ในช่วงที่มีอากาศร้อนแห้งแล้งมักจะทำให้มะนาวมีผลผลิตที่ไม่ตรงตามความต้องการในท้องตลาด หรือเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวก็จะได้ลูกมะนาวที่มีผลเล็ก มีน้ำน้อย หน้าฝน ก็จะมีโรคบางชนิดมารบกวนต้นมะนาว ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นทุนการผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง จึงได้คิดค้นและวิจัยหาแนวทางช่วยเหลือ เกษตรกรให้สามารถปลูกมะนาวให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้อนุภาพนาโนซิงค์อ๊อกซายเข้ามาช่วย นาโนซิงค์อ๊อกซายคืออะไร คำว่าซิงค์อ๊อกซายถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้าน ซิงค์ในภาษาอังกฤษก็คือตัว ZN คือสังกะสี เมื่อทำกริยากับอ๊อกซิเจนก็จะเกิดสังกะสีอ๊อกซายที่มีขนาดเล็กมากในระดับนาโนเมตร เพราะฉะนั้น นาโนซิงค์อ๊อกซาย คือ ซิงค์อ๊อกซายที่มีขนาดอยู่ในระดับนาโนเมตร คำว่านาโนเมตรเป็นคำนำหน้า ตัวอย่างเช่น 1 นาโนเมตรก็จะหมายความว่า ถ้าเรามีไม้บรรทัดที่ ยาว 1 เมตร เราก็จะแบ่งไม้บรรทัดออกเป็นพันล้านส่วน แต่ละส่วนที่แบ่งนั้นจะมีความยาวแค่ 1 นาโนเมตร ซึ่งมันเล็กมากจนกระทั่งตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ เป็นสิ่งที่เล็กมาก ๆ อยู่ในระดับแบบ 1 พัน 5 ล้าน ส่วนของเมตร
ประโยฃน์ของอนุภาพนาโนซิงค์อ๊อกซาย ซิงค์อ๊อกซายในสมัยกรีกโบราณมีชื่อว่า คาร์ลามาย เป็นแร่ที่มีอยู่ในธรรมชาติ นำเอามาใช้ในการรักษาบาดแผลจากโรคที่เกิดจากผดผื่นคัน มีฤทธิ์ในการที่จะยับยั้งเชื้อรา ฆ่า แบคทีเรียได้ เนื่องจากเรารู้ว่าซิงค์อ๊อกซายมีคุณสมบัติในการที่จะยับยั้งเชื้อราฆ่าแบคทีเรียได้ เราจึงนำเอาคุณสมบัตินี้ไปใช้ประโยชน์กับการปลูกมะนาว ซึ่งปกติมะนาวจะมีโรคที่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่สำคัญคือ โรคแคงเกอร์ เราจึงเอาคุณสมบัติของซิงค์อ๊อกซายที่มีขนาดเล็กอยู่ในระดับ นาโนเมตรไปใช้แก้โรคแคงเกอร์
โรคแคงเกอร์เป็นโรคที่มีมานานแล้วสำหรับต้นมะนาว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มันสามารถทำลายทั้งกิ่ง ลำต้น ใบ และผลมะนาว โดยฉพาะที่ใบมะนาว พอสังเกตุที่ใบเห็นเป็น วงสีน้ำตาล ก็จะลามไหม้ไปเรื่อย ถ้าเกิดที่ลำต้นก็จะทำให้กิ่งเหมือนเป็นกากเกลื่อน ถ้าเกิดที่ผลก็ทำให้ขายไม่ได้ราคา ทำให้เกิดการสูญเสียทางผลผลิต
การนำนาโนซิงค์อ๊อกซายไปใช้ เมื่อเกิดโรคกับต้นมะนาวถ้าเราสังเกตุเห็นก็จะใช้นาโนซิงค์อ๊อกซายในปริมาณที่ไม่มาก เพราะอนุภาพนาโนซิงค์อ๊อกซายจะเล็กมาก จะไม่ละลายในน้ำ แต่เราจะต้องใช้น้ำ เป็นตัวนำ โดยใช้อัตราส่วนประมาณ 50 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร คนให้แตกตัว ให้กระจายตัวในน้ำ แล้วนำไปฉีดพ่นที่ต้นมะนาว โดยฉีดตั้งแต่ต้นอ่อนที่แสดงอาการของโรค บริเวณ ที่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นใบ เป็นลำต้น หรือเป็นที่ผลมะนาว ข้อจำกัดในการใช้ ถ้าเราสังเกตุดูอาการของโรคที่มะนาวแล้วเห็นว่าสามารถจะแก้ไขเยียวยาได้กับมะนาวที่เกิดโรค แต่บางทีอาการของโรคจะเป็นหนักมากก็อาจจะแก้ไขไม่ทัน ดังนั้นเราต้อง คอยหมั่นดูอาการของต้นมะนาว โดยผู้ปลูกจะสังเกตุดูว่า ใบของมะนาวยังมีสีเขียวสดใสมั้ย หรือว่าเริ่มมีจุดเหลือง ๆ ขึ้นตามต้น ตามยอดของต้นมะนาว ซึ่งจะสังเกตุได้ด้วยตาง่าย ๆ ถ้าเกิดโรคพวกนี้ขึ้นก็สามารถที่จะป้องกันได้ โดยการใช้นาโนซิงค์อ๊อกซายจำนวน 50 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นที่ต้นมะนาว โดยทำการพ่นทุก ๆ ครึ่งเดือน สัก 2 หรือ 3 ครั้ง จน กว่าอาการจะดีขึ้น ซึ่งปกติโรค แคงเกอร์จะไม่หายขาดไปทันที เพราะเป็นโรคที่สามารถมากับอากาศ มากับน้ำได้ โดยเฉพาะในหน้าฝน เราจึงต้องคอยดูแลต้นมะนาวอยู่ตลอดเวลา
คุณสมบัติเด่นของอนุภาพนาโนซิงค์อ๊อกซาย ข้อดีของการใช้อนุภาพนาโนซิงค์อ๊อกซายเพื่อกำจัดโรคแคงเกอร์ ซึ่งในสมัยก่อนผู้ปลูกมะนาวจะใช้สารเขียว ที่เรียกว่าคอร์ปเปอร์ไฮด๊อกซาย เป็นสารสีน้ำเงิน เป็นสารที่ใช้ได้ ดีพอสมควร โดยใช้สารเขียวประมาณครึ่งกิโลต่อน้ำ 200 ลิตร นำไปฉีดพ่นต้นมะนาวได้ครึ่งไร่ หรือประมาณ 25 หรือ 30 ต้น ถ้าเป็นต้นใหญ่ก็ต้องฉีด 1 ไร่ต่อ 1 กิโลขึ้นไป เป็นการ สิ้นเปลือง เพราะราคาสารเขียวกิโลละหลายร้อยบาท ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และถ้าใช้ในปริมาณมากจะทำให้มะนาวเกิดอาการช๊อคได้ จะมีผลต่อการติดลูก เวลาดอกออก มาอาจจะทำให้ดอกร่วงบางส่วน แต่สำหรับซิงค์อ๊อกซายเปรียบเสมือนยาที่อ่อนกว่าสารเขียว จะลดเรื่องการร่วงของดอก การใช้นาโนซิงค์อ๊อกซาย การใช้นาโนซิงค์อ๊อกซายในช่วงที่มะนาวออกดอก สามารถใช้ฉีดต้นมะนาวได้เลย เพราะซิงค์อ๊อกซายเปรียบเหมือนเซรามิก แต่มีขนาดเล็กมาก ไม่ละลายน้ำ แต่ถ้าฉีดในช่วง ที่มีฝนตกหนัก ๆ พอเราฉีดนาโนซิงค์อ๊อกซายลงไปก็จะถูกฝนชะล้างออก นาโนซิงค์อ๊อกซายเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเมื่อเราฉีดกับต้นมะนาวแล้วก็จะไม่มีสารเคมีตกค้าง แต่ อย่างไรก็ตามเราจะต้องใช้ด้วยปริมาณที่จำกัด เพราะฉะนั้น ถ้าต้นมะนาวเป็นโรคจึงค่อยนำไปใช้รักษาต้นมะนาว แต่ถ้ามะนาวงามสดใส ก็ไม่ต้องใช้ซิงค์อ๊อกซาย
จากการทดลองใช้นาโนซิงค์อ๊อกซายกับไร่มะนาวที่ตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง มาแล้ว 1 ปี มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ต้นมะนาวมีต้นสีเขียวสดใส ผลผลิตออกลูกดก ไม่ ค่อยมีโรคมารบกวน และถ้าเราจะนำไปใช้กับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ก็ต้องดูชนิดของโรคก่อน เช่น โรคที่เกิดจากเชี้อราและแบคทีเรีย ก็สามารถนำไปใช้ได้กับต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ต้นมะนาวโห่ ต้นมะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่เป็นชื่อพันธุ์ไม้ที่แปลก มีที่มาจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรใช้เรียกชื่อให้เหมือนกับชื่อผลไม้ในวรรณคดีไทยเรื่องนางสิบสอง เป็นผลไม้ ซึ่งมีรสชาดเปรียวจัด เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะรู้สึกกระชุ่มกระชวย และตื่นตัว ปัจจุบันนี้เรียกชื่อมะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่เพียงสั้น ๆ ว่า มะม่วงหาวมะนาวโห่ ซึ่งจริง ๆ แล้ว มะม่วงหาวกับมะนาวโห่เป็นพืชคนละชนิดกัน มะม่วงหาวก็คือ มะม่วงหิมพานต์ และมะนาวโห่ก็คือ ต้นหนามแดง เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก สูงประมาณ 5 เมตร มียางสีขาว เป็นพืชใบเดียว มีกลีบดอกสีขาวหรือสีชมพู รูปไข่ มีปลายมนหรือพุ่มโคนเชื่อมเป็นหลอดสีแดงชมพูหรือดำ มีสรรพคุณทางยา คือ รากรักษาแก้คัน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับพยาธิ บำรุงกระเพาะอาหาร ดับพิษร้อนและ แก้ไข้ แก่นบำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ ทำให้ร่างกายแข็งแรง เนื้อไม้บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ แก้อ่อนเพลียและบำรุงกำลัง ส่วนใบแก้ท้องเสีย แก้เจ็บคอ เจ็บในปาก แก้ปวดหู และแก้ไข้ สำหรับผลรักษาโรคหลอดเลือดออกตามไรฟัน ฝาดสมาน การปลูกต้นมะนาวโห่ทำได้ง่าย ๆ สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด
นางสาวเยาวลักษณ์
ศิริสุวรรณ
เรียบเรียง |