ศีลนำความสุขมาให้
โดย...ชัยณรงค์  อกอุ่น
ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร
อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี

อีเมล์ : makkaaot@gmail.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)



ภาพจาก Web Site
http://www.dhammada.net/wp-content/uploads/2011/12/lotus11-400x301.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-10-57

          คำว่า ศีล ได้แก่สภาพเช่นไร ศีลอย่างแท้จริงเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม คอยบังคับกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในขอบ
เขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษามีสภาพปกติไม่คะนองทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นที่เกลียด นอกจากความปกติงดงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มีศีลว่าเป็นศีล
เป็นธรรมเราควรรักษาศีล ๕
          หลาย ๆ ท่านคงคุ้นกับคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ว่า ให้เพียรละความชั่ว เร่งทำความดี และหมั่นชำระจิตใจให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ในการที่จะละความชั่ว สำหรับคฤหัสถ์ หรือ
ผู้ครองเรือนได้นั้น ต้องพิจารณาความบริสุทธิ์ของศีล ๕ เป็นสำคัญ แต่จะทราบอย่างไรว่า ในการรักษาศีล ๕ ของเรานั้นบริสุทธิ์อย่างแท้จริง
          ศีลข้อที่ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์ สิ่งที่มีชีวิต เป็นสิ่งที่มีคุณค่า จึงไม่ควรเบียดเบียน ข่มเหง และทำลายคุณค่าแห่งความเป็นอยู่ของเขาให้ตกไป
          ศีลข้อที่ ๒ เว้นจากการลักทรัพย์ สิ่งของของใคร ๆ ก็รักและสงวน ไม่ควรทำลาย ฉกลัก ปล้น จี้ เป็นต้นอันเป็นการทำลายสมบัติและทำลายจิตใจกัน
          ศีลข้อที่ ๓ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ลูก หลาน สามี ภรรยา ใคร ๆ ก็รักสงวนอย่างยิ่ง ไม่ปรารถนาให้ใครมาอาจเอื้อม ล่วงเกิน เป็นการทำลายจิตใจของผู้อื่นอย่าง
หนัก และเป็นบาปไม่มีประมาณ
          ศีลข้อที่ ๔ เว้นจากการพูดเท็จ มุสา การโกหกพกลม เป็นสิ่งทำลายความเชื่อถือของผู้อื่นให้ขาดสะบั้นลงอย่างไม่มีดี แม้เดรัจฉานก็ไม่พอใจคำหลอกลวง จึงไม่ควรโกหก
หลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย
          ศีลข้อที่ ๕ เว้นจากการดื่มน้ำเมา สุรา ยาเสพติด เป็นของมึนเมาและให้โทษ ดื่มเข้าไปย่อมทำให้คนดี ๆ กลายเป็นคนบ้าได้ ลดคุณค่าลงโดยลำดับ ผู้ต้องการเป็นคนดีมี
สติปกครองตัว อย่างมนุษย์จึงไม่ควรดื่มสุรา เครื่องทำลายสุขภาพทางร่างกายและใจอย่างยิ่ง เป็นการทำลายตัวเอง และผู้อื่นไปด้วยในขณะเดียวกัน


ภาพจาก Web Site
http://www.dmc.tv/images/scoop/Precept/Precept-5.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-10-57

ประโยชน์ของศีล ๕
ศีล ๕ นั้น มีประโยชน์โดยรวม ๒ ด้านคือ
          ๑. เพื่อความสงบสุขของสังคม คือเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น อันจะส่งผลให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ความหวาดระแวง และความวุ่นวายในสังคม
          ๒. เพื่อพัฒนาจิตใจของผู้ที่ถือศีลนั้นเอง เพราะศีล ๕ นั้น ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อควบคุม ไม่ให้มีการแสดงออกทางกาย หรือทางวาจา ไปในทางที่ตอบสนองอำนาจของกิเลส

อานิสงส์ของการรักษาศีล ๕
          ๑. ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
          ๒. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย
          ๓. ระหว่างลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำกล้ำกรายต่างครองกันอยู่ด้วยความเป็นสุข
          ๔. พูดอะไร มีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ ด้วยสัตย์ด้วยศีล
          ๕. เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้ ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลกให้ มี
แต่ความอบอุ่นไม่เป็นระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า


ภาพจาก Web Site
http://www.guitarthai.com/picpost/gtpicpost/Q268405.jpg

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-10-57

          ศีลนี้ หากใครรักษาดีแล้ว ย่อมอำนวยประโยชน์แก่ผู้นั้นมากมายเป็นประโยชน์ในชาตินี้ คือ มีความเย็นใจไม่เดือดร้อนเพราะเป็นผู้มีศีล ประโยชน์ในชาติหน้าพระพุทธองค์
ได้ทรงแสดงสรุปผลของศีลไว้ ๓ ประการว่า

“สีเลนะสุคะติง ยันติ บุคคลจะไปสู่สุคติได้ก็เพราะศีล
สีเลนะโภคะ สัมปะทา บุคคลจะมีโภคะได้ก็เพราะศีล
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ บุคคลจะบรรลุพระนิพพานได้ก็เพราะศีล”



เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1489:-5---&catid=61:2009-06-12-17-56-15&Itemid=246
http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=21982.0;wap2
http://www.cdthamma.com/text/t001.htm
http://www.baanmaha.com/community/thread48839.html