สีโทนไทยเสน่ห์จากภูมิปัญญาไทย
โดย...อาจารย์ไพโรจน์  พิทยเมธี วิทยากร
อาจารย์พิเศษภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
คณะมัณฑศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปกร

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)


ภาพจาก Web Site
http://bundanthai.com/uploads/contents/20151216164004.jpg
http://www.bagindesign.com/wp-content/uploads/2016/07/thaitone-color-thai.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-11-60

          ถ้าในโลกรอบ ๆ ตัวเราสมมุติว่ามีแค่เฉพาะสีขาว และสีดำเท่านั้น โลกของเราก็คงจะไร้ซึ่งชีวิตชีวา แต่ว่าขณะนี้ประเทศไทยเรามีสีที่ผลิตจากภูมิปัญญาไทย ซึ่งเรียกว่าสีไทยโทน คำว่า
สีไทยโทนคำนี้อาจจะเป็นคำที่แปลกใหม่สำหรับคนไทยเรา แต่ถ้าบอกว่าสีเงินคราม สีเขียวน้ำไหล สีเขียวไพล สีดินแดง สีม่วงเม็ดมะปราง สีหงสบาท ก็คงจะมีหลายคนรู้จัก เรียนมา หรือเคยได้
ยิน มาแล้วบ้าง
          คำว่าสีไทยโทนเป็นผลงานการวิจัยเกี่ยวกับสีไทย ในหัวข้อเรื่องการวิเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบกราฟฟิก หรือเลย์คณะศิลปะ เพื่อให้มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย เรื่องของผ้า เรื่องของ
ตัวอักษร และเรื่องของสี ซึ่งเวลาจะออกแบบกราฟฟิกจะต้องมี 3 องค์ประกอบหลัก ๆ เช่น เรื่องของผ้า ก็จะเป็นเรื่องของเอกลักษณ์ไทย การออกแบบกราฟฟิกจะมีตัวอักษรไทยในการออกแบบ
เรื่องของสีจะมีเอกลักษณ์หรือมีสีที่ใช้อยู่ในงานที่เป็นกิจกรรมไทย คืองานหัวโขน ก็สรุปออกมา มีการผลิตสี มีการทำสี และมีเฉดสี ซึ่งต่อมาทำการวิจัยเรื่องของสีลงไปในเชิงลึก


ภาพจาก Web Site
http://www.baanlaesuan.com/wp-content/uploads/2017/05/THAITONE2.2.jpg
https://i.pinimg.com/originals/a2/3a/28/a23a283badf7b5897abd32dd30685e75.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-11-60

          มีการวิเคราะห์ เรื่องของชื่อสีและมีการรวบรวมชื่อเรียกสีต่าง ๆ ไว้ในทางจิตกรรมไทย วิเคราะห์วิธีการผสมสี สัดส่วน หรือวัสดุที่จะนำมาผสมมาจากอะไร แล้วก็เอามาทำเป็นเทียบเฉดสี
วัดเทียบเฉดสีเป็นค่าในระบบการพิมพ์ เป็น TM YK เป็นการโฟน เป็นรหัส ทำให้ได้เป็นมาตรฐาน เนื่องจากสีของไทย เราเคยผลิตได้เอง ใช้วัสดุของเราเอง แต่เวลาจะใช้จริงช่างไทยกลับไม่ได้
ผลิตสีใช้เอง ไปซื้อสีหลอดที่เป็นสีสำเร็จรูปมาใช้ ซึ่งเฉดสีก็จะไม่เหมือนกับของโบราณของเรา จะได้สีที่ฉูดฉาด สีแปร๋น จะมีข้อแตกต่างของสีหลอดกับสีที่ไทยเราทำขึ้นเอง มีอยู่ 4 ประเด็น
          1. เรื่องของเฉดสีจากธรรมชาติ เช่น สีไพลจะทำจากวัสดุธรรมชาติ 100 % ได้มาจากหิน จากแร่ จากทราย จากใบไม้ พอเป็นของที่มาจากธรรมชาติ 100 % ตัวค่าเปอร์เซ็นต์สีก็จะไม่มี
ไม่ฉูดฉาด
          2. แต่ถ้าเป็นสีสังเคราะห์จะทำสีอะไรก็ได้ จะเป็นสีแบบสด ๆ แต่ถ้าเป็นสีธรรมชาติสีที่ได้ออกมาจะดร๊อปลงมา คือสีจะไม่สด ทำให้เฉดสีกลายเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องของเฉดสี เพราะ
ธรรมชาติสีไม่สดมาก
          3. เรื่องของรสนิยมของการใช้ หรือความเชื่อของการใช้ที่แตกต่างออกไป เช่น เราจะมีสีคราม อย่างของครามฝรั่งเรียก สีอัลต้ามารีน ของเราจะใช้ในสัดส่วนประมาณหนึ่ง จะเลือกเฉพาะ
สีที่เป็นรสนิยมของเรา เป็นความเชื่อของเรา คือเราจะใช้สีแดงแทนว่านั่นคือ โบสถ์ วิหาร แทนบรรยากาศของสวรรค์ เราก็จะใช้เปอร์เซ็นต์ของสีแดง หรือสีทองในปริมาณที่เยอะ ๆ
          4. เรื่องที่เป็นเอกลักษณ์ เราจะมีชื่อเรียกของเราต่างหาก เช่น สบาทน้ำไหล เขียวตังแช คือจะเป็นชื่อคล้าย ๆ เป็นวรรณกรรม เป็นบทกลอน ชื่อจะไพเราะและโบราณ


ภาพจาก Web Site
http://mpics.manager.co.th/pics/Images/558000014182902.JPEG
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-11-60

          จากการวบรวมทั้งในงานเขียน งานวรรณกรรม หรือจากการบันทึกของครูช่าง ต่าง ๆ สามารถรวบรวมได้ประมาณ 220 สี จากปกติที่เคยมีอยู่ประมาณไม่เกิน 70 สี แต่ปัจจุบันที่เผยแพร่
อยู่ประมาณ 150 สี ส่วนที่เหลือยังต้องมีการวิจัยกันต่อไปอีก ซึ่งบางอันได้ชื่อสีมาแต่ยังไม่ได้เฉดสี ยังไม่รู้ว่าเฉดสีเป็นอย่างไร คงต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม ล่าสุดก็มีสีชื่อศรีสยาม เป็นสีที่เหมือนกับ
เป็นสีผิวของคนสยาม คือจะเป็นสีออกน้ำผึ้ง จะนวล ๆ อย่างที่เขาเรียกสีผิวแบบสีน้ำผึ้ง ก็เป็นข้อมูลที่ได้มาใหม่เป็นสีไทยโทน ยังมีสีจั่น สีอร เหล่านี้คือเท่าที่ค้นพบมาเป็นสีเอกลักษณ์ของไทยเรา
          สีประจำชาติหรือว่าสีที่มีเอกลักษณ์ ไม่ได้หมายความว่าทุกชาติจะมีสีของตัวเอง จะต้องดูจากเอกสาร ดูจากวิธีการใช้ ดูจากประสบการณ์ ดูจากผลงานต่าง ๆ ที่ออกมาทั้งหมดว่าเขาใช้สี
ที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นสีหรือเปล่า หรือว่ามีเอกสารหรือเปล่า แต่ของไทยเราจะมีเอกสาร มีข้อมูลที่ซัพพอร์ตเอาไว้ ทำให้ความเป็นไทยค่อนข้างจะชัดในเรื่องของสี ของเงา เช่น จีน ญี่ปุ่น ก็มี
การใช้ชาดกับสีลัก เครื่องเขินของจีนจะใช้สีแดงที่เป็นชาด ของญี่ปุ่นเป็นพวกภาชนะต่าง ๆ จะเป็นสีแดงกับสีดำ ถือว่าเป็นวัฒนธรรมร่วม Tropical Color


          วิธีการผสมสีหรือการปรุงสี ตัวอย่าง การทำสีคราม ก็จะเอาใบมาหมัก ก็จะได้เป็นครามเปียก จากตัวใบที่ยุ่ย ๆ กลายเป็นน้ำ แล้วก็ไปหมักกับมะขามเปียก น้ำตาลทรายแดง เหล้าขาว ใน
ส่วนผสมที่พอประมาณ เพราะเวลาหมักจะมีอาการบูดได้ หมักไว้คืนหนึ่ง จะคล้าย ๆ กับการเลี้ยงยีสต์ เหมือนกับการทำขนมปัง เพื่อที่จะเลี้ยงจุลินทรีให้ทำปฏิกิริยา ต้องผสมกาวกับหินเข้าไป
ด้วย ถ้าไม่ใช้จะบูด จะเน่า มีราเกิดขึ้น สัดส่วนที่ผสมมาจากธรรมชาติ ประกอบด้วย จากใบไม้ จากดิน จากหิน จากแร่ เวลามาทำจะต้องใช้โก่งบดยา บดให้ละเอียด ยิ่งละเอียดก็จะยิ่งติดทนนาน
แล้วเจือด้วยน้ำ พอได้สัดส่วนแล้วก็จะต้องใส่กาวเข้าไปด้วย ซึ่งแต่ก่อนกาวจะมาจากต้นมะขวิด แต่ปัจจุบันนี้ต้นมะขวิดหายากแล้ว ต้องเปลี่ยนมาใช้ต้นกระถิน หรือกาวของฝรั่งที่เรียกว่ากัมอารบิก
จะเป็นยางของพืช โดยเอามาใส่ไม่มาก ไม่น้อย ประมาณ 10 % เพื่อที่จะทำให้ยึดเกาะตัวที่เป็นผงเป็นทรีตเม้นท์ เพื่อให้ยึดเกาะกับเฟรม ถ้าไม่ใส่กาว เมื่อทาสีไป พอแห้ง จะกลายเป็นสีฝุ่น
ฝุ่นก็จะปลิว สีไทยก็คือจะเป็นสีฝุ่นเป็นส่วนใหญ่


ภาพจาก Web Site
http://3.bp.blogspot.com/-fYCcDTPdYMo/TbmqE0Zc5WI/AAAAAAAAAQ4/dL8Y-DYAUBs/s1600/miro%2Bharlequin.gif
http://mpics.manager.co.th/pics/Images/558000009016501.JPEG
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-11-60

          จากการวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อขยายยอดออกไปทางงานออกแบบทุกสาขา เพื่อที่จะใช้สีในการออกแบบทุกสาขา เช่น ใช้ในสีทาบ้าน ใช้ในการผลิตอุตสาหกรรม ใช้ทางด้าน
เฟอร์นิเจอร์ ทางอินทรีเรีย โปรดักส์ดีไซน์ อาคิเต็ก และทางแฟชั่นดีไซน์จะมีในส่วนที่เป็นการย้อมไหม อีกด้านก็เพื่อขยายไปในส่วนงานบริการ จะทำเป็นร้านไทยโทนคาเฟ่ จัดเป็นร้านกาแฟ
แต่วัฒนธรรมกาแฟคือวัฒนธรรมจากต่างชาติ เช่น ถ้าเราจะสั่งกาแฟเอสเปรสโซ่ ก็จะต้องสั่งเป็นชื่อไทยว่า ดำเขม่า จะสั่งชาเขียวก็ต้องสั่งว่าเขียวไพล หรือจะสั่งนมคาราเมลก็ต้องสั่งว่านมควาย
เผือก

          มีการคาดหวังว่าเนื่องจากสีไทยเป็นองค์ความรู้ใหม่ จะเป็นภูมิปัญญาของชาติ ที่จะทำให้คนไทยรู้สึกว่ามาจากภูมิปัญญาไทย จะไปต่อยอดเป็นโปรดักส์ต่าง ๆ เช่น เป็นสีทาบ้าน เป็น
เสื้อผ้า เป็นผ้าพันคอ เป็นสีย้อมไหม เป็นลิควิด เป็นยาทาเล็บ สามารถที่จะต่อยอดเป็นธุรกิจได้ จากที่เป็นงานวิจัยที่อยู่ในหน้ากระดาษวางอยู่บนหิ้ง ก็สามารถที่จะขึ้นห้างสรรพสินค้าได้ สามารถ
ขายเป็นมูลค่าได้ สามารถที่จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการ ดีไซน์เนอร์ เรียกว่าติดอาวุธให้กับดีไซน์เนอร์ เหมือนกับคำพูดที่ว่า เราได้ประโยชน์กับตัวเรา เป็นงานวิจัยของเรา เสร็จ
แล้วกลับไปเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นแรงบันดาลใจ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศชาติ ให้มีประโยชน์กับประเทศชาติได้ด้วย.


        

นางสาวเยาวลักษณ์  ศิริสุวรรณ เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม / การท่องเที่ยว
กลุ่มรายการที่ 4/13-59
CD-A4(2/5)-59