มนต์เสน่ห์ของเสียงแคนดอกคูน
โดย...คุณพ่อบุญมาก แสงสีเรือง วิทยากร
หมอแคน ตำบลสารถี จังหวัดขอนแก่น

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)


ภาพถ่ายจากสถานที่จริง

          ดนตรีเป็นงานศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยใช้เสียงเป็นสื่อเพื่อถ่ายทอดออกมาเป็นลีลา เป็นทำนอง ซึ่งอารมณ์ของเพลงจะดำเนินไปตามจิตนาการของผู้ประพันธ์เพลงนั้น ๆ ดนตรีจึงนับเป็น
สิ่งที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ในการปรุงแต่งชีวิตให้มีความสุข รู้สึกผ่อนคลายจากความเศร้าโศกลงได้ และเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่มีมนต์เสน่ห์ก็คือ เสียงของแคน แคนเป็นเครื่องดนตรีชนิดเป่าหรือเป็น
เครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคอีสานในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นเครื่องดนตรีของชาวลาว หรือ สปป. ลาว และยังถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของชาวลาว แคนเป็นเครื่องดนตรีที่นำไม้ซางขนาด
ต่าง ๆ มาประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในประเภทเป่า มีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นรูปแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้า และดูดลมออก
ด้วย


ภาพถ่ายจากสถานที่จริง

          ความเป็นมาของเสียงแคนดอกคูน เริ่มมาแต่สมัยโบราณกาล เสียงแคนดอกคูนเป็นเสียงแคนของคนขอนแก่นโดยเฉพาะ เป็นเสียงแคนที่มีสีสันทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งเสียงแคนที่เกิดขึ้นมา
จากจังหวัดขอนแก่นถือเป็นเสียงแคนดอกคูนของขอนแก่นเป็นสัญลักษณ์ก็ว่าได้ โดยเริ่มแรกเป็นของคนแก่สมัยก่อน เขาจะเอาเสียงแคนเป็นศูนย์กลางที่จะไปคุยกับสาว ไปเล่นกับสาว มักจะไป
คุยกับสาวเวลากลางวันหรือกลางคืน จะใช้สัญลักษณ์เป็นเสียงเป่าแคนของคนเฒ่าคนแก่ในสมัยก่อน มาฝึกหัดเด็กให้เป่าแคนให้เป็น ไปฝึกเป่ากับหมอลำ แล้วตอนกลางคืนก็จะไปคุย ไปเล่นกับ
สาว ไปเป่าเสียงแคนเพื่อเรียกสาวให้ไปคุยด้วย สาวก็จะชอบแล้วชมว่าเก่ง เมื่อในสมัยก่อน ๆ แล้วก็ไปเป่าร่วมกับหมอร้อง หมอลำ ก็สามารถทำให้มีเงินพอจะได้ใช้


ภาพถ่ายจากสถานที่จริง

          อุปกรณ์ทำแคนหนึ่งตัวจะประกอบด้วย เริ่มแรกทำมาจากไม้เฮี้ย ในสมัยก่อนที่บ้านเรายังมีไม้เฮี้ย เป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าของประเทศไทย แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว แต่เราเอาไม้เฮี้ยมาจาก
ประเทศลาว เป็นไม้ที่มีแก่น มีลักษณะดี สีสันมัน ประเภทไม้ยูเม่า ไม้ชิงชัน จะจัดเป็นพวก พวกไม้จะมีรู ไม้แต่ละไม้จะมีลิ้นของแคน คือตัวที่จะขับให้เป็นเสียงออกมาได้ ซึ่งแต่ละตัวเสียงจะไม่
เหมือนกัน เพราะความสั้นยาวของไม้ จะเป็นเสียงของดนตรี โด เร ซอล ขึ้นอยู่กับความสั้นยาวของไม้ จะเป็นไม้เฉพาะ จะไม่ใหญ่ จะเป็นขนาดเฉพาะของแคน แล้วก็จะเอาซูด ซึ่งซูดจะเกิดตาม
ไร่ ตามนา
ตามโคน มักจะมีปลวกปนมาด้วยจากการขุดหาซูด ซูดจะมีน้ำหวานเหมือนกับน้ำผึ้งอยู่ในตัวซูด แล้วเอาตัวซูดมาทำผสมกับใบฝ้ายซึ่งจะต้องเผาไฟเสียก่อน มาผสมผสานกันให้เหนียว
แล้วก็ติดรอบตัวฝังไม่ให้มีลมผ่านได้ ให้ลมเข้าไปที่ทำเป็นลิ้นเอาไว้ข้างใน ที่เรียกว่าลิ้นเงิน ลิ้นทอง ลิ้น 2 ชั้น ถ้าอยากให้มีเสียงดี เสียงไพเราะ ก็ต้องใส่ 2 ชั้น เอาไว้ข้างในของแต่ละส่วน ซึ่งลิ้น
แคนจะอยู่ข้างใน แต่ถ้าเป็นแคนเดี่ยวก็จะมีลิ้นเดี่ยว ลิ้นคู่ก็มี ลิ้นเดี่ยว ลิ้นคู่ เสียงของลิ้นเดี่ยวกับลิ้นคู่จะมีเสียงอันเดียวกัน ขึ้นอยู่กับช่างที่ทำ ว่าเขาจะทำลิ้นคู่หรือลิ้นเดี่ยว การสูดอัดไม่ให้มีลม
เวลาที่เราเป่าเข้าไป จะไม่ให้ลมปลิวหรือลอดออกมา ทำให้บางครั้งเสียงแคนก็จะไม่ดัง จะต้องปิดทางลม ไม่ให้ลมออกมา ถ้าออกมาเสียงแคนจะไม่ปะทะกันกับลิ้น ลิ้นก็จะไม่ดัง


ภาพถ่ายจากสถานที่จริง

          เพลงที่นิยมใช้ในการเป่าแคน จะเป็นเพลงไทยเดิม เพลงเดิมเป็นลายใหญ่ ลายน้อย ลายน้อยเขาเรียกลาย 10 คะแนน มีโอ้ซ้าย มีหลายลาย คำว่าลายหรือโอ้หมายถึงชื่อของเพลง ประเภท
ของหมอลำ จะมีหมอลำกลอน ลำเรียก ซึ่งถ้าเป่าไม่ได้ หมอลำก็จะร้องไม่ได้ ชื่อเพลงเต้นรำ ชื่อเพลงออกดนตรี รำออกฟ้อน เพลงระบำ
          การเป่าแคนไม่ใช่แค่เป่าอย่างเดียว ต้องมีการดูดลมเข้าไปด้วย มีการใช้ลิ้นผองดูดลมเข้าไป ดูดลมออก ดูดลมเข้า ดัดลิ้น ห่อลิ้น หรือดุนลิ้น ดัดให้ได้ จะทำให้เสียงออกมาเพราะ ถ้าดัด
ลิ้นไม่ได้ เสียงจะไม่ไพเราะ เทคนิคการเป่าสำหรับคนที่เริ่มต้นเป่าแคน ต้องเริ่มจาการใช้นิ้ว ต้องดัดนิ้ว ให้นิ้วอ่อน ๆ แล้วก็เอานิ้วมาแตะที่รูของตัวแคน แตะแล้วก็ทำกระดุก กระดิกนิ้วตามช่อง
ของแคนให้นิ้วมีความเคยชินก่อนสำหรับการฝึกแรก ๆ ฝึกกระดุก กระดิกนิ้วให้ปิดรู เปิดรู ให้รู้สึกถึงความคล่องตัว พอหลังจากใช้นิ้วได้แล้ว ครูผู้ฝึกก็จะเอาแคนติดซูดหรือติดเสียง ให้มันติดจน
มันไม่กระดิก ติดตัวเดียวก่อน เพื่อให้เป็นลายเดี่ยวก่อน เป็นโน้ตง่าย ๆ เหมือนเราฝึกตัวโน๊ต ฝึกกระดิกนิ้วให้คล่อง แล้วก็ฝึกหัดเป่า กระดิกนิ้ว เปิดปิด เปิดปิดให้คล่อง ต่อมาก็ใช้ลมให้ถูกกับ
โทนของ ผู้เป่า ใช้นิ้วปิดรูให้มันตรงกัน ให้ทันกับลมกับมือ ใช้นิ้วมือของเราให้ทันกับลมที่เป่า ตามโน้ต ต้องฝึกจนมีความชำนาญ เสียงจะไพเราะเวลาได้ยินเสียงแคน


ภาพถ่ายจากสถานที่จริง

          ปัจจุบันนี้หมอแคนที่เป็นปราชญ์มีอายุ 60 70 ปีแล้ว จึงต้องหาผู้สืบทอดผู้เป่าแคนต่อไป ด้วยการฝึกเด็ก ที่โรงเรียนบ้านสารถี จะฝึกเด็กวันละ 1 ชั่วโมงเป็นการฝึกให้ฟรี ฝึกเพื่อให้เป็น
หมอแคนโดยเฉพาะ ซึ่งคุณค่าของเสียงแคนทำให้เรามีความสุข และรักในเสียงแคน.





นางสาวเยาวลักษณ์  ศิริสุวรรณ เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม / การท่องเที่ยว
กลุ่มรายการที่ 4/39-59
CD-A4(5/5)-59