เรียนรู้เปิดประตูสู่อาเซียน
โดย...คุณเมธี ปิยะคุณ
หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์โครงการและหลักสูตรการฝึกอบรม
สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง
ปี 2556) |
ความเป็นมาและความสำคัญ
ในปีพุทธศักราช 2558 บรรดาสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประชาชนในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จะก้าวเข้าสู่อาเซียน
ที่เรียกว่าอาเซียนประชาคมอาเซียน
หรือเสรีอาเซียนกันแล้ว ซึ่งคนไทยในประเทศทุกคนคงจะเคยได้ยินคำว่าอาเซียนกันมาบ้างแล้ว
ภาพจาก
Web Site
https://kiddathikarn.files.wordpress.com/2013/06/1354.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่ 8-11-59 |
|
การจัดตั้งประชาคมอาเซียน คือเป็นการร่วมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของเวทีอาเซียนระหว่างประเทศ
ในทุก ๆ ด้าน และรวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ ในระดับโลก ที่ส่งผลกระทบมายังภูมิภาคอาเซียน
โดยที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด ณ เวลานี้ก็คือเรื่องภาวะโลกร้อน
ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้เราจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวประเทศเดียว
แล้วต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ยังมีเรื่องของการก่อการร้าย
ซึ่งนับวันจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น
จึงกล่าวได้ว่าการเป็นประชาคมอาเซียน
ก็คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมกันเป็นครอบครัวเดียวกันเป็นประชาคม
ความสำคัญของการจัดตั้ง
จากการรวมตัวกันเป็นประชาคมจะมีความแข็งแกร่ง มีภูมิต้านทาน สามารถที่จะทำให้สมาชิกในครอบครัวของประเทศสมาชิกอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีปลอดภัย
และสามารถทำมาค้าขายกันได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจับมือกัน
และก็ตกลงกันที่จะจัดตั้งเป็นประชาคม
ขึ้นมา ถือได้ว่าเป็นการปรับปรุงตัวครั้งใหญ่และวางรากฐานของการพัฒนาของอาเซียน
การกำเนิดของอาเซียนเกิดขึ้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ
5 ประเทศ โดยเริ่มจากประเทศภูมิภาคเอเซียนตะวันออกเฉียงใต้
คือประเทศอินโดเนเซีย
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ และประเทศไทย ได้ลงนามในปฏิณญากรุงเทพ เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่าง
ๆ ใน
เอเซียนตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ภาพจาก
Web Site
http://www.dmc.tv/images/00-iimage/asean_map.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่ 8-11-59 |
|
สาระสำคัญของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
การจัดตั้งประชาคมอาเซียนระยะแรก เป็นการจับมือกันของ 5 ประเทศ ดำเนินกิจกรรมโดยการมองจุดมุ่งหมายเดียวกัน
มีประเด็นที่สำคัญเปรียบเสมือน 3 เสาหลัก คือ
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่รวมกันอย่างสันติ
มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี และก็มีกรอบความร่วมมือเพื่อ
รับมือกับภัยคุกคามและความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่
ๆ อะไรที่เคยดำเนินการอยู่ตอนนั้น
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจและก็อำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายกันระหว่างกัน
อันจะทำให้คุณภาพมีความเจริญมั่งคั่ง
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่รวมตัวกันภายใต้แนวคิดที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
ต่อมาปัจจุบันนี้มีประเทศเพิ่มเข้ามาอีก 5 ประเทศ รวมเป็น 10 ประเทศ ดังนี้
ประเทศบลูไนดารุสลาม สมัครเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527
ประเทศเวียตนาม เป็นสมาชิกลำดับที่ 7
ประเทศลาว และประเทศพม่า สมัครเข้ามาพร้อมกัน เป็นลำดับที่ 8 และ 9
ประเทศกัมพูชา สมัครเข้ามาเป็นลำดับที่ 10
ซึ่งทั้ง 5 ประเทศ เป็นประเทศที่อยู่ใกล้ ๆ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยของเรา
การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะเกิดประโยชน์มากมายมหาศาล ถ้าทุกประเทศจับมือกันแล้วก็เปิดประตูสู่อาเซียน
โดยการเตรียมความพร้อมซึ่งในแง่ของการเตรียม
ความพร้อม ถ้ามองในมิติของการศึกษาในภาพใหญ่ของโลก
จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง โดยไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนั้นฉุดกระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล
เราต้องเตรียมความพร้อมทันทีตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคคลากรต้องตามให้ทัน และยืดหยุ่นปรับตัวให้รับกับสถานการณ์ให้ได้ถือเป็นเรื่องหลัก
ต่อมาก็เป็นเรื่องของการสื่อสารทางด้านภาษา เมื่อมารวมตัวกันทั้ง 10 ประเทศแล้ว
ก็ต้องมีภาษากลางของอาเซียน ซึ่งเขาใช้ภาษาอังกฤษกัน ซึ่งภาษาอังกฤษจะเป็นภาษา
กลางของอาเซียน
โดยที่บุคคลากร นักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาที่เรียนอยู่ในระดับสถาบันการศึกษาต่าง
ๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับ ประถม มัธยม อุดมศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้าน
ภาษาอังกฤษให้สามารถสื่อสารให้ได้
ในการเตรียมความพร้อมประเด็นต่อมา ก็ต้องเรียนรู้และพัฒนาทักษะภาษาของประเทศอาเซียนด้วย
เพื่อเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับต่างชาติที่จะมีมากขึ้น
ในอนาคต นอกจากนี้ต้องพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญในงานสาขาเฉพาะด้านอย่างมีมาตรฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานที่สูงขึ้น
นอกจากนี้เราจำเป็นต้อง
ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม
และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกในอาเซียน รวมทั้งกฏระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
ในการดำเนินกิจการ
ภาพจาก
Web Site
http://2.bp.blogspot.com/-oTabMu78KWs/UJ5-0H9Iv5I/AAAAAAAAD_A/oMYuvIP6pt0/s1600/10asean.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่ 8-11-59 |
|
ตัวอย่าง ถ้าจะต้องไปทำมาค้าขายติดต่อกับเขา เราก็ต้องรู้ กฏระเบียบของประเทศเพื่อนบ้าน
เช่น เข้าประเทศพม่า หรือเข้าประเทศกัมพูชา เราก็ต้องรู้ กฏระเบียบของ
ประเทศนั้น
ๆ ในขณะเดียวกันประชาชนของประเทศต่าง ๆ ก็สามารถที่จะเข้ามาขายแรงงานในบ้านเราก็ได้
ซี่งก็คือทุกอย่างในโลกถูกเปิดแล้ว โลกอาเซียนเปิดแล้ว สามารถ
จะทำมาค้าขายติดต่อกันได้อย่างสะดวกมากขึ้นในข้อมูลตรงนั้น
ฉะนั้นความพร้อมต่าง ๆ เราก็จะต้องเตรียมตัวให้พร้อม นอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญก็คือรากหญ้า
เน้นที่
รากหญ้าคือในแง่ของ นักเรียน นักศึกษา จะต้องสร้างบุคคลากรกลุ่มนี้
ซึ่งถือเป็นรากหญ้าให้สามารถแข็งขันได้ในอาเซียน เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงาน
ไม่เช่นนั้นจะถูกแย่งงาน
ได้ เขาวิ่งเข้ามาหาเราเขาก็มาทำงาน เราก็สามารถไปหาเขาเพื่อทำงาน
แต่ถ้าไปหาเขาเราก็ต้องรู้ภาษาของเขา เราถึงจะสามารถสื่อสารได้ ณ วันนี้เท่าที่รู้
หลาย ๆ ประเทศ
รอบ ๆ บ้านเรา เขาเรียนรู้ภาษาไทยกันแล้ว เขาศึกษาภาษาไทยกันแล้ว
คงจะเคยได้ยินกันใช่มั้ย
ไม่ว่าจะเป็นประเทศเวียตนาม กัมพูชา ถ้าหากว่าภาษาอังกฤษเรายังไม่คล่องและก็ยังฟังภาษาเขาไม่ออก
เราก็จะไม่ทราบว่าเขาพูดอะไรกัน เพราะมีการเคลื่อนย้าย
แรงงาน เกิดลักษณะการให้บริการอย่างเสรี
ซึ่งเราก็ต้องเร่งปรับตัว ซึ่งในปี 2558 ทุกอย่างจะเปิดหมดแล้ว ถ้าเราไม่เริ่มเตรียมความพร้อมเสียตั้งแต่วันนี้
เราจะไม่สามารถ
ที่จะรองรับในการที่เปิดประเทศเข้าสู่ประตูอาเซียนได้ทันถ่วงที
อย่างเร่งรีบเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ที่เขาเตรียมความพร้อมกันแล้ว
แนวคิดในแง่ของการเปิดประตูสู่อาเซียน
จากสมาชิกของอาเซียนใน 10 ประเทศ จะสังเกตุได้ว่ามีบางประเทศที่เมื่อก่อนนี้เป็นประเทศที่ปิด
แต่พอเขาเปิดประเทศปุ๊บ จะเห็นว่าเขาไม่ได้อ่อนด้อยอะไรเลย เขา
แข็งแรงพอสมควรทีเดียว
และเมื่อรวมกัน 10 ประเทศแล้วจะทำให้เราจะมีประชากรเพิ่มขึ้นถึงมากกว่า 600
ล้านคน โดยประมาณ จะทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่ม
อำนาจการต่อรองในระดับโลก
คือยิ่งผลิตมากก็ยิ่งทำให้ต้นทุนต่ำ อันนี้เป็นอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ทำให้มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น ถึงในระดับ
โลกเลยเมื่อรวมตัวกัน
เขาบอกว่า 10 เสียงย่อมดีกว่าเสียงเดียว เห็นได้ว่าเวลาไปต่อรองกับประเทศในประชาคมอื่น
ๆ เราจึงต้องรวมเป็นครอบครัวเดียวกันก่อน เราถึงจะมี
อำนาจต่อรองกับเขาได้
นี่คือแนวคิดในแง่ของการเปิดประตูสู่อาเซียน
ภาพจาก
Web Site
http://www.momypedia.com/file_manager/mmpd/life_up_date/630_xl.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่ 8-11-59 |
|
ซึ่งจากการเริ่มต้นตั้งแต่พุทธศักราช 2510 ตั้งแต่ยังมีประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่เพียง
5 ประเทศ จนมาถึงปัจจุบันนี้เพิ่มขึ้นเป็น 10 ประเทศแล้ว การพัฒนาหรือว่าเรื่อง
ของการให้ความร่วมมือมีจุดที่เปลี่ยนแปลงไปในแง่ของเป้าหมาย
ก็คือจะต้องส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษย์และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ป้องกันความขัดแย้ง
สร้างความไว้เนื้อเชื่อ
ใจระหว่างประเทศสมาชิกกัน ธำรงค์สันติภาพในภูมิภาค
และมีกลไกในการควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ให้มีความโปร่งใส โดยเฉพาะประชาชนให้มีส่วนร่วมในการแสดง
ความคิดเห็นและร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง
ๆ มากขึ้น อุปสรรคทางด้านการค้าก็จะลดลงหรือหมดไป ทำให้ไทยเราสามารถขยายการส่งออกสินค้าไปยังสมาชิกในกลุ่มอาเซียนได้
แล้วก็รวมกันเป็นตลาดเดียว จะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ การคมนาคม
การขนส่ง ระหว่างประเทศก็จะมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ก็จะส่งผลในแง่ของการ
ท่องเที่ยวด้วย
นี่คือมีประโยชน์และก็มีสิ่งที่คิดว่าได้ผลรับกลับมาสู่ประเทศไทยของเราได้อย่างมหาศาลทีเดียว
สัญลักษณ์ของประเทศสมาชิกอาเซียน
สัญลักษณ์ของประเทศอาเซียนเป็นรูปเหมือนกับชามคว่ำ 2 ใบ คือเป็นรูปต้นข้าว
สีเหลือง 10 ต้น ถูกมัดรวมกันไว้ ความหมายคือประเทศในภูมิภาคเอเซียนตะวันออก
เฉียงใต้รวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
เป็นครอบครัวเดียวกัน
ถ้าพูดให้เข้าใจกันง่าย ๆ ประชาคมอาเซียนก็คือ ประเทศทั้ง 10 ประเทศอาเซียนจะเข้าใกล้ระยะที่เหมือนกับเป็นประเทศเดียวกันมากยิ่งขึ้นแล้ว
ประชากรของประเทศ
สมาชิกจะไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และง่ายดายมากขึ้น โดยไม่ต้องมีวีซ่า
ไม่ต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวดเหมือนเมื่อก่อน คือมีสภาพคล้าย ๆ กับเป็นกลุ่มประเทศเดียวกัน
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแต่ละประเทศจะสูญเสียความเป็นเอกราชและอธิปไตยของตนเองไปได้ในที่สุดแล้วสกุลเงินที่ใช้ในประเทศสมาชิกอาเซียน
เมื่อประเทศไทยและเพื่อนสมาชิกอีก 9 ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะถือเป็นตลาดเดียวกัน
โดยเกิดจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะทำให้การติดต่อ
ทำมาค้าขายกัน
การค้าขายแลกเปลี่ยนหรือการชำระค่าบริการซึ่งกันและกันให้สะดวกมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องรู้เรื่องสกุลเงินต่าง
ๆ ของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ
ดังนี้
1. ประเทศบรูไนดาลุสลาม ใช้สกุลเงินดอลล่าร์บรูไน
2. ราชอาณาจักรกัมพูชา ใช้สกุลเงินเรียว
3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ใช้สกุลเงินรูเปีย
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้สกุลเงินกีบ
5. มาเลเซีย ใช้สกุลเงินริงกิต
6. สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้สกุลเงินจ๊าด
7. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใช้สกุลเงินเปโซ
8. สาธารณรัฐสิงค์โปร์ ใช้สกุลเงินดอลล่าร์สิงค์โปร์
9. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม ใช้สกุลเงินดง
10. ส่วนประเทศไทย ราชอาณาจักรไทยของเรา ใช้สกุลเงินบาท
ทั้งนี้ โดยอัตราแลกเปลี่ยนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน
นางสาวเยาวลักษณ์
ศิริสุวรรณ
เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2556)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/6-56
CD-A1(1/5)-56
|