ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ของธนาคารโรงเรียน
โดย....คุณบุษบา ฤทธิ์เรืองนาม
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ธนาคารออมสิน

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2556)


จุดกำเนิดชองธนาคารออมสิน
          ชื่อของธนาคารออมสินเราจะเคยได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว ธนาคารออมสินมีอายุมา 100 ปีแล้ว ดำเนินการเรื่องการออมมาตั้งแต่เริ่มกิจการตามพระราชปณิธานของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยมุ่งที่จะให้ธนาคารออมสินเป็นสถานที่เก็บออมทรัพย์ของประชาชน นี่คือจุดแรกของการกำเนิดธนาคารออมสิน ซึ่งสมัย
นั้นเรียกว่าคลังออมสิน


ภาพจาก Web Site
http://www.tlcthai.com/education/wp-content/uploads/2015/04/%E0%B8%98%E0%B8%99%E0
%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%
B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99-1.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 8-11-59


ความเป็นมาของธนาคารโรงเรียน
          ธนาคารออมสินมีวิสัยทัศน์ในด้านการเป็นสถาบันการเงินที่มีความมั่นคง เพื่อการออมและมีพันธกิจในเรื่องของการออม การสร้างวินัยทางการเงิน โดยดำเนินการตาม
พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ท่านส่งเสริมให้คนไทยรู้จักการออม บนพื้นฐานของการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ปลูกฝั่งนิสัยการออม
ให้กับเด็กและเยาวชน โดยเชื่อมั่นว่าหากคนไทยมีจิตสำนึกที่รักการออมตั้งแต่เยาว์วัย จะส่งผลให้เป็นผู้ใหญ่ที่เติบโตมองเห็นถึงความสำคัญของการออม รู้จักการใช้เงินอย่าง
เหมาะสมและสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคตจะส่งผลทำให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็งด้วยเงินออมของคนในชาติ
          ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานซึ่งปีนี้เป็นปีที่ธนาคารออมสินมีอายุครบ 100 ปี ธนาคารดำเนินการเรื่องการออมมาตลอด ธนาคารออมสินได้เริ่มดำเนินการโครงการ
ธนาคารโรงเรียนมาตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 15 ปีแล้ว โดยการจำลองเรื่องของธนาคารไปไว้ในโรงเรียน เพื่อแสดงให้เด็ก ๆ เห็นถึงความสำคัญ ให้มีวินัยใน
การออม ค่อย ๆ เรียนรู้ในเรื่องของการออมไปเรื่อย ๆ


ภาพจาก Web Site
http://www.fth1.com/uppic/10107290/activity/10107290_4_20140904-103247.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 8-11-59


คุณสมบัติของโรงเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการ
          โรงเรียนแต่ละแห่งที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการธนาคารโรงเรียนได้ต้องมีกฎเกณฑ์ตามที่ธนาคารตั้งกฎไว้ คือ ต้องเป็นเด็กที่มีความสนใจในเรื่องของการออม อยู่ใน
ระดับปฐม ระดับมัธยม ระดับอาชีวะหรืออุดมศึกษา มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่า 1,000 คน โรงเรียนต้องมีความพร้อมและได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารของโรงเรียน เห็นถึง
ความสำคัญของ การออม ด้านสถานที่ต้องมีความพร้อมเป็นห้องที่กระทัดรัดพอสมควร มีอุปกรณ์ที่จะต้องนำไปจัดวางในห้องธนาคาร ก็มีเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งสำคัญที่จะ
ต้องมี โดยธนาคารออมสินจะทำระบบงานของธนาคารไว้ให้ นอกจากนี้ธนาคารออมสินก็จะเตรียมแบบฟอร์ม ใบฝาก ใบถอน สมุดบัญชี รวมถึงเครื่องใช้ในสำนักงาน เช่น เครื่อง
คิดเลข กระดาษ ดินสอ สิ่งสำคัญอีกเรื่องที่จะขาดเสียไม่ได้ คือ ความรู้ที่ธนาคารออมสินจะต้องอบรมให้กับน้อง ๆ นักเรียนที่จะมาเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารโรงเรียน จะได้เรียนรู้ใน
เรื่องของระบบงานของธนาคารโรงเรียน ตามขั้นตอนที่ธนาคารออมสินวางไว้ให้ โดยธนาคารออมสินจะมีพี่เลี้ยงให้ ซึ่งธนาคารพี่เลี้ยงที่คอยดูแลก็คือ ธนาคารออมสินสาขาที่อยู่
ใกล้ ๆ โรงเรียนนั่นเอง จะคอยให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหาต่าง ๆ รวมถึงเรื่องของระบบงาน โดยจะมาฝึกให้น้อง ๆ เรียนรู้เรื่องระบบงานก่อนที่จะลงมือทำจริง
          น้อง ๆ ที่จะมาทำหน้าที่เป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ธนาคาร จะแบ่งเวลาเป็นรอบ ตอนเช้าจะเป็นช่วงก่อนเข้าเรียนประมาณ 7 โมง ถึง 7.45 มาทำการรับฝากถอน ตอน
บ่ายจะทำการอีกรอบ หรือถ้าโรงเรียนไหนมีนักเรียนมากก็อาจจะมี 3 รอบก็ได้ตามที่โรงเรียนกำหนด บางโรงเรียนก็อาจจะเป็นวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ชุดหนึ่ง วันอังคาร พฤหัส ชุดหนึ่ง
ตามความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียนในการบริหารจัดการ โดยต้องไม่เป็นปัญหากับการเรียนตามปกติของนักเรียน และน้อง ๆ ทุกคนที่มาทำหน้าที่ตรงนี้คุณครูของแต่ละ
โรงเรียนจะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกดูว่า น้อง ๆ ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ มีการแบ่งเวลาได้ถูกต้อง


ภาพจาก Web Site
http://www.srv.ac.th/home/wp-content/uploads/2015/06/bank1.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 8-11-59


การสนับสนุนของธนาคารออมสิน
          การสนับสนุนของธนาคารออมสินที่มีให้แก่ธนาคารของโรงเรียนจะเป็นในเรื่องงบประมาณ อุปกรณ์เครื่องใช้ทั้งหมด การอบรม ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ดูแลรักษา
อุปกรณ์เครื่องใช้ในธนาคารโรงเรียน มีกิจกรรมสันทนาการ พาไปทัศนศึกษาหรือเรียนรู้ดูงาน

เป้าหมายสมาชิกของธนาคารโรงเรียน
           นับตั้งแต่ปี 2541 ธนาคารออมสินดำเนินงานในเรื่องของธนาคารโรงเรียนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้ ก้าวเข้าสู่ทัศวรรษที่ 2 แล้ว ระยะเริ่มดำเนินงานปีแรก ๆ มีโรงเรียนเข้า
เป็นสมาชิกเพียง 10 หรือ 20 แห่งเท่านั้น เพราะอาจจะยังไม่ค่อยรู้กันว่าธนาคารออมสินมีประโยชน์อย่างไรสำหรับน้อง ๆ นักเรียน ขณะนี้ผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน
ย่างเข้าเป็นปีที่ 15 ในปีพ.ศ. 2556 มีจำนวนธนาคารโรงเรียนทั้งสิ้น 742 โรงเรียน มีจำนวนบัญชีเงินฝากจำนวนกว่า 1 ล้าน 3 แสนบัญชี มียอดเงินออมมากกว่า 460 ล้านบาท
ถือได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ซึ่งธนาคารออมสินมีเป้าหมายในการเปิดธนาคารโรงเรียนปีละ 120 แห่ง ถ้าสิ้นปี 2556 ธนาคาร ออมสินจะมีธนาคารโรงเรียนทั้งหมด
858 แห่งเป็นอย่างน้อย ซึ่งบางปีจะมีโรงเรียนขอเข้ามาเป็นสมาชิกธนาคารโรงเรียนจำนวนมาก ธนาคารก็จะพิจารณาว่าจะเปิดให้ปีนี้ หรือจะคงไว้เปิดปีต่อไป
          ธนาคารออมสินมีกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติม โดยจะขยายโรงเรียนที่อยู่ใน สพฐ. เป็นระดับมัธยม ไปสู่ระดับอาชีวะ และไปสู่ระดับมหาวิทยาลัย โดยจะไปจัดตั้งเหมือนกับ
ธนาคารโรงเรียนในสถาบันการศึกษาที่สูงขึ้นตามลำดับ เพราะเมื่อจบการศึกษาน้อง ๆ ก็จะมีเงินก้อนหนึ่งที่จะเอาไปใช้เรียนต่อได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องรบกวนเงินทางบ้าน
หรือจะเป็นในเรื่องการเรียนของตัวเอง เป็นทุนการศึกษา ค่าอาหาร ค่าเดินทางก็ได้

การพัฒนาการจัดตั้งธนาคารโรงเรียน
          เรื่องของการพัฒนาการจัดตั้งธนาคารโรงเรียน ออมสินให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากการส่งเสริมการออมเป็นวิสัยทัศน์และเป็นปณิธานาของรัชกาลที่ 6
และส่งผลถึงเศรษฐกิจของประเทศ จากที่บอกว่าคุณสมบัติของนักเรียนที่จะจัดตั้งธนาคารโรงเรียนได้จะต้องมีจำนวนนักเรียน 1,000 คน อาจจะมีจำนวนลดลงเหลือ 600 คน
ก็สามารถจัดตั้งได้ ซึ่งธนาคารออมสินปรับคุณสมบัติการเข้าสู่โครงการธนาคารโรงเรียน และมีการปรับปรุงเรื่องของระบบงานเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการปฏิบัติงาน พัฒนา
ผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการของน้อง ๆ ที่เป็นสมาชิกธนาคารโรงเรียนจะมีอยู่ในตัวโปรแกรมพิเศษให้กับด้าน Product หรือไม่ก็ด้านการให้บริการ


ภาพจาก Web Site
https://i.ytimg.com/vi/0vajowMBrRs/maxresdefault.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 8-11-59


ประโยชน์ที่นักเรียนได้รับ
          จากการทำงานที่น้อง ๆ มาเข้าร่วมกิจกรรมธนาคารโรงเรียน จะได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึมซับในเรื่องของความซื่อสัตย์ การทำงานร่วมกับคนอื่น ความละเอียด
ถี่ถ้วน ตลอดจนเรื่องของการวางแผนเวลาของตัวนักเรียน เรื่องเวลาของการดูหนังสือ การเล่น เป็นการจัดวางจังหวะชีวิตให้กับตัวเอง นับว่าเป็นสิ่งที่ดี
          นอกจากนี้ธนาคารออมสินยังสนับสนุนน้อง ๆ ที่ทำงานธนาคารโรงเรียนที่มีประวัติความประพฤติดี การเรียนดี โดยธนาคารออมสินจะเปิดโอกาสให้เข้าทำงานที่ธนาคาร
ให้ทุนการศึกษา สนับสนุนเรื่องของดนตรี กีฬา เรื่องของด้านวิชาการ ทางด้านภาษาไทยจัดให้มีการประกวดการอ่านทำนองเสนาะ เป็นการเปิดโอกาสให้น้อง ๆ มีเวทีในการเข้า
แข่งขันหรือการประกวด ตามที่ตัวเองมีความสามารถ มีทักษะหรือมีแวว

ประโยชน์ของการออม
          ประโยชน์ของการออมมีประโยชน์ต่อผู้ออมและต่อประเทศ ดังนี้
          1. ประโยชน์ต่อผู้ออม เพื่อลดความผันผวนของการบริโภค เพื่อเหตุฉุกเฉิน เจ็บไข้ได้ป่วย เพื่อใช้จ่ายยามเกษียณอายุ การออมเพื่อการศึกษา การออมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต
          2. ประโยชน์ต่อประเทศ การออมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เป็นรัฐฐาน และเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดการลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
เป็นการช่วยสนับสนุนการลงทุน การผลิตของประเทศและการจ้างงาน
          3. สร้างเสริมความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และลดผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจจากการออมในระดับสูง จะทำให้การลงทุนในระดับประเทศไม่จำเป็นต้อง
อาศัยเงินทุนจากต่างประเทศ หากการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศในระดับสูงและต่อเนื่อง รวมทั้งนำเงินออมไปลงทุนในโครงการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ย่อมนำไปสู่การเกิด
วิกฤตเศรษฐกิจได้ง่าย


นางสาวเยาวลักษณ์ ศิริสุวรรณ  เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2556)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/24-56
CD-A1(3/5)-56