การปรับรื้อระบบ
โดย... รศ. ธนะชัย ยมจินดา วิทยากร
รองศาสตราจารย์ ดร. เสน่ห์ จุ้ยโต วิทยากร
อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการและ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)


ภาพจาก Web Site
http://4.bp.blogspot.com/-WBN_3AEGwGg/UtnS9yqcjdI/AAAAAAAAAK4/6kyYN4kOOC4/s1600/sanal-org.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 10-11-60

          การปรับเปลี่ยนหรือการปรับปรุงเรื่องของการทำงานถือว่าเป็นเรื่องปกติของทุกแห่ง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ว่าการรื้อปรับระบบนับว่าเป็นเรื่องที่ต่างกันออกไป
ซึ่งจะต้องมีวิธีการมีขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถจะตรวจสอบการทำงานได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งการรื้อปรับระบบกระบวบการด้วยวิธี Re Engineering เป็นกระบวนการรื้อปรับระบบภายในองค์กร
ใหม่ทั้งหมด เป็นกระบวนการพลิกฟื้นธุรกิจ เนื่องจากการแข่งขันกันในธุรกิจที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้หลาย ๆ กิจการต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจนั้น ๆ จากการทำธุรกิจ
ขององค์กร เมื่อดำเนินการไปได้สักระยะหนึ่ง ก็จะเกิดความคุ้นเคยกับระบบและสิ่งที่ทำอยู่แบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ไม่มีการสร้างสรรค์นวัตกรรม การปรับปรุง หรือปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้ใหม่
ขึ้น หรือให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า ขาดความรวดเร็ว คุณภาพไม่ได้ มีต้นทุนสูง ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพต่ำ หรือเกิดปัญหาความขัดแย้งไม่มีใครรับผิดชอบ เกิดความสบสน ปนเป


ภาพจาก Web Site
https://shanedhart.files.wordpress.com/2016/07/leadershipdiversity.png?w=1200
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 10-11-60

          Re Engineering เป็นขบวนการใหม่ที่จะมาช่วยตอบโจทย์ที่เกิดขึ้นในองค์กรได้ โดยต้องดูว่า Process อะไรที่สำคัญต่อการการดำเนินงานขององค์กร ดูว่าอะไรเป็น Key บ้างแล้ว
มองให้ทะลุตั้งแต่ต้นจนจบ End to End ต้นชนปลาย ต้องมีงานอะไรบ้างที่มันสำคัญ รวมเข้าไว้ด้วยกัน เป็น One Stop ไม่ต้องทำให้มันซับซ้อน เป็นแบบงานง่าย ๆ มองให้ทะลุว่าต้องมีงาน
อะไรบ้าง แล้วก็ขุดรากถอนโคนกระบวนการเดิม ๆ ให้หมดสิ้น เริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ให้ลูกค้าหรือ ผู้ประกอบการเป็นตัวตั้ง คือ Work ดูว่าจะต้องมีงานอะไรที่จะตอบโจทย์ลูกค้าได้เร็ว มีคนรับ
ผิดชอบชัดเจน สามารถจะรู้ได้ว่าปัญหาเกิดจากตรงไหน อะไร อย่างไร แบ่งแยกงานตามหน่วยงาน ตามหน้าที่รับผิดชอบ ต้องทำแบบเต็มที่ ต้องมีการออกแบบกันใหม่ Re Design Job ทำ
ให้เป็นแบบง่าย ๆ มีการ Plan ให้ชัดเจน โดยผู้ปฏิบัติต้องเป็นผู้มีความรู้ มีทักษะในงานนั้น ๆ มีความรับผิดชอบในงานนั้น ๆ ที่ชัดเจน มีเจ้าของ Process ที่จะต้องดูแลทั้งหมด รู้ว่างานติด
ขัดตรงไหน ใครเป็นผู้รับผิดชอบ จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรเวลามีปัญหา เป็นเรื่องที่ต้องเป็นทีมเวิร์ค ต้องมีการให้อำนาจกับคนที่ปฏิบัติงานนั้นว่า เขาคิด เขาอ่าน เขาเรียนผิดถูกอย่างไร เป็น
ประสบการณ์ ของเขา ผู้บริหารขององค์กรนั้น ๆ จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทใหม่ ไม่ใช่เป็นผู้ไปสั่ง ไปควบคุมการทำงาน แต่เป็นคนคอย Support คอยดูแลเพื่อจะตอบโจทย์ความต้องการของ
พนักงาน ทำหน้าที่ใน Process นั้น โครงสร้างจะต้องเป็นโครงสร้างแบบเรียบง่าย เจ้าของโครงการคือใคร มอบให้ใครรับผิดชอบ ใครเป็นคนที่ดูแลรับผิดชอบ Owner จะมีอำนาจเต็ม คล้าย
Project Manager จะดูแลตรงนี้ เขาจะสนใจที่ Process มากกว่าจะไปแก้งานในแต่ละหน่วยงานตามหน้าที่ โดยจะ Design องค์กรให้ Simple จะให้ทุกคนได้รับรู้ว่าหน้าที่ของเขาในงาน
นั้น ๆ เป็นอะไรยังไง เขาจะต้องทำอะไรบ้างด้วย KPI. องค์กรก็จะเป็นองค์กรในแนวราบ มี M Powerment มีการทำงานเป็นทีม เป็นการทำงานแบบมีคนโค้ช งานจะมี Process ที่มีคนรับ
ผิดชอบชัดเจนว่า Process นี่สำคัญผิดพลาดไม่ได้ จะเป็นการตอบโจทย์ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งการ Re Engineering เขาจะคิดจากลูกค้ากลับเข้ามาหาจุดเริ่มต้น


ภาพจาก Web Site
http://www.supreme24.net/images/stories/application-re-engineering.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 10-11-60

          ปัญหาที่สำคัญเรื่องหนึ่งในองค์กรก็คือ เรื่องของการปรับรื้อระบบงานหรือ Re Engineering จะเป็นลักษณะของการปฏิวัติ ที่เรียกการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ 3 รูปแบบ
คือ ค่อยเป็นค่อยไป ปฏิรูป และปฏิวัติ เพราะฉะนั้นการปฏิวัติแปลว่าเป็นการยกเครื่องประมาณ 80 – 100 % เพราะสิ่งที่เคยทำ ๆ อยู่ อาจจะไม่ได้ทำหรืออาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงสลับ
โครงสร้าง มีการสลับหน้าที่การทำงาน จนทำให้เกิดการต่อต้าน เรียกได้ว่าที่ใดมีการเปลี่ยนแปลงที่นั่นต้องมีการต่อต้าน เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้มีการต่อต้านน้อยลง ก็จะเป็นเรื่องของ
ผู้นำ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเรื่องของ Re Engineering จะต้องมีการดำเนินงานประกอบด้วย จะต้องมีคณะทำงานเรื่องของ Re Engineering เพื่อที่เราจะเน้นในเรื่องการปรับเปลี่ยนระบบ
การทำงาน มีการ Trend คณะทำงานเพื่อทำความเข้าใจ และคณะทำงานมีหน้าที่สื่อสาร ไปขายความคิดของบุคคลากรว่าทำไมเปลี่ยนแปลงไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญ และใครที่
ยังไม่เห็นด้วย ยังไม่สอดคล้องกับการ Re Engineering ก็จะนำไปฝึกอบรมหรือไปพัฒนา หรืออาจจะพาไปดูงานของเรื่องนี้ ถ้า Re Engineering แล้วองค์กรจะเปลี่ยนแปลง องค์กรจะ
ประสบความสำเร็จ และเมื่อ
องค์กรประสบความสำเร็จ ทำให้คนในองค์กรก็ประสบความสำเร็จไปด้วย จึงเป็นแนวทางที่เรียกว่าลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงไปได้


ภาพจาก Web Site
https://pbs.twimg.com/media/Cw-JBHUWQAAcFqE.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 10-11-60

          ในการเปลี่ยนแปลงมีโอกาสที่จะเกิดการต่อต้านสูง จึงต้องมีการเตรียมรับ เตรียมพร้อมจากการสื่อสารให้ทราบในช่วงแรกที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เขาเกิดการยอมรับมากขึ้น
ด้วยการสื่อสารในเรื่องของกระบวนการในการทำงาน จะเน้นอยู่ 4 ประการ
          1. เรื่องของต้นทุนการ ลด Cost จะทำอย่างไรจะยกเครื่องหรือปรับปรุงองค์กรเพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งถือว่าเป็นที่สำคัญ เช่น กระบวนการที่เคยทำอยู่ จะลดกระบวนการ ลดขั้นตอน จะทำ
ให้ค่าใช้จ่ายลดลงไปได้ ซึ่งกระบวนการการลดคนที่ประจำอยู่ในกระบวนการหรือกิจการก็อาจจะต้องลดลงไปด้วย จึงเป็นการทำความเข้าใจเรื่อง Cost นำไปสู่การลดค่าใช้จ่าย
          2. เรื่องของคุณภาพ วัตถุประสงค์ของการ Re Engineering ก็คือการลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพการให้บริการ ถ้าเราทำระบบของคุณภาพสู่มาตรฐานสากล ก็จะทำให้สินค้าและบริการ
ไม่มีของเสีย ไม่มีข้อบกพร่อง จะก่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย
          3. เรื่องของความเร็ว จะต้องทำอย่างไรจึงจะปรับระบบการทำงานให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งลูกค้ามีความต้องการการบริการที่รวดเร็ว
          4. เรื่องของการบริการ Service ความประทับใจในการบริการ


ภาพจาก Web Site
https://media.giphy.com/media/uEyhuIowk2WEU/giphy.gif
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 10-11-60

          การสื่อสารในเรื่องของการ Re Engineering จึงเป็นการปรับกระบวนการในการทำงานใหม่ เพื่อนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า ถูกกว่า ดีกว่า เร็วกว่า และพึงพอใจกว่า ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้อง
สื่อสารให้กับบุคลากรในองค์กรทราบ จะต้องมีการปรับเปลี่ยนเชิงของกระบวนการทำงาน มีการเสริมความคิดที่เรียกว่าความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการที่จะพัฒนา ในการปรับปรุงงาน ปรับปรุง
การบริการให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ ซื้ออีก บอกต่อและก็มีความพึงพอใจมากขึ้น ด้วยการลดต้นทุน มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น มีความรวดเร็วซึ่งอันนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ High Speed และเกิดความ
พึงพอใจในการบริการ และนี้ก็คือหัวใจของการ Re Engineering.




นางสาวเยาวลักษณ์  ศิริสุวรรณ เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 3 บริหารงาน / บริหารคน
กลุ่มรายการที่ 3/24-59
CD-A3(5/5)-59