ข้อควรรู้
!!! ก่อนตรวจสุขภาพ
โดย...นายธนะพัฒน์ เพชรกล่อง
อาชีพปัจจุบัน แพทย์ประจำคลินิกชุมชนอบอุ่นเทศบาลนครแม่สอด
ต.แม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก
อีเมล์ : phetklong2011@gmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
ปัจจุบันผู้คนมากมายหันมาใส่ใจกับเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น
จะเห็นได้จากการมีสินค้าและบริการต่างๆออกมามากมายเช่น อาหารเสริมนานาชนิดที่อวดอ้างสรรพคุณ
ตั้งแต่บำรุงร่างกายให้สดชื่นหลังจากทำงานหนัก บำรุงสายตา ทำให้สุขภาพไม่ทรุดโทรม
หรือแม้แต่เสริมความงามให้เกิดผิวขาวสวยอมชมพู หุ่นดีอย่างนางแบบหรือดาราที่ตน
ชื่นชอบที่เห็นๆ ตามปกนิตยสาร คลินิกเสริมความงานก็เติบโตราวกับดอกเห็ด โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็มีนโยบายที่เชิญชวนผู้มีใจรักในสุขภาพ
ด้วยการมี
โปรแกรมการตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรือโรค เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
ทำให้เป็นที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ถึงกับมีการแข่งขันช่วงชิง
ลูกค้าด้วยออกโปรแกรมตรวจสุขภาพหลายรูปแบบ อย่างเช่น ซิลเวอร์แพคเกจ โกลด์แพคเกจ
แพลทินัมแพคเกจ รวมถึงมีการลด แลก แจกของแถมต่างๆเพื่อจูงใจในการเลือก
โปรแกรมการตรวจ ยิ่งโปรมแกรมหรูหราเท่าไรก็มักจะได้ส่วนลดเยอะหรือสิทธิพิเศษ
แต่หารู้ไม่ว่าซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ ราคาที่สูงเป็นเท่าตัว
สำหรับผู้ที่มีความสามารถในการจ่ายอาจจะไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด
แต่สำหรับผู้มีรายได้ไม่มากนัก การเลือกตรวจเท่าที่จำเป็นนอกจากได้ชื่อว่าเป็นคนฉลาดเลือก
ยัง
ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย ดังนั้นก่อนที่จะก้าวเข้าไปรับการตรวจสุขภาพเราควรมารู้กันว่าที่เขาตรวจๆกันนั้นมีอะไรบ้างแล้วมีความสำคัญอย่างไร
สำหรับการตรวจ
สุขภาพพื้นฐานนั้นแต่ละที่จะไม่เหมือนกันโดยทีเดียว แต่ก็ไม่ทิ้งห่างกันมากนักในที่นี้จะขอเล่าเฉพาะส่วนที่เห็นว่ามีความจำเป็นและเป็นประโยชน์มากที่สุด
ส่วนการตรวจพิเศษ
อื่นๆ ต้องขอบอกว่าขึ้นอยู่ผู้รับการตรวจแต่ละรายไปว่ามีข้อบ่งชี้หรือความจำเป็นมากน้อยเพียงใดเช่น
การตรวจอัลตราซาว์ ช่องท้อง ตับ ระบบทางเดินปัสสาวะ หรือแม้แต่หัวใจ
การวิ่งสายพานเพื่อดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การส่องกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เพื่อตรวจหาความผิดปกติของลำไส้และมะเร็ง
เป็นต้น
ภาพแสดงการตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กด้วยการส่องกล้อง
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่ 7-10-58 |
|
โดยพื้นฐานของโปรแกรมการตรวจสุขภาพแล้วจะมีการตรวจดังต่อไปนี้
1. การตรวจร่างกายโดยแพทย์
จะเริ่มตั้งแต่การซักประวัติความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่นประวัติครอบครัวต่อการเป็นโรคความดันโลหิต
โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรค
มะเร็ง พฤติกรรมการบริโภค เช่นการดื่มสุรา ยาชุด ยาสมุนไพรอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตับและไตได้
การสูบบุหรี่ ยาเส้น หรือสิงห์อมควันทั้งหลาย การอยู่
ในเมืองใหญ่ที่มีมลภาวะจากควันรถมาก โรงงานที่มีฝุ่นละออง เล่านี้ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับปอดเช่นถุงลมโป่งพอง
มะเร็งปอดส่วนตรวจร่างกายโดยแพทย์นั้น
ก็จะดูตั้งแต่ศีรษะจนถึงเท้า ระบบการหายใจ ระบบหัวใจ กล้ามเนื้อและผิวหนัง
ระบบประสาท การตรวจภายในเพื่อหามะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่และความผิดปรกติของมดลูก
ในผู้หญิง (ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าบางแห่งอาจไม่มีส่วนการตรวจร่างกายโดยแพทย์
ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ให้บริการ)
2. การถ่ายภาพรังสีทรวงอก
หรือที่เรียกว่า เอกซเรย์ปอด จะเป็นการตรวจหาความผิดปกติภายในทรวงอกของเรา
ที่ไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจร่างกายของ
แพทย์ เช่น ก้อนผิดปรกติในเนื้อปอด เยื้อหุ้มปอด กระดูกบริเวณทรวงอก และหัวใจ
ภาพแสดงภาพถ่ายภาพรังสีทรวงอก
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่ 7-10-58 |
|
3. การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
เป็นการตรวจหาว่าเม็ดเลือดของเรามีผิดปกติหรือไม่อย่างไร ถ้าหากเม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดแดง หรือเกล็ดสูงหรือต่ำมากๆ
ก็อาจมีเป็นปัญหาจากการที่ไขกระดูกของเราทำงานผิดปรกติ เลือดจางจากการขาดสารอาหารเช่นขาดธาตุเหล็ก
วิตามินบี12 โฟลิค โรคทางพันธุกรรมอย่างโรคธารัสซีเมีย
จนถึงที่อัตรายมากสุดคือมะเร็งที่เกี่ยวกับระบบเลือดและต่อมน้ำเหลือง
4. การตรวจการทำงานของตับ
ตับที่อวัยวะอีกส่วนหนึ่งของร่างกายที่ช่วยกำจัดสารพิษ ของเสีย สารอาหารส่วนเกินที่ได้รับเข้าไป
เพื่อให้สามารถกำจัดออกจากร่างกาย
ได้ง่ายขึ้นทั้งทางอุจจาระและปัสสาวะ แต่ถ้าตับทำงานหนักมากเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคได้เช่น
ตับอักเสบ ตับแข็ง การติดเชื้อไวรัสไม่ว่าจะเป็นชนิด เอ บี ซี ดี หรือ อี
ก็สามารถ
ทำให้เกิดตับอักเสบได้แต่ที่พบได้บ่อยคือไวรัสตับอักเสบชนิด บี เอ และซี
5. การตรวจการทำงานของไต
ไตเป็นอวัยวะที่ช่วยกำจัดของเสีย สารพิษ สารอาหารส่วนเกินที่ร่างกายได้เช่น
น้ำตาล เกลือแร่ต่างๆ กรดยูริค และน้ำส่วนเกินออกมาในรูป
ของน้ำปัสสาวะ ถ้าไตทำงานหนักมากเกินไปจนเข้าสู่สภาวะที่เสื่อมอย่างรุนแรงจนไม่สามารถทำงานได้จะเรียกว่า
ไตวายเรื้อรัง ซึ่งจะมีอาการบวม ปัสสาวะออกลดลง คลื่นไส้
อาเจียน เบื่ออาหาร เนื่องจากของเสียคลั่งในร่างกายมากเกินไป
6. การตรวจระดับไขมันในเลือด
ไขมันเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างฮอโมน์ ผนังเซลล์ของร่างกายแต่ถ้ามีปริมาณที่มากจนเกินไปก็ก่อให้เกิดโรคได้
เช่นถ้าสะสมตาม
หลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ถ้าเป็นที่หลอดลือดสมองก็จะทำให้เกิดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอทำให้เกิดอาการของโรคหลอดเลือดสมอง
ทำให้มีอาการ
อ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาไม่มีแรง เดินไม่ได้ ถ้าเป็นที่หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจจะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ถ้าไปเกาะที่ตับมาเกินไป ก่อให้
เกิดภาวะตับอักเสบได้เช่นกัน
7. การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
น้ำตาลเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานกับร่างกายซึ่งได้มาจากอาหารประเภทน้ำตาล
ข้าว เผือก มัน ข้าวโพด ผลไม้ที่รสหวาน ซึ่งถ้ามาก
เกินไปจนร่างกายไม่สามารถเก็บและกำจัดออกจากร่างกายได้ทันทำให้ร่างกายมีน้ำตาลมากเกินไป
ก็จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน นอกจากนี้ ถ้าตับอ่อนทำงานได้ลดลง
(ตับอ่อนเป็นตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปรกติ ) ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากจนเกินไปก็สามารถทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้
8. การตรวจปัสสาวะ
น้ำปัสสาวะเป็นส่วนที่ประกอบไปด้วย น้ำ เกลือแร่ส่วนเกิน ของเสียที่ละลายในน้ำ
แล้วถูกกำจัดออกจากร่างกาย โดยปรกติสีของปัสสาวะ ปริมาณ และ
กลิ่นจะเปลี่ยนแปลงไปตามชนิดของอาหารเรารับประทาน ปริมาณน้ำที่เราดื่มในแต่ละวัน
หรือแม้แต่ยาบางชนิดสามารถทำให้สีของน้ำปัสสาวะเปลี่ยนไปได้ แต่ถ้าน้ำปัสสาวะของ
เราสีแดง หรือสีน้ำล้างเนื้อ อาจเกิดจากการมีรอยโรคที่ไตและระบบทางเดินปัสสาวะได้
แก่ นิ่ว การอักเสบของไต เป็นต้น
9. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
โดยปรกติการทำงานของหัวใจนอกจากจะอาศัยน้ำเลือดที่ช่วยพาสารอาหารมาหล่อเลี้ยงแล้ว
การเต้นของหัวใจยังต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเป็น
ตัวกระตุ้น ถ้าการนำกระแสะไฟฟ้าที่ติดขัด เกิดการลัดวงจร การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจก็สามารถบ่งบอกโรคได้
เช่นหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การตรวจนี้
เหมาะกับผู้ที่มีอาการสงสัยเกี่ยวกับโรคหัวใจเช่นมีอาการเจ็บแน่นกลางอก อาการเจ็บอาจร้าวไป
ต้นคอ แขน หรือทะลุไปหลัง ผู้ที่มีอาการหมดสติบ่อยครั้ง ผู้ที่มีอาการใจสั่น
หรือรู้สึกว่าหัวใจเต็นเร็วหรือช้ากว่าปรกติ(ปรกติหัวใจจะเต้น 60-100ครั้งต่อนาที
อาจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาทีได้ในนักกีฬา เราสามารถตรวจสอบได้จากการคลำชีพจรบริเวณ
ข้อมือ)
ภาพแสดงผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่ 7-10-58 |
|
10. อื่นๆเช่นการตรวจหาสารมะเร็งต่อมลูกหมากเหมาะสำหรับผู้ชายที่มีอายุ50ปีขึ้นไป
การตรวจแมมโมแกรมเพื่อหามะเร็งเต้านมเหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปี
ขึ้นไป การตรวจหามะเร็งตับด้วยการตรวจเลือด หรือทำการตรวจอัลตราซาวด์ตับในกลุ่มเสี่ยงเช่นเป็นไวรัสตับอักเสบบี
ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
ความรู้ความเข้าใจเพียงเท่านี้ก็น่าจะสามารถช่วยให้ท่านผู้รักสุขภาพ สามารถเลือกโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมกับตนเอง
นอกจากได้รับความสบายใจแล้วยังสบาย
กระเป๋าตังค์ของเราอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
การตรวจเต้านมด้วยอัลตราซาวด์ กับแมมโมแกรมต่างกันอย่างไร
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=307
|