พระมหากษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตย
โดย...รองศาสตราจารย์ ดร. ปดินันท์ อุปปรมัย
กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนนทบุรี
ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2556)


ภาพจาก Web Site
http://www.dhammajak.net/board/files/__oeparagraph__269.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 5-11-59

          สถาบันหลักในการปกครองของไทยที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องของชนชาติไทยมาตลอด ก็คือ พระมหากษัตริย์ แม้ว่าจะมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้วก็ตาม พระมหากษัตริย์
ก็ทรงมีความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่อตีดจนถึงปัจจุบัน

ระบอบประชาธิปไตย
          ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่เน้นเรื่องของการมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน อำนาจต้องมาจากประชาชน โดยเป็นความต้องการที่สอดคล้องกันของคน
ส่วนใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ละเลยหรือเพิกเฉยต่อความต้องการของคนส่วนน้อย

ความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
          เมื่อสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค เป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่ โดยที่จะไม่ละเลยเสียงส่วนน้อย พระมหากษัตริย์ของไทยเราท่านก็ทรงเห็นถึงความสำคัญนี้ จะเห็นได้ว่าตั้งแต่
รัชกาลที่ 6 ก็ทรงให้ความสำคัญกับเรื่องของระบอบประชาธิปไตยที่อยากจะให้อำนาจเป็นของประชาชน ให้ความต้องการของคนส่วนใหญ่ที่ไม่ละเลยความสัมพันธ์ของคนส่วนน้อย ให้มีส่วนใน
การปกครองประเทศ ท่านจึงได้ทดลองที่จะทำดุสิตธานี เพื่อดูว่าถ้าเราจะปกครองตามแบบระบอบประชาธิปไตยเนี่ยจะเป็นอย่างไรบ้าง แต่ว่าก็ยังไม่ทันเสร็จสิ้นดี และท่านยังได้ส่งคนไปเรียน
ในต่างประเทศ เพื่อที่จะให้รู้ว่าประเทศที่เขาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเขาเป็นอย่างไรกัน

          จนกระทั่งรัชกาลที่ 7 ท่านก็ทรงเห็นความสำคัญ เพราะเมื่อคณะราษฎร์จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ท่านก็ไม่ได้ทรงที่จะปฏิเสธ เพียงแต่ว่าจริง ๆ แล้วท่านคิดว่า
น่าจะยังไม่ถึงเวลา แต่ในเมื่อเป็นความต้องการของประชาชนท่านก็ทรงยินดี แต่ก็ทรงให้ข้อคิดอย่างหนึ่งว่า ท่านทรงอยากให้อำนาจตกอยู่กับประชาชนโดยแท้จริง ไม่ใช่ให้อำนาจไปตกอยู่กับ
ผู้หนึ่งผู้ใด หรือคณะหนึ่งคณะใด เป็นคณะบุคคลเท่านั้น ก็จะเห็นได้ว่าท่านทรงให้ความสำคัญกับประชาชน ให้ความสำคัญกับเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนในแผ่นดิน เพราะฉะนั้นพระมหากษัตริย์
ของไทยเราโดยเฉพาะราชวงศ์ในรัตนโกสินทร์ ก็ทรงให้ความสำคัญมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยซ้ำไป เพียงแต่ว่าเราพึ่งจะติดต่อกับต่างประเทศ และก็เพิ่งจะมีระบอบนี้ขึ้นมา จนกระทั่งถึง
ปัจจุบันนี้พระมหากษัตริย์ไทยเราก็ทรงให้ความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตยมาโดยตลอดเวลา

ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
          อาจจะมีคนตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศไทยถึงต้องมีระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็เพราะว่าบางประเทศเขาก็ปกครองประเทศแบบระบอบประชาธิปไตยเพียง
อย่างเดียว แต่ของประเทศไทยเราปกครองประเทศแบบระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เพราะเราถือว่าประเทศของเรามีประวัติความเป็นมาเนินนาน ตั้งแต่อดีตจน
ถึงปัจจุบันนี้ เราจะเห็นได้ว่าเรามีผู้นำเป็นพระมหากษัตริย์เกือบจะทั้งหมดของไทยเรา ที่ทรงมีคุนูปการแก่ประชาชนชาวไทย สามารถที่จะนำพาประเทศชาติและประชาชนให้อยู่มาได้ในนามของ
ประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
          เมื่อประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่ให้อำนาจสิทธิขาดเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่จะให้อำนาจสิทธิขาดเป็นของ
ประชาชน เราจึงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เราจึงอยากให้ท่านเป็นส่วนหนึ่งถึงแม้ว่าจะไม่มีอำนาจอะไรเลย ในการที่จะสั่งการใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางศาล อำนาจทางบริหาร อำนาจในการ
ออกกฎหมาย แต่อย่างน้อยเราก็อยากให้ท่านเป็นมิ่งขวัญ เป็นศูนย์รวมจิตใจ และก็เป็นที่พึ่งทางใจ โดยการให้ท่านทรงที่จะรับรู้ทุก ๆ เรื่อง ที่สำคัญที่ทุกฝ่ายที่ใช้อำนาจต่าง ๆ จะใช้อำนาจแต่ละ
ครั้ง โดยการที่จะให้ท่านทรงลงพระปรมาภิไธยรับทราบ


ภาพจาก Web Site
http://www2.tnews.co.th/userfiles/image/1_22979.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 5-11-59

          เพราะฉะนั้น พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของประเทศไทยเรา แท้จริงแล้วพระมหากษัตริย์ไม่ทรงมีพระราชอำนาจใด ๆ แม้แต่น้อยเลย
แต่ท่านทรงมีบารมี เวลาที่ท่านจะพูดอะไร หรือจะให้ข้อคิดอะไร ประชาชนก็มักจะศรัทธาทำตาม เพราะเราทุกคนได้ประจักษ์แล้วว่าทุกอย่างที่ท่านทรงให้คำแนะนำหรือทรงทำเป็นตัวอย่าง ผลจะ
ออกมาดีด้วยกันทั้งนั้น โดยไม่มีการบังคับ และไม่มีผลเสียอะไรเลยในการที่เราจะไม่ทำตามท่าน แต่ถ้าใครทำตามท่านแล้วก็จะเกิดผลดีตามมาเสมอ เรียกได้ว่าเป็นความสำคัญว่า ทำมัยเราถึง
ต้องเป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

พระราชอำนาจตามพระราชมนูญในระบอบประชาธิปไตย
          พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามพระราชมนูญในระบอบประชาธิปไตย จะเห็นได้ว่า ไม่มีเลย ท่านไม่สามารถจะไปทรงตัดสินว่าการกระทำอย่างนี้ดี การกระทำอย่างนี้ควร การกระทำ
อย่าง นี้เหมาะ ทำอย่างนี้ได้ ทำอย่างนี้ไม่ได้ จะแต่งตั้งคนให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้ไม่มีเลย เพราะทุกอย่างแม้จะทรงลงพระปรมาภิไธยเหมือนกับเป็นการอนุญาต แต่จริง ๆ เป็นเพียงการรับทราบที่
ทุกคนได้กลั่นกรองมาหมดแล้ว จะทรงลงนามรับรองให้รับทราบว่าจะทำกันอย่างนี้ แต่ในบางครั้งถ้าท่านเห็นว่าอะไรที่มันไม่เหมาะไม่ควรตามประสบการณ์ที่ท่านมี ก็จะทรงยับยั้งโดยยังไม่ลง
พระปรมาภิไธย เพื่อให้นำกลับไปคิดกันให้รอบคอบ แต่การให้กลับไปคิดให้รอบคอบก็ไม่ใช่พระราชอำนาจที่จะไปยังยั้ง ถ้ากลับไปคิดให้รอบคอบก็ยังยืนยัน ท่านก็ต้องลงพระปรมาภิไธยรับทราบ
หรือยินยอมให้ทำตามนั้น

การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย
          การส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยก็คือ ท่านทรงยินดีที่จะให้ทุกคนมีสิทธิมีเสรีภาพในการที่จะแสดงความคิดเห็นหรือทำอะไรที่ไม่ไปละเมิดสิทธิและเสรีภาพของคนอื่น และท่านก็ทรงปฏิบัติ
ตนเช่นนั้นเหมือนกัน ท่านไม่เคยใช้เสรีภาพของท่านในการที่จะล่วงละเมิดเสรีภาพของคนอื่น เพราะฉะนั้นตลอดเวลาจะเห็นได้ว่า ท่านก็ทรงเสนอแนะความคิดเห็นถ้าใครเห็นดีเห็นงามทำตาม
ก็จะได้ผลดี แต่ถ้าใครไม่เห็นดีเห็นงาม
ไม่ทำตาม ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่อย่างน้อยท่านก็ได้แสดงสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของท่าน และท่านได้ทำตามเสรีภาพที่ท่านมีและก็ไม่ละเมิดสิทธิ
เสรีภาพของใคร


ภาพจาก Web Site
http://2.bp.blogspot.com/-Zq3zcKD8Rjk/UWeEgNf4yFI/AAAAAAAAD-U/noGNLRYsyJg/s1600/T0005_0008_01.jpg
http://f.ptcdn.info/238/026/000/1417770041-o.jpg
http://www.buriram.go.th/king/pic/17.jpg
http://2g.pantip.com/cafe/siam/topic/F13015631/F13015631-23.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 5-11-59

เป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของประชาชน
          พระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน เพราะเวลาที่บ้านเมืองของเราเกิดวิกฤต ก็จะทรงเป็นผู้นำที่ทำให้ประชาชนของท่านผ่านวิกฤตมาได้ แม้ในระบอบ
ประชาธิปไตยที่ทรงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขก็ตาม ถึงแม้ท่านจะไม่มีพระราชอำนาจอะไรเลย แต่เมื่อถึงยามวิกฤตอย่างเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงเรียกว่าวันมหาวิป-
โยค เหตุการณ์ก็สามารถสงบลงได้เมื่อพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันทรงมาให้ข้อคิดและให้คำแนะนำ ด้วยความที่เรารักและเทิดทูนท่าน หลายคนยินดีที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของพระองค์ และ
เหตุการณ์ก็สงบเรียบร้อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน แม้แต่ทุกวันนี้ก็ตามเมื่อใดที่เราได้เฝ้าได้เห็นพระบารมีของท่าน เราก็จะรู้สึกทราบซึ้งประทับใจ เมื่อเวลาพูดถึงในหลวงทุกคนก็จะมีความสุขเมื่อ
เห็นท่านทรงมีความสุข แต่เมื่อไหร่ที่บ้านเมืองเดือดร้อน เรารู้ว่าท่านเดือดร้อน เราก็รู้สึกเป็นทุกข์ไปกับท่านด้วยเหมือนกัน นี่ก็คือความเป็นศูนย์รวมจิตใจของพระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ต่อประชาชนชาวไทย

ประเทศไทยโชคดีที่มีพระมหากษัตริย์

          พระมหากษัตริย์ในโลกนี้ที่ยังมีอยู่ พระองค์ท่านจะปฏิบัติภาระกิจประจำของท่านโดยปกติธรรมดา ดูแลครอบครัวของท่านไปเยี่ยมราษฎร์บ้างเป็นครั้งคราว ก็เป็นพระมหากษัตริย์ที่ดีของใน
ประเทศ ต่าง ๆ ได้แล้ว แต่พระมหากษัตริย์ของไทยเราท่านทรงเหงื่อไหลไคลย้อย ทรงใช้เวลาแทบจะทุกนาทีกับการที่จะคิดโครงการ กับการที่จะให้ข้อเสนอแนะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุกข์ร้อนของ
เกษตรกร เรื่องทุกข์ร้อนของการขจัดปัญหาที่เกิดแก่ประชาชนส่วนใหญ่ของท่าน ทรงพยายามที่จะเดินทางไปในถิ่นที่ทุรกันดาร สอดส่องว่ามีอะไรตรงไหนที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จะทำให้ดีขึ้น
ได้เวลาไปเยี่ยมเยียนราษฎร และตลอดชีวิตของท่านก็ทรงทำโดยตลอดมา และโดยเฉพาะพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันนี้รัชกาลที่ 9 ท่านทรงทำเหมือนกับบรรพบุรุษของท่าน คือ รัชกาลที่ 5 แต่
เนื่องจากท่านมีเวลาครองราชนานกว่า ท่านจึงทรงทำยิ่งกว่า ถ้าใครจะบอกว่าไม่รักพระเจ้าอยู่หัวก็ไม่รู้ว่าจะพูดว่าอย่างไรแล้ว


ภาพจาก Web Site
http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstock/2006/03/A4196190/A4196190-10.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 5-11-59

          พระมหากษัตริย์คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของประเทศจะเห็นได้ว่าประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขปกครองประเทศอันเกิดจากแนวความคิดที่ว่า
แต่เดิมมนุษย์ยังมีน้อยดำรงชีพแบบเรียบง่ายอยู่กับธรรมชาติ และเมื่อมนุษย์ขยายพันธุ์มากขึ้น ธรรมชาติต่าง ๆ เริ่มหมดไป เกิดการแก่งแย่งกันทำมาหากิน เกิดปัญหาสังคมขึ้น จึงต้องหาทาง
แก้ไข คนในสังคมจึงคิดว่าต้องพิจารณาคัดเลือกให้บุคคลที่เหมาะสม และมีความเฉลียวฉลาดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิจารณาตัดสิน เมื่อเกิดกรณีปัญหาต่าง ๆ ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ
บริสุทธิ์ยุติธรรม ทำให้คนในสังคมพอใจและยินดี ประชาชนทั้งหลายจึงเปล่งอุทานว่า รัดชะ หรือรัดชา หรือราชา แปลว่าผู้เป็นที่พอใจประชาชนยินดี ต่อมาเรียกว่าพระราชา
          ฉะนั้น การกระทำหน้าที่ดังกล่าวไม่มีเวลาไปประกอบอาชีพ ประชาชนทั้งหลายพากันบริจาค ยกที่ดินให้ จึงเป็นผู้มีที่ดินมากขึ้นตามลำดับ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า เขตตะ แปลว่าผู้มีที่ดินมาก
และเขียนในรูปภาษาสันสกฤตว่า เกษรตะ หรือเกษตร ในที่สุดเขียนเป็นพระมหากษัตริย์แปลว่าผู้ที่มีที่ดินมาก ดังนั้นคำว่าพระมหากษัตริย์ความหมายโดยรวมก็คือ ผู้ที่ยึดครองหวงแหนและขยาย
พื้นแผ่นดินไปให้แก่ประชาชน หรืออาณาประชาราษฎร์ที่พระองค์ทรงเสียสละเลือดเนื้อและชีวิต กอบกู้เอกราชบ้านเมืองไว้ให้ชนรุ่นหลัง อย่างเช่นประเทศไทยของเรานี้ ถ้าไม่มีพระมหากษัตริย์
ทรงยึดถือครอบครองพื้นแผ่นดินไทยไว้ คนไทยทุกคนจะมีผืนแผ่นดินไทยอยู่จนทุกวันนี้ได้อย่างไร



นางสาวเยาวลักษณ์ ศิริสุวรรณ  เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2556)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/46-56
CD-A1(5/5)-56