก่พระสงฆ์มีโทษ โดยที่เราอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็จะเป็นการบั่นทอนสุขภาพ ของท่านด้วย การถวายอาหารจึงต้องพิจารณาให้เป็นอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะมีประโยชน์ครบ ๕ หมู่ รวมไปถึงน้ำก็ต้องเป็นน้ำที่สะอาด ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อโรคเป็นอย่างดี เมื่อพุทธศาสนิกชนตระหนักถึงอาหารที่จะถวายพระสงฆ์เป็นอย่างดีแล้ว ก็จะสามารถเลือกถวายอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของท่านได้ เพื่อที่พระสงฆ์ท่านจะได้ทำหน้าที่ เป็น ที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวพุทธและช่วยเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยที่ไม่มีอุปสรรคด้านสุขภาพเป็นตัวกีดกันในการปฏิบัติหน้าที่ของตัวท่านเอง
|