วันอาสาฬหบูชาสำคัญแก่พุทธศาสนิกชนอย่างไร
โดย...พระมหาศักดา  กนกอริยะศิลป์ วิทยากร
เจ้าอาวาสวัดป่าวิสุทธิคุณ ตำบลชะอำ
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)


ภาพจาก Web Site
http://www.dhammathai.org/day/pic/asanhabucha-1.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-8-60

           วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยเรามีอยู่หลายวันด้วยกัน และวันอาสาฬหบูชาก็ถือเป็นวันหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนในด้านของพระพุทธศาสนา มีความ
เป็นมากล่าวย้อนไปในสมัยพุทธกาล หลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ธรรมวิเศษ คือ อริยสัจ 4 แล้ว พระองค์ทรงเสวยวิมุตสุขบริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์อยู่ถึง 7 สัปดาห์
ก็ทรงพิจารณาว่าธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เป็นธรรมวิเศษ ยากที่ใครจะตรัสรู้ตามได้ง่าย ก็ทรงพิจารณาว่าจะโปรดใครดี ตามคำอาราธนาของพระองค์ ครั้งแรกพระองค์พิจารณาไปถึงอาจารย์ทั้ง
2 คน คือ อาฬารดาบส และอุทกดาบส แต่ท่านทั้ง 2 ก็เสียชีวิตไปแล้ว จึงมานึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ในสมัยที่พระองค์บำเพ็ญเพียรที่เรียกว่า บำเพ็ญทุกรกิริยา ที่มีท่านทั้ง 5 คอยดูแล แต่เมื่อ
พระองค์เปลี่ยนมาเสวยพระกระยาหารบำเพ็ญเพียรทางจิต ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็เข้าใจว่าพระองค์ละความเพียร มาเป็นผู้มักมากในกาม จึงหนีพระองค์ไปอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมือง
พาราณาสี แคว้นกาสี พระองค์จึงเสด็จไปโปรดแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เมื่อเสด็จไปถึงวันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนอาสาฬหบูชา คือวันเพ็ญเดือน 8 ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เมื่อเห็นพระองค์เสด็จมาแต่ไกล
ก็เข้าใจว่าพระองค์จะมาให้ท่านดูแลเหมือนเดิม จึงนัดหมายกันว่าจะรับอัตถบริขารคือเครื่องใช้ของพระองค์ แต่จะไม่กล่าวคำนอบน้อมเหมือนเดิม แต่พอพระองค์เสด็จมาถึงท่านทั้ง 5 ก็ลืม
กติกาที่นัดกันไว้ เข้าไปรับเครื่องอัตถบริขารโดยยังไม่แสดงความเชื่อในการบรรลุธรรม จนพระองค์ตรัสถึง 3 ครั้งว่าพระองค์ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว ทั้ง 5 ท่านก็ยอมฟังธรรมขององค์สมเด็จ
สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นการแสดงธรรมที่เรียกว่าปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนากาลแรกชื่อว่าธัมมจักรกัปปวัตนสูตร มีใจความย่อ ๆ ทรงแสดงที่สุดโต่ง 2 ทาง คือ 1. ทางหมกมุ่นในกาม
เรียกว่ากามสุขขัลลิกานุโยค และ 2. อัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตนให้ได้รับความลำบากเปล่า ๆ แล้วก็ทรงแสดงทางสายกลาง ทรงแสดงอริยสัจ 4 พอจบพระธรรมเทศนา ท่านอัญญา
โกณฑัญญะหนึ่งในปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นก็มีความดับเป็นธรรมดา และก็ได้บรรลุเป็น พระโสดาบันแล้วก็ทูลขอบวชเป็นพระ
พระองค์ก็ทรงประทานบวชด้วยพระองค์เอง เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นพระสงฆ์องค์แรกในพุทธศาสนา จากเหตุการณ์เหล่านี้ จึงทำให้เกิดมี พระรัตนตรัยครบ 3 ประการ คือ
          1. มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระพุทธรัตนะ
          2. ปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นพระธรรมรัตนะ
          3. เกิดภิกษุสงฆ์องค์แรกในพุทธศาสนา เป็นพระสังฆะรัตนะ


ภาพจาก Web Site
http://oamc.ku.ac.th/_2015/01-jan/02-new-year/04_in.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-8-60

          กิจกรรมในวันอาสาฬหบูชาที่ชาวพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนมาถึงปัจจุบันนี้ นิยมที่จะไปศึกษาและปฏิบัติธรรมเรียกโดยร่วมว่าเป็นสัมมาปฏิบัติ ตั้งแต่การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
ทั้งสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน แล้วก็เวียนเทียน เรียกว่าเวียนประทักษิณ อาจจะเวียนรอบอุโบสถบ้าง รอบเจดีย์บ้าง รอบต้นพระศรีมหาโพธิ์บ้าง ซึ่งเป็นเครื่องหมายแทนพระรัตนตรัย โดย
เฉพาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็มีการฟังธรรม นับเป็นกิจกรรมที่นิยมทำกันสืบต่อมาจนปัจจุบันนี้

          หลักคำสอนหรือธรรมะของพระพุทธองค์ในวันอาสาฬหบูชานั้น พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ทรงแสดงทางที่สุดโต่ง 2 ทาง และก็ทรง
แสดงทางสายกลาง ซึ่งทางสายกลางสำคัญมากเพราะเป็นทางที่พระองค์ตรัสว่า ถ้าใครเดินทางนี้แล้วโอกาสที่จะบรรลุคุณธรรม คือมรรคผลนิพพานนั้นเป็นไปได้ พระองค์ทรงตรัสเรียกทาง
สายกลางว่าอริยมรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฎฐิ เห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายามะ ความเพียร
ชอบ สัมมาสติ ระลึกชอบ และสัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ ซึ่งทางสายกลางหรืออริยมรรคองค์ 8 สำคัญมาก เพราะเมื่อใครลงมือปฏิบัติตามมรรค 8 หรือทางสายกลางแล้ว จะส่งผลให้ผู้
นั้นประสบกับความสุข ความเจริญ ทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างแน่นอน ยิ่งถ้าเป็นบุคคลที่ทำงานแล้ว หน้าที่การงานก็จะเจริญรุ่งเรือง ปัญหาต่าง ๆ ก็แทบจะไม่มี


ภาพจาก Web Site
http://www.doo-deedee.com/wp-content/uploads/2016/09/pray-1.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-8-60

          แง่คิดสำหรับพุทธศาสนิกชนที่ดีควรจะปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์เนื่องในวันอาสาฬหบูชา โดยการนำเอาหลักมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลางเอามาประยุกต์ใช้
โดยการศึกษาอบรม กาย วาจา ใจ รวมถึงปัญญาของตนเอง ให้พัฒนาบริสุทธิ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้าตามหลักสายกลางที่พระองค์ตรัสสัมมาทิฎฐิเป็นเบื้องต้นก่อน คือเห็นชอบ การเห็นชอบในทาง
หลักธรรมก็คือ เห็นอริยสัจ 4 เห็นไตรลักษณ์ เห็นปฏิจจสมุปบาท แต่ถ้าเรามาประยุกต์ใช้ในทางโลก สัมมาทิฎฐิก็คือ มีแนวความคิดที่ดี ที่ถูกต้อง เมื่อเรามีสัมมาทิฏฐิ มีแนวความคิดที่ดีแล้ว
การลงมือทำงาน ไม่ว่าทางกาย ทางวาจา ก็จะดีไปด้วย เพราะว่าเรามีแนวความคิดที่ดีแล้ว

          แต่ในทางหลักธรรมพระพุทธเจ้าตรัสว่า ต้องมีความคิดดีด้วย แนวความคิดดีนั้นก็ต้องมี ความคิดดี ถ้ามีความคิดดีก็ทำให้สัมมาทิฏฐิเหมือนเป็นวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์จะชัดเจนนั้น ความ
คิดต้องชัดเจน ต้องมองภาพที่เราวางเอาไว้ออก ถ้าเราคิดไม่ชัดเจน มองภาพไม่ค่อยชัด วิสัยทัศน์ที่เราจะวางแล้วก็เดินไป ก็จะไม่ชัดไปด้วย เมื่อตรงนี้ชัดเจนแล้ว การกระทำทางวาจาซึ่งใน
ข้อปฏิบัติก็มี สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาวายามะ เลี้ยงชีพชอบ ก็จะดีขึ้นไปด้วย ในทางใจก็คือ ความเพียรชอบ แล้วก็ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ ก็จะ
ดีขึ้นไป เมื่อสิ่งเหล่านี้มารวมกันก็เป็นการศึกษาอบรมทางกาย วาจา ใจ นั่นเอง อีกมุมหนึ่ง สัมมาทิฎฐิ กับสัมมาสังกัปปะ มีการสงเคราะห์มีอยู่ในพระไตรปิฏก สงเคราะห์เป็นปัญญา ส่วน
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สงเคราะห์เป็นศีล แล้วก็สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สงเคราะห์เป็นสมาธิ หรือพูดง่าย ๆ ว่ามรรคมีองค์ 8 หรือมัชฌิมาปฏิปทา ย่อลงเป็น
ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าพูดอีกนัยหนึ่งก็คือเป็นหลักในการพัฒนาตนนั่นเอง โดยเราชาวพุทธจะเห็นเป็นคำขวัญหรือเป็นสโลแกนที่พิมพ์ติดหลังรถ หรือเสื้อยืด
ก็มี ว่า คิดดี ทำดี พูดดี


ภาพจาก Web Site
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/366/36366/album/38639/images/345557.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-8-60

          ข้อคิดสำหรับพุทธศาสนิกชน ทุกคนต้องการมีความสุข ความเจริญ ความสำเร็จในชีวิต แต่การที่เราจะทำให้เราประสบความเจริญสันติสุข และมีความสำเร็จในชีวิตนั้นเราต้องสร้าง
เหตุปัจจัยที่ดี เหตุปัจจัยที่ดีมี 2 กรณีคือ เหตุปัจจัยภายนอก และเหตุปัจจัยภายใน เหตุปัจจัยภายนอก คือ การตั้งใจเรียนสำหรับนักเรียน นักศึกษา และเมื่อศึกษาจบแล้วก็ตั้งใจทำงานให้ดี
ปัจจัยที่ดีคือการทำกรรม คำว่ากรรมเป็นคำกลาง ๆ แปลว่าการกระทำดีทางกาย วาจา ใจ ภาษาพระเรียกว่า กุศลกรรม ผลจากการกระทำกุศลกรรมจะเป็นบุญ บุญธรรมชาติของบุญคือ ทำ
จิตใจให้ผ่องใส ใครทำความดีแล้วเป็นบุญชีวิตก็เจริญ ส่วนการกระทำตรงข้าม คือการทำไม่ดีทางกาย วาจา ใจ ภาษาพระเรียกว่า อกุศลกรรม หรือกรรมชั่ว เมื่อทำไปแล้วจิตใจก็จะเศร้า
หมอง เป็นบาป ส่งผลให้ชีวิตได้รับความเดือดร้อนมีปัญหาอุปสรรค ฉะนั้นถ้าเราสร้างเหตุปัจจัยภายในดี คือทำกรรมดีชีวิตก็จะเจริญ การทำกรรมดี เดินทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา
มรรถมีองค์ 8 ถ้าเราทำได้ กาย วาจา ใจ ของเราจะบริสุทธิ์จะดี การทำงาน การดำเนินชีวิตก็จะดีไปด้วย คือหลักธรรมในวันอาสาฬหบูชา


ภาพจาก Web Site

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-8-60

          คำว่าพุทธศาสนิกชนที่เราได้ยินกันทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะในช่วงของเทศกาลงานบุญ หมายถึง ชนก็คือบุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนา การนับถือพระพุทธศาสนาก็ได้แก่ผู้ที่นับถือ
พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แล้วก็น้อมนำเอาหลักธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรัสมาศึกษา แล้วก็อบรมตนทั้ง กาย วาจา ใจ เพื่อให้การดำเนินชีวิต การทำงานเจริญ ซึ่ง
พุทธศาสนิกชนที่แท้จริงนั้นต้องมีการศึกษาและปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นแค่การเรียกชื่อเฉย ๆ ในสมัยพุทธกาล พุทธศาสนิกชนนั้นพระพุทธเจ้าจะเรียกว่าพุทธบริษัท 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ
อุบาสิกา แต่ในปัจจุบันนี้พุทธศาสนิกชนถ้าจะพูดกันตรง ๆ คือจะมีภิกษุ แต่ภิกษุณีบางประเทศก็มี บางประเทศก็ยังไม่มี แต่มีสามเณรมาแทน แต่อุบาสก และอุบาสิกาก็ยังมีอยู่ คำว่าอุบาสก
อุบาสิกาแปลตามศัพท์ แปลว่าผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย ถ้าผู้ที่ไม่ได้เข้าศึกษาและปฏิบัติธรรม จะเรียกว่าพุทธศาสนิกชนได้หรือไม่ แต่ถือว่ายังไม่ได้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย ถ้าจะเรียกพุทธ
ศาสกนิชนเพราะตามที่คุณพ่อ คุณแม่ บรรพบุรุษนับถือพุทธศาสนาตามมา แค่อาจจะเป็น อุบาสก อุบาสิกา คือนั่งใกล้พระรัตนตรัยเท่านั้นแต่ยังไม่ถึงพระรัตนตรัย.



นางสาวเยาวลักษณ์  ศิริสุวรรณ เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม / การท่องเที่ยว
กลุ่มรายการที่ 4/29-59
CD-A4(4/5)-59