เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยและสมาชิกอาเซียนอีก 9 ประเทศ กำลังจะก้าวเข้าสู่การรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน เราจึงควรจะมาทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมของ ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน ซึ่งวัฒนธรรมจะครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แสดงออกมาในวิถีชีวิตของคนในสังคมใดสังคมหนึ่ง โดยที่วัฒนธรรมสังคมหนึ่งอาจจะคล้าย ๆ กันหรืออาจจะแตกต่างกันแบบ คนละขั้วก็ได้
ความหมายของวัฒนธรรม วัฒนธรรมหมายถึง วิถีชีวิตของคนในสังคมซึ่งเป็นวิธีการดำเนินชีวิตของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและสืบทอดกันมา จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ถ้ามองกันแล้วจะเห็นว่าวัฒนธรรมจัดแบ่งได้ดังนี้ คือ 1. วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม สามารถจับต้องได้ สัมผัสได้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา มีขนาด มีน้ำหนัก เช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้ ข้าวของเครื่อง ใช้ อาหาร เป็นต้น 2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ คือสัมผัสจับต้องไม่ได้เป็นนามธรรม แต่วัฒนธรรมตัวนี้มีอิทธิพลต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เช่น สถาบันทางสังคม ก็คือครอบครัว หรือสถาบันทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคมการเมือง 3. วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการควบคุมสังคมให้เป็นระเบียบซึ่งถือว่าสำคัญ คือ คำสอนในศาสนา ความเชื่อในเรื่องนรก สวรรค์ ค่านิยมและประเพณีต่าง ๆ อันนี้ถือว่าเป็น วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ แต่ก็มีความสำคัญกับมนุษย์ 4. วัฒนธรรมก็คือศิลปะ ตรงนี้เราสามารถจะมองได้ว่า เป็นทั้งวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ และก็เป็นวัฒนธรรมทางวัตถุก็ได้ เช่น พวกจิตรกรรม ปฏิมากรรม 5. ภาษา ก็ถือว่าเป็นวัฒนธรรมอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นระบบสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อสารติดต่อกัน ส่วนสุดท้ายของประเภทวัฒนธรรม คือ พิธีกรรม คือขั้นตอนของประเพณีต่าง ๆ และนี้ก็เป็นความหมายของคำว่าวัฒนธรรม
บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรม ถ้าเราจะมองไปรอบ ๆ ตัว หรือจะดูที่ตัวเราเอง เราก็มีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำว่าวัฒนธรรม หน้าที่ของวัฒนธรรมที่สำคัญและต่อสังคมก็คือ 1. เป็นเครื่องกำหนดวิถีชีวิตของคนในสังคม เพราะฉะนั้นหน้าที่ก็ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รวมกันในสังคม วัฒนธรรมจะทำให้เกิดแบบแผน ทำให้เกิดการอยู่รวม กันอย่างมีความสุข ถือว่าหน้าที่อย่างหนึ่งของวัฒนธรรม คือ เป็นสิ่งที่ในทุกสังคมจำเป็นจะต้องมีวัฒนธรรม และก็เป็นผลรวมจากภูมิปัญญาของคนในสังคมที่ถูกสั่งสม สืบทอด ถ่ายทอดต่อ ๆ กันมา ตัวอย่าง ของครอบครัวสังคมไทยเรา จะเป็นตัวกำหนดบทบาทของสถานะภาพของสถาบันครอบครัว เช่น สังคมไทยจะมองว่า ผู้ชายจะต้องเป็นช้างเท้าหน้า เป็นผู้นำของครอบครัว นั่นคือการกำหนดบทบาท เพราะเหมือนกับว่า พอโตมาถ้าเราเป็นเพศหญิง เราก็จะถูกพ่อแม่บอกว่า พี่ชายต้องดูแลน้อง หรือว่าถ้าแต่งงานแล้วสามีจะต้อง เป็นใหญ่กว่าภรรยา นั้นก็คือถูกกำหนดบทบาททางสังคมในสถาบันครอบครัว 2. วัฒนธรรมที่มีส่วนสำคัญต่อวัฒนธรรมไทยก็คือ เป็นตัวกำหนดแนวทางในการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย เช่น เรามักจะนับถือผู้อาวุโสผู้ใหญ่ เวลาเราเจอผู้ใหญ่เราก็จะให้ เกียรติท่าน ก็จะยกมือไหว้ 3. การควบคุมคนในสังคมมิให้ประพฤติผิดต่อประเพณี คนไทยจะให้ความสำคัญเรื่องของการแต่งงาน ประเพณีเราถ้าเป็นผู้หญิงก็จะถูกสั่งสอนว่า ก่อนที่จะไปอยู่กับผู้ชาย จะต้องมีการแต่งงานให้ถูกต้องตามประเพณีเสียก่อน ไม่ใช่หอบผ้าหอบผ่อนหนีตามเขาไป ซึ่งเราถูกสั่งสอนมา ถือเป็นการควบคุมคนในสังคมมิให้ประพฤติผิดต่อประเพณี 4. การกำหนดค่านิยมและความเชื่อในการดำรงชีวิตของคนในสังคม ส่วนใหญ่แล้วคนไทยจะเป็นสังคมพุทธศาสนา จะเชื่อในเรื่องเวรกรรม เชื่อในเรื่องการให้อภัย แล้วก็ เชื่อในเรื่องของการมีเมตตากรุณา อันนี้ก็ถือว่าเป็นบทบาทสำคัญของวัฒนธรรมไทย ซึ่งก็ค่อนข้างหลากหลายและก็จะเชื่อมโยงกันในแต่ละสังคม บทบาทหน้าที่ที่สำคัญต่อวัฒนธรรมไทย บทบาทหน้าที่สำคัญก็คือ ถ้าเป็นวัฒนธรรมไทย ก็จะมองเรื่องอาหารการกิน เวลาจะกินอะไรที่ไม่ใช่อาหาร junk food อย่างทุกวันนี้ เรื่องบ้านที่อยู่อาศัยก็จะต้องดูทิศทาง ลมให้เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะลงมือปลูกบ้าน หรือแม้กระทั่งการแต่งกายก็ต้องเป็นแบบไม่โป้หน้า โป้หลัง ซึ่งถือว่าเป็นวัฒนธรรมไทยที่มีบทบาทสำคัญ หรือเรื่องของยารักษา โรค แม้ทุกวันนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ก่อนเราจะใช้ภูมิปัญญาเป็นยาสมุนไพร แล้วมายุคหนึ่งเป็นยาทางวิทยาศาสตร์ แต่ทุกวันนี้เราก็ยังพยายามรื้อฟื้นในเรื่องของแพทย์ ทางเลือกขึ้นมา ถือว่าเป็นวิถีชีวิต วัฒนธรรมของไทยที่น่าจะต้องรักษาเอาไว้ เปรียบเหมือนกับปัจจัย 4 พื้นฐาน ตั้งแต่อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ซึ่งนี้คือ วัฒนธรรมของไทย
การเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมอาเซียน วัฒนธรรมก็คือวิถีชีวิต เพราะไม่ว่าจะชาติไหนในอาเซียน 10 ประเทศ วิถีชีวิตของเขากับวิถีชีวิตของเราซึ่งต่อไปเราจะเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว เราต้องมองตัวเราว่า เรา ยังรักษาความเป็นวัฒนธรรมไทยอยู่ได้หรือเปล่า หรือเราจะผสมผสานกันอย่างไร ถ้าเรามองแบบนั้นเราก็ต้องกลับมาดูว่า ความเชื่อมโยงสามารถจะเชื่อมโยงวัฒนธรรมอาเซียน โดยเรามุ่งหวังอะไรจากการรวมตัวของประชาคม สุดท้ายคำตอบ คือ เพื่อให้ประชาคมในอาเซียน มีความกินดีอยู่ดีปราศจากโรคภัย มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยเน้นถึงเรื่องการส่งเสริมความรู้ หรือแม้กระทั่งแนวทางปฏิบัติของอาเซียนทั้งหลาย สุดท้ายแล้วจะมองว่าการพัฒนาของคนที่ไปสู่ประชาคมอาเซียนก็คือ จะมุ่งพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ยกระดับคุณภาพชีวิต มีการคุ้มครองและสวัสดิการทางสังคม ต่อไปเราจะเรียนได้ถึงระดับปริญญาตรี รักษาพยาบาลฟรี สิทธิและความยุติธรรมทางสังคมก็ต้องมี ความเสมอภาคกัน ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิง เพศชาย มีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม คือเราจะต้องรักษาสิ่งแวดล้อม รักษาทุนทางสังคมของเราเอาไว้ให้ได้ ผสมผสานวัฒนธรรม ของชาติอื่นเข้ามา ซึ่งเป้าหมายร่วมของประชาคมอาเซียนมีปัจจัย ดังนี้ 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม 3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม 4. ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม 5. การสร้างอัตลักษณ์ทางอาเซียน เราจะทำอย่างไรให้วัฒนธรรมของ 10 ชาติ มีความเคารพซึ่งกันและกัน แล้วไม่เกิดการเหลื่อมล้ำทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และเป็นการลดช่องว่างทางการพัฒนาได้ด้วย แนวทางพัฒนาความเชื่อมโยงวัฒนธรรมไทยกับอาเซียน เนื่องจากสังคมไทยเดิมเป็นสังคมเกษตรกรรม ต้องพึ่งพิงธรรมชาติ พึ่งพาซึ่งกันและกัน จึงทำให้ระบบวัฒนธรรมสัมพันธ์อยู่กับความคิด ซึ่งความคิดมีอยู่ 6 ประการ ด้วยกัน คือ 1. ความคิดในเรื่องของการอยู่ร่วมกันของคนกับธรรมชาติจะต้องมีความเชื่อมโยงกัน 2. ความคิดในเรื่องของความคาดหวัง 3. ความอุดมสมบูรณ์ร่วมกัน 4. ความร่วมมือกันเพื่อการอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เครือญาติ หรือชุมชน 5. การแบ่งปันกันอย่างยุติธรรม 6. ความคิดในเรื่องของความเคารพผู้อาวุโส คือยังเห็นความสำคัญของผู้อาวุโสเป็นผู้ทรงความรู้ในสังคม แล้วก็รู้จักว่าอะไรควรอะไรไม่ควร กลไกการสลายความตึงเครียดในเรื่องประเพณีและพฤติกรรม ซึ่งจะมองถึงความเชื่อมโยงกันไม่ว่าชาติไหนจะเข้ามา ถ้าเรายังมองจุดรวมเดียวกัน เราก็สามารถที่จะสอด ประสานไม่ว่าวัฒนธรรมชาติใดเข้ามา เราก็ยังมีความเชื่อมโยงตรงนี้อยู่ด้วย คือ รักษาชาติเราไว้ได้ แล้วก็รับวัฒนธรรมชาติอื่นเข้ามาได้ แต่ก็ยังรักษาความเป็นเราอยู่ได้ ประเพณีและพิธีกรรม วัฒนธรรมของไทยหรือพิธีกรรมต่าง ๆ ของเราก็จะมีแบบอย่างของเรา แต่บางทีทุกวันนี้เรายังรับเอาพิธีกรรมของชาติอื่นเข้ามาก็มี เช่น เขาจะมีพิธีกรรมอย่างหนึ่งคือ อาบน้ำพระตอนเช้า พิธีกรรมนี้จะมีทั้งคนของประเทศพม่าและนักท่องเที่ยวต่างประเทศ จะตื่นตั้งแต่ตี 3 ไปดูพิธีกรรมพระอาบน้ำ ซึ่งพิธีกรรมแบบนี้เป็นเรื่องของการศรัทธาใน เรื่องของศาสนาอย่างมาก การไปดูพระอาบน้ำนั้นคือ เจ้าอาวาสของวัดจะเอาน้ำอบไปเช็ดหน้า เช็ดตาพระพุทธรูปประจำเมืองนั้น ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนกับอาบน้ำ แต่จริง ๆ แล้วเป็น การทำพิธีกรรมอย่างหนึ่ง หรือการทำบุญของคนพม่า เขาจะเอาเงินใส่ในตู้รับบริจาค ใส่จนเงินในตู้เต็มก็ยังไม่หาย ยังสามารถตั้งอยู่ได้ ซึ่งคนพม่ามองว่าเป็นเรื่องของความเชื่อ ทางพิธีกรรม และเป็นความเชื่อสูงมากของคนพม่า
ความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมไทยกับอาเซียน ในปี 2558 ประชาคมอาเซียนจะมีความเชื่อมโยงระหว่างไทยกับอาเซียน จะทำให้มีการเคลื่อนย้ายของคนในประชาชมคมอาเซียน ประเทศชาติต่าง ๆ ก็จะย้ายเข้ามาหา งานทำ เข้ามาในวิถีชิวิตของคนไทยมากขึ้น มีความผูกพันกับพื้นที่สำคัญ ๆ ของเรา ทำให้เราไม่สามารถหางานทำได้ เพราะจะถูกแรงงานต่างชาติเข้ามาแย่งงานเราทำ ทำให้เรา ต้องย้ายไปหางานที่อื่นทำ ความสัมพันธ์ทางสังคมของคนไทยอาจจะสูญเสียไปจากการเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น ทำให้เราต้องเตรียมตัวเราและสังคมรอบข้างให้พร้อมสำหรับ การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมืองหลวง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม สมาชิกประชาคมอาเซียน สมาชิกประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีเมืองหลวงศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ดังนี้ 1.ประเทศลาว มีพรมแดนติดต่อกับไทยทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำโขงกั้นเขตแดน มีนครหลวงเวียงจันทร์เป็นเมืองหลวง เวียงจันทร์มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ หลายแห่ง เช่น ประตูชัย พระธาตุหลวง และหอพระแก้ว 2. ประเทศกัมพูชา มีกรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวง เป็นศูนย์กลางของการค้าและอุตสาหกรรม และยังเป็นศูนย์ราชการของประเทศด้วย กัมพูชามีชื่อเสียงในฐานะที่มี สถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิม มีสิ่งมหัศจรรย์ของโลกซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ ปราสาทเขาหินนครวัดและนครทม ซึ่งอยู่ในเมืองเสียมเรียบ อันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นในยุค อารยะธรรมเขมรโบราณ 3. ประเทศเวียตนาม เป็นอีกประเทศหนึ่งในประชาคมอาเซียนที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีกรุงฮานอยเป็นเมืองหลวงที่มีขนาดเล็ก มีเสน่ห์และเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของเอเซีย ตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแดง มีวัดเก่าแก่และทะเลสาปงดงามอยู่หลายแห่ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทุกที่ 4. ประเทศเมียนม่าหรือพม่า พม่าได้ย้ายเมืองหลวงและหน่วยราชการต่าง ๆ มาอยู่ที่เมืองเนปิดอเมื่อปี 2549 พม่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และ มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่งดงามเปี่ยมไปด้วยศรัทธาในศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็นเจดีย์ชเวดากอง พระธาตุอินแขวน หรือนครแห่งเจดีย์ที่เมืองพุกาม 5. ประเทศมาเลเซีย มาเลเซียมีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ มาเลเซียตะวันตกอยู่บนคาบสมุทรมลายู และก็มาเลเซียตะวันออกซึ่งตั้งอยู่บนเกาะเบอร์เนียว เมือง หลวงของประเทศตั้งอยู่บนคาบสมุทรมาลายู ชื่อว่ากรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงที่มีความทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ กัวลาลัมเปอร์นั้นถือว่าเป็นเมืองท่องเที่ยว ที่สำคัญของมาเลเซีย 6. ประเทศบรูไน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า เนกราลาบรูไนดาสุสลาม มีเมืองหลวงชื่อว่าเมืองบันดาเสรีเบกาวัน บรูไนเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กแต่ว่าเป็นแหล่งน้ำมันดิบ อันอุดมสมบูรณ์ บรูไนจึงจัดว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมัน 7. ประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในกลุ่มประชาคมอาเซียน มีพื้นที่เพียง 699.4 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น หรือว่ามีขนาดเท่า ๆ กับเกาะภูเก็ตของ ไทยเรา แต่ว่าแม้จะมีขนาดเล็กและประชากรมีไม่มากนัก แต่สิงคโปร์นับว่าเป็นประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในย่านนี้ 8. ประเทศอินโดนีเซีย ถือเป็นประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และมี แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่งดงามระดับโลก ตัวอย่างเช่น เกาะบาหลี บูโลพุทโธ อินโดนีเซียมีเมืองจารกาต้าเป็นเมืองหลวง และเป็นศูนย์กลางทางด้านการปกครองและ เศรษฐกิจของประเทศ 9. ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มากกว่า 7,000 เกาะ มีกรุงมนิลาเป็นเมืองหลวง กรุงมนิลาตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ทางเหนือ สุดของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ในเมืองมีโบสถ์คริสต์เก่าแก่อยู่หลายแห่งให้ชมความงดงามกัน 10. ประเทศสุดท้าย คือ ประเทศไทยของเรานั่นเอง กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจและการค้า เป็นเมืองที่มีความทันสมัย และยังรักษาอดีตอัน เก่าแก่ไว้ได้ในเวลาเดียวกัน มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆ และวัดต่าง ๆ และเราคาดกันว่ากรุงเทพมหานครจะได้เป็นเมือง หลวงของอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ เนื่องจากทำเลที่ตั้งนั้นอยู่ตรงกลางของอาเซียนพอดี
นางสาวเยาวลักษณ์ ศิริสุวรรณ
เรียบเรียง |