10
หลักสูตรสมรรถนะพื้นฐาน
โดย...รองศาสตราจารย์ ดร. เสน่ห์ จุ้ยโต
วิทยากร
อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ
ผู้อำนวยการ สำนักการศึกษาต่อเนื่อง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559) |
ภาพจาก
Web Site
http://arabtrainer.net/wp-content/uploads/2016/04/Training-714x402.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
30-8-60
|
|
ความรู้พื้นฐานในการทำงานในยุคปัจจุบันนี้มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า
ความรู้เฉพาะด้านที่เราจะต้องมีตามเกณฑ์ในการทำงานที่ถูกกำหนดเอาไว้ และถ้าเรามีความรู้พื้นฐาน
เพียงแค่ 1 ถึง 2 อย่าง ก็อาจจะยังไม่เพียงพอ ซึ่งความรู้ความสามารถในการทำงานแบ่งได้
2 กลุ่มใหญ่ คือ ความรู้ความสามารถในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง และความรู้สมรรถนะพื้นฐานใน
เรื่องอื่นๆ เพื่อจะทำงานได้อย่างราบรื่น ดังนั้นคำว่าการพัฒนาสมรรถนะพื้นฐานก็คือ
ความสามารถขั้นต้นในการที่จะทำงานประกอบด้วย
1. คณิตศาสตร์และการวิจัย
การที่จะทำงานในทุก ๆ เรื่อง เรื่องของคณิตศาสตร์การ บวก ลบ คูณ หาร ถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญ
และยิ่งไปกว่านั้นเรื่องของการวิจัย สมรรถนะพื้นฐานของบุคลากรจะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องการวิจัย
2. สมรรถนะพื้นฐานการเขียน
เป็นเรื่องของการเขียนผลงานทางวิชาการและบทความ การเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบและรายงานการประชุม
3. สมรรถนะพื้นฐานเรื่องของภาษา
เราจะมีภาษาอาเซียน ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาสากลจะต้องใช้ ซึ่งตอนนี้มุ่งเน้นภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารใน
AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
4. สมรรถนะพื้นฐานเรื่องของการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการจะเน้นเรื่องของผู้นำ ที่เรียกว่า พัฒนาผู้นำนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลง
กระบวนทัศน์ใหม่ การบริหารมนุษย์ และเรื่อง
ของการบริหารท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน รวมถึงการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์การแนวใหม่
ผู้นำที่ดีจะต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการที่เรียกว่า Bend Basic
หรือ Bend Fundamental พื้นฐานของการจะพัฒนาในส่วนอื่น ๆ
5. สมรรถนะพื้นฐานด้านการขับขี่
เรื่องการอบรมสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถและขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
หรือเรียกว่า อบรมเรื่องใบขับขี่
เรื่องของการพัฒนาสมรรถนะพื้นฐานถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
คำว่าพื้นฐานดูแล้วเป็นเรื่องธรรมดา แต่ความธรรมดาจะครอบคลุมไปหมดทุกเรื่องไม่ว่าจะ
ความคิด การเขียน รวมถึง
การพูด
ภาพจาก
Web Site
http://km.sc.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2014/03/Free-SEO-Training-Course-2.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
30-8-60
|
|
ลักษณะโดดเด่นของการฝึกอบรมของสำนักการศึกษาต่อเนื่อง
คือ อบรมแล้วต้องคิดได้ ทำได้ ถ้าเป็นการวิจัยก็ต้องวิจัยได้ หลักสูตรที่โดดเด่นก็จะมี
การเขียนหนังสือราชการ หนังสือ
โต้ตอบและรายงานการประชุม ซึ่งหลังจากผ่านการอบรมมาแล้ว ก็จะสามารถเขียนหนังสือราชการได้
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้ารับการอบรมเขียนหนังสือราชการได้ เขียนหนังสือ
โต้ตอบได้ เขียนรายงานการประชุมได้ จะเกิดผลสัมฤทธิ์ รู้และเรียนมาแล้วต้องทำได้
จะเป็นการอบรมโดยเน้นสมรรถนะ หรือเปลี่ยนแปลงความสามารถในการปฏิบัติงาน ทำให้รู้จักคิด
มีที่มาที่ไป
การอบรมแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเขียนได้
และสามารถที่จะไปประยุกต์กับหน่วยงานได้ รวมถึงหลักสูตรอื่น ๆ เช่น
หลักสูตรการใช้โปรแกรม
SDSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลสัมฤทธิ์ก็คือ เอาไปวิเคราะห์ข้อมูลได้
ไปสำรวจความพึงพอใจ เรื่องของค่าเฉลี่ย เรื่องของส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
การใช้โปรแกรม
ลีสเรียว เป็นโปรแกรมสำหรับสถิติสำหรับการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์
เหมาะสำหรับนักวิชาการที่สนใจทางด้านของการวิจัย เพื่อที่จะนำไปสู่เรื่อง
การทดสอบสมมุติฐาน ปัจจัยอิสระ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม จะมีการใช้เครื่องมือโปรแกรม
ลีสเรียว เพื่อที่จะวิเคราะห์ในเชิงของสมมุติฐานทางสถิติ จึงเป็นที่น่าสนใจของผู้เข้ารับการอบรม
ที่เป็นนักวิจัย หลังจากอบรมแล้วได้รับการตอบรับว่านำไปใช้ได้จริง
หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะพื้นฐานที่เปิดการอบรมประกอบด้วย
1. หลักสูตรการเขียนหนังสือราชการ
2. หลักสูตรการเขียนผลงานวิชาการและบทความ
3. หลักสูตรการใช้โปรแกรม
SDSS
4. หลักสูตรการใช้โปรแกรม
ลีสเรียว สำหรับการวิจัย
5. หลักสูตรกระบวนทัศน์ใหม่การบริหารทุนมนุษย์
6. หลักสูตรการบริหารการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน
7. หลักสูตรการพัฒนาผู้นำนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลง
8. หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารใน
AEC
9. หลักสูตรประชาสัมพันธ์เชิงรุกสร้างภาพลักษณ์องค์การแนวใหม่
10. หลักสูตรอบรมสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถและขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
ภาพจาก
Web Site
http://www.liceoartisticoterni.it/docenti/img/formazione-docenti.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
30-8-60
|
|
วิทยากรที่จะให้ความรู้ในหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะพื้นฐาน
จะเป็นผู้มีความสามารถในการถ่ายทอดและเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ในเรื่องนั้น
ๆ เช่น
หลักสูตรเสริมสมรรถนะพื้นฐานการเขียนหนังสือราชการ
คือ รองศาสตราจารย์ นภาลัย สุวรรณธาดา มีความชำนาญ เป็นกูรูเรื่องการเขียนหนังสือราชการ
สอนเรื่องการใช้ภาษาไทย
และมีผลงานวิจัยตำราอยู่หลากหลาย
หลักสูตรการเขียนผลงานวิชาการและบทความ
คือ ศาสตราจารย์ ดร. สุมาลี สังข์ศรี เป็นผู้เชี่ยวชาญเขียนบทความหรือเขียนผลงานทางวิชาการ
เขียนผลงานทางวิจัยและผลงานด้าน
อื่น ๆ ประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการ
หลักสูตรการบริการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน
คือ รองศาสตราจารย์ ดร. ราณี ปิสิไชยกุล ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ ด้านการโรงแรมและท่องเที่ยว
เป็นผู้เชี่ยวชาญทำวิจัยเกี่ยวกับ
เรื่องการท่องเที่ยว มีผลงานและงานวิจัยอยู่หลากหลาย
10 หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะพื้นฐานมีลักษณะพิเศษโดดเด่นในเรื่องของวิธีการอบรม
จะเน้นสมรรถนะเป็นหลัก คือ
1. วิธีการอบรมจะเน้นผู้เข้ารับการอบรมเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้
2. ใช้เทคนิคการฝึกอบรมที่หลากหลาย
Learning and Practise คือการเรียนรู้และปฏิบัติ
3. เรื่องของการใช้สื่อผสม
เป็นเรื่องของการใช้เกมส์และกิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ เน้นการทำงานเป็นทีมของคณะวิทยากร
4. การแปลงเนื้อหาที่เรียกว่าหลักสูตร
มีการกำหนดหัวข้อวิชามีคำอธิบาย หัวข้อวิชามีวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
ภาพจาก
Web Site
http://vinhuni.edu.vn/data/48/upload/532/images//2016/01/huong_dan.png
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
30-8-60
|
|
ประโยชน์ที่ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับ
จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น การเขียนหนังสือราชการ สำหรับผู้ที่ทำงานสารบรรณ
งานธุรการ จะมีความผิดพลาดน้อยลงในเรื่องของ
การเขียนหนังสือราชการ ซึ่งจะทำให้ภาพลักษณ์ของหน่วยงานเสียได้ การรายงานการประชุมก็จะลดเวลาของการประชุมลงได้
จะทำให้มีสมรรถนะการจัดบันทึก เป็นการประชุมเชิงรุก และ
ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น องค์การหรือหน่วยงานกิจการก็ได้รับประโยชน์ทำให้ลูกค้าพึงพอใจจากผลการปฏิบัติงานของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่
จนประสบผลสำเร็จ
นางสาวเยาวลักษณ์
ศิริสุวรรณ เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 3 บริหารงาน / บริหารคน
กลุ่มรายการที่ 3/5-59
CD-A3(2/5)-59
|