การบริการสารสนเทศงานวิจัยกับการเข้าถึง
ข้อมูลเปิดในมหาวิทยาลัยวิจัย

โดย...รศ.ดร.น้ำทิพย์  วิภาวิน
อาชีพ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อีเมล์ :
namtip.wip@stou.ac.th
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)


          การเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดของโลกในการทำให้ข้อค้นพบจากงานวิจัยเป็นข้อมูลเปิดที่ผู้อ่านสามารถเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเรียกว่า การเข้าถึงข้อมูลเปิด(Open Access) เป็น
กลยุทธ์หลักที่คณะกรรมาธิการยุโรปใช้ในการปรับปรุงการไหลเวียนของความรู้และนวัตกรรม ดังที่ปรากฎในหลักการของการเข้าถึงข้อมูลเปิดของสิ่งตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ใน Horizon 2020
โดยในปี 2012คณะกรรมาธิการยุโรปได้กระตุ้นให้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปให้ข้อค้นพบจากงานวิจัยที่ได้ทุนวิจัยจากรัฐต้องเผยแพร่สู่สาธารณะโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อให้การเข้า
ถึงงานทางวิทยาศาสตร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและทำให้เศรษฐกิจฐานความรู้เข้มแข็งตามข้อแนะของข้อตกลงในกลุ่มประเทศยุโรปในการเตรียมความพร้อมกับกลยุทธ์การเป็น Digital Agenda
for Europeในปี 2020

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-7-59

          ดังนั้น การกำหนดนโยบายของการเข้าถึงข้อมูลเปิดมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงสิ่งตีพิมพ์ที่ผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิและข้อมูลจากงานวิจัยนั้นจะต้องไม่มีค่า
ใช้จ่ายในการใช้บริการการกระบวนการของการเผยแพร่ และสามารถนำผลจากงานวิจัยนั้นมาใช้ซ้ำได้อีก นโยบายดังกล่าวควรดำเนินการในทุกประเทศที่เป็นความท้าทายในสิทธิในทรัพย์สินทาง
ปัญญา โดยนโยบายการเข้าถึงข้อมูลเปิดจากผลของงานวิจัยนั้น ควรจะใช้กับทุกงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐ
          ในสหรัฐอเมริกาก็เช่นเดียวกันได้มีข้อเสนอกำหนดให้ผู้ขอทุนวิจัยต้องเสนอแผนการจัดการข้อมูล(Data Management Plan : DMP)ตามแนวทางของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของ
สหรัฐอเมริกา (The US National Science Foundation : NSF) ซึ่งถือว่าแผนการจัดการข้อมูลเป็นความรับผิดชอบของผู้ขอทุนวิจัยเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเสนอโครงการ
วิจัยเพื่อขอรับทุน เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2554 เป็นต้นมา ซึ่งมีพัฒนาการมาจากการที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี (Organisation
for Economic Co-operation and Development -OECD)ได้จัดทำ OECD Principles and Guidelines for Access to Research Data ในพ.ศ. 2547 ดังนั้นโครงการวิจัยทุก
โครงการที่จะขอรับทุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา จึงต้องบันทึกข้อมูลวิจัย(Research data)เพื่อแสดงให้เห็นถึงการผลิตข้อมูล การบริหาร การอนุรักษ์และการแบ่งปัน
ข้อมูล โดยให้ผู้วิจัยกรอกข้อมูลตามเอกสารแนบประกอบโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนความยาวประมาณ 2 หน้า เกี่ยวกับแผนการจัดเก็บและการเผยแพร่ผลการวิจัย ประกอบด้วย
ข้อมูล 3 ส่วนได้แก่
          1.ผลผลิตข้อมูลและมาตรฐาน (Data Products and Standards)
          2.การจัดเก็บข้อมูลและการสงวนรักษาข้อมูลในระยะยาว (Data Storing and Long-Term Preservation)
          3.การแบ่งปันข้อมูล (Data Sharing)
          เนื่องจากการบันทึกข้อมูลวิจัยตามแนวทางที่กำหนดโดยมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา เป็นเรื่องที่ใช้เวลาและต้องเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลในระยะยาวเพื่อ
การเผยแพร่และการใช้งาน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาหลายแห่งจึงได้ตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาการจัดทำแผนการจัดการข้อมูล(Data Management Plan : DMP)แก่นักวิจัยของ
สถาบันโดยตั้งชื่อหน่วยงานว่า Data Management Services (DMS)หรือ Data Management Consulting โดยมีบรรณารักษ์ที่ดูแลข้อมูลวิจัย(Data Librarian)หรือที่ปรึกษาข้อมูลวิจัย
(Research Data Consultant)เป็นผู้รับผิดชอบในการให้คำแนะนำการจัดทำแผน การรวบรวมข้อมูลคลังสารสนเทศหรือคลังข้อมูลแต่ละสาขาวิชา และการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการจัด
ทำแผนการจัดการข้อมูลประกอบข้อเสนอโครงการวิจัย เช่นหน่วยงาน JHU Data Management Services (DMS) consultant ของมหาวิทยาลัยJohn Hopkins สหรัฐอเมริกา ได้จัดทำ
นโยบายที่เรียกว่า JHU Policy on Access and Retention of Research Data and Materials
          บริการสารสนเทศงานวิจัย หมายถึงบริการที่เกิดจากวงจรชีวิตของข้อมูล รวมถึงแผนการจัดการข้อมูล การจัดการข้อมูลดิจิทัลไว้ใช้ในระยะยาว (digital curation) การสร้างเมตาดาตา
(metadata) และการแปลงรูปข้อมูล (Tenopir, Sandusky, Ben Birch 2012) ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานมีความสำคัญต่อการพัฒนาบริการสารสนเทศงานวิจัย ดังนั้นบริการสารสนเทศ
งานวิจัยจึงต้องมีความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัย ห้องสมุด ผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยเฉพาะกลุ่ม รวมถึงบรรณารักษ์ที่จัดทำเมตาดาตาที่จัดทำข้อมูลไว้บริการสารสนเทศงานวิจัยในระยะยาว
(Wakimoto 2013) นอกจากนี้บริการสารสนเทศงานวิจัยยังเป็นประตูสู่การเข้าถึงข้อมูลวิจัยที่จัดเก็บในฐานข้อมูลห้องสมุดและคลังสารสนเทศสถาบันในมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นจดหมายเหตุดิจิทัล
ของผลผลิตทางปัญญาหรือแหล่งจัดเก็บทรัพย์สินที่เป็นความรู้ของสถาบัน วิทยานิพนธ์ถือว่าเป็นงานวิจัยของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยซึ่งมีทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
          ตัวอย่างวิทยานิพนธ์ออนไลน์ในคลังสารสนเทศสถาบันของประเทศฟินแลนด์และอีกหลายประเทศในยุโรป เช่น
          Aalto University Theses http://lib.aalto.fi/en/
          E-thesis - Electronic publications at University of Helsinki http://ethesis.helsinki.fi/en/
          eThesis - Sibelius Academy Theses Database http://ethesis.siba.fi/?language=en_EN
          Jyv?skyl? University Library https://kirjasto.jyu.fi/collections/thesis-searches?set_language=en
          Jultika - Online publications from the University of Oulu http://jultika.oulu.fi/
          LUTPub - Lappeenranta University of Technology electronic dissertations, theses and publications http://libguides.lut.fi/lutpub-en
          TamPub - The open institutional repository of the University of Tampere http://tampub.uta.fi/?locale=len
          Theses and Dissertations of the University of Turku https://www.utu.fi/en/research/dissertations/Pages/home.aspx
          UEF electronic publications - Electronic publications (dissertations, theses) of the University of Eastern Finland http://epublications.uef.fi/index.php?lang=en
          ถ้าเป็นการรวมวิทยานิพนธ์ออนไลน์สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ของประเทศฟินแลนด์เช่น http://www.theseus.fi/

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-7-59

          ในขณะเดียวกันประเทศฝรั่งเศสก็มีการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ออนไลน์เช่นกันเช่น http://www.theses.fr/

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-7-59

          ในประเทศไทย สามารถสืบค้นวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยได้จาก ThaiLIS http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-7-59

          ปัจจุบันผู้ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลวิจัยและวิทยานิพนธ์จะต้องเข้าถึงข้อมูลจากหลายแหล่ง ทำให้ต้องใช้เวลาในการสืบค้นจากหลายฐานข้อมูลและขาดความครบถ้วน (Wipawin 2016)
หากสามารถจัดให้บริการในลักษณะ One Stop Service ที่เป็น Theses Portal ดังตัวอย่างของประเทศฟินแลน์และประเทศฝรั่งเศสก็จะทำให้ผู้ใช้ข้อมูลได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-7-59

          การบริการข้อมูลวิจัยและวิทยานิพนธ์ในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย (Wipawin 2016)

 


เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................


Commission Recommendation of of 17.7.2012 (2012) on access to and preservation of scientific information. Retrieved from http://ec.europa.eu/research/science-society/
document_library/pdf_06/recommendation-access-and-preservation-scientific-information_en.pdf
Digital Agenda for Europe (2010) Retrieved from http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=uriserv:si0016
Making Research Data Repositories Visible: The re3data.org Registry.(2013) Retrieved from https://peerj.com/preprints/21v1.pdf
Organization for Economic Co-operation and Development. Principles and Guidelines for Access to Research Data from Public Funding (p. 24). Paris, Principles and Guidelines
for Access to Research Data from Public Funding (2007).
Pryor, G. (2012) Managing research data. London : Facet Publishing
Tenopir, Hughes, Allard (2015) Research Data Services in Academic Libraries : Data Intensive Roles for the Future? Journal of eScience Librarianship. 4,2
Tenopir, Sandusky, Ben Birch. (2012). Academic librarians and research data services : preparation and attitudes. IFLA 39(1): 70-78.
The Royal Society.(2012) Science as an open enterprise. The Royal Society Science Policy Centre report 02/12, Retrieved from http://royalsociety.org/uploadedFiles/Royal_Society
_Content/policy/projects/sape/2012-06-20-SAOE.pdf
Wakimoto. (2013). Developing Research Data Management Services. Educause Review.
Wipawin, N.(2016) Research Data Services in Thai Research Universities. The 2016 International Conference on Information and Social Science (ISS 2016) Japan: Sapporo Convention Center