ความหมายข้าราชการกระทำผิดวินัย ข้าราชการ คือ ข้าราชการทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย หรือข้าราชการที่ไปทำงานอยู่ที่ต่างประเทศ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาหรือข้าราชการ อื่น ๆ ซึ่งมีอยู่ 5 ประเภท จะต้องประพฤติและปฏิบัติตนให้อยู่ในวินัย
ฉะนั้น คำว่าข้าราชการกระทำผิดวินัย วินัยก็คือ การควบคุมความประพฤติให้เป็นไปตามแบบแผน ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายของแต่ละประเภท การกระทำผิดทั้งหลายก็ต้องมีบท กำหนดไว้เป็นโทษ ถ้าไม่มีการกำหนดไว้ว่าเป็นโทษ ก็ไม่สามารถที่จะลงโทษได้ ความสำคัญของวินัยข้าราชการ วินัยข้าราชการพลเรือนถือเป็นสำคัญมาก ทุกคนที่เป็นข้าราชการจะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือแบบแผนความประพฤติที่มีกำหนดไว้ให้พึงปฏิบัติเพราะข้าราชการ คือ ผู้ที่ต้องรับใช้ประชาชน โดยใช้เงินภาษีของประชาชนเป็นเงินเดือนหรือค่าจ้าง ข้าราชการทุกคนต้องรักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อจะทำให้งานในความรับผิดชอบเป็นประโยชน์ กับการบริหารราชการแผ่นดิน ประเภทการกระทำผิดวินัย ลักษณะของการกระทำผิดวินัยของข้าราชการมี 2 ลักษณะคือ 1. วินัยทางบวก คือ ในสิ่งที่ดีงามทั้งหลายมีการควบคุมความประพฤติให้ปฏิบัติถูกต้อง รวมถึงการสร้างสรรค์เจตคติ บรรยากาศที่ดีในการทำงาน 2. วินัยทางลบ คือ วินัยที่เป็นการลงโทษเป็นบทลงโทษ ถ้าไม่ทำไปขัดต่อกฎ ระเบียบ ก็จะมีการลงโทษอยู่ 5 ประเภท คือ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก และไล่ออก การลงโทษประเภทปลดออก และไล่ออก จะหมดสภาพของการเป็นข้าราชการถือเป็นความผิดร้ายแรง แต่อย่างไรก็ต้องถูกลงโทษ การปลดออกยังมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จบำนาญ แต่ถ้า ไล่ออกจะไม่มีสิทธิได้รับอะไรเลย ภาคทัณน์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน จะเป็นความผิดไม่ร้ายแรง
ข้อควรปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนปี 2551 หรือปีล่าสุด 2557 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษากำหนดไว้ในระเบียบว่า ต้องปฏิบัติ ต้องซื่อสัตย์สุจริต เที่ยงธรรม ปฏิบัติให้เป็นไปตามแบบแผน กฎหมาย ตามมติ ครม. และตามนโยบายของรัฐ และแบบแผนของทางราชการที่ปฏิบัติกันมา ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีแก่หน้าที่ด้วยความตั้ง ใจเอาใจใส่ ที่สำคัญต้องรักษาผลประโยชน์ทางราชการ ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยชอบ รักษาความลับของทางราชการ ต้องอุทิศเวลาให้กับราชการ ไม่ทอดทิ้งหรือละทิ้ง หน้าที่ไป ต้องรักษาชื่อเสียงของตน รักเกียรติภูมิของการเป็นข้าราชการ ข้อห้ามปฏิบัติ ในปัจจุบันนี้การบริหารราชการนิยมใช้ระบบ Flat คือ ระบบราบซึ่งเป็นการสั่งตรงหมด ฉะนั้นข้าราชการต้องไม่กระทำ ดังนี้ ต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ถือว่ามีความผิด ไม่กระทำการข้ามขั้นที่กฏหมายกำหนดไว้ ข้าราชการต้องไม่เอาตำแหน่งหน้าที่ไปหาผลประโยชน์ใส่ตน ต้องไม่ประมาทเลินเล่อ ไม่เอาตัวเองไปช่วยคนอื่นเพื่อไปหาผลประโยชน์ให้คน อื่น ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือเป็นกรรมการในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่าง ๆ ตามที่กฎหมายห้าม ไม่ละเมิดสิทธ์ส่วนบุคคล ไม่คุกคามทางเพศ ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามประชาชน การทำความ ผิดเหล่านี้ถือเป็นวินัยร้ายแรงตามแต่โทสานุโทษ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ โดยทุจริต ทอดทิ้งงานโดยไม่มีเหตุอันควร ละทิ้งหน้าที่ ได้ชื่อว่าประพฤติชั่วร้ายแรง เมาสุราอาละวาด ขณะปฏิบัติหน้าที่ ดูหมิ่นเหยียดหยาม ทำร้ายประชาชน กระทำผิดอาญาจนถูกลงโทษจำคุก ละเว้นไม่กระทำการอันควรทำ และไม่ทำและเกิดความเสียหาย พระราชบัญญัติเพิ่มเติมสำหรับข้าราชการพลเรือนสถาบันอุดมศึกษาปี 2547 กำหนดไว้ในระเบียบว่า ไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา ไม่กลั่นแกล้งดูหมิ่นเหยียดหยาม กดขี่ข่มเหง ผู้ร่วมปฏิบัติงาน ไม่กลั่นแกล้งนักเรียน นักศึกษา ประชาชน
การตรวจสอบความผิดของข้าราชการ คำว่าข้าราชการ หมายถึง ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการในมหาวิทยาลัยและอื่น ๆ ถ้าพบการกระทำความผิด หน่วยงานก็จะส่งเรื่องไปให้ตรวจสอบการกระทำความผิดที่กองนิติการ แล้วเสนอเรื่องต่อไปยัง กพอ. กระทรวงจะตั้งคณะกรรมการสอบสวนการกระทำความผิด และอาจจะพิจารณาที่จะเลือกบุคคลภายนอกหน่วยงานต่างกรม ต่างกระทรวงเข้ามาเป็นกรรมการ ร่วมได้ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการ หลังจากที่ถูกตัดสินลงโทษแล้ว ถ้าไม่พอใจสามารถจะขออุธรณ์ได้ภายใน 30 วัน 60 วัน หรือ 90 วัน แล้วแต่โทษานุโทษที่จะได้รับ และก็ มีศาลปกครองจะเป็นส่วนสุดท้ายของข้าราชการ ถ้าถูกไล่ออก ปลดออก รู้สึกว่าไม่เป็นธรรม ก็ร้องเรียนได้ในกรม ในกระทรวงแล้วไม่สำเร็จ ก็ไปร้องที่ศาลปกครองขอความเป็นธรรมได้ เพราะศาลปกครองพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการปกครอง การสั่งการต่าง ๆ ของหัวหน้า ถือว่าศาลปกครองเป็นขั้นตอนสิ้นสุดทุกอย่างตรงนั้น ถือว่าศาลปกครองเป็นที่พึ่งสุดท้ายของข้าราชการ ที่ถูกร้องเรียน ฉะนั้น คนที่จะสอบเข้ามารับราชการควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ กฎ ระเบียบ ของ กพ. เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการมีวินัยคือการทำให้การปฏิบัติงานของบุคคลนั้นหรือว่าองค์กรสำเร็จ ลุล่วงไปด้วยดี หากกระทำผิดวินัยก็ถือว่าหรือว่าใช้สิทธิประโยชน์มิชอบ ปฏิบัติการโดยมิชอบ เป็นการสร้างปัญหาให้กับตัวเอง เพื่อนร่วมงาน หน่วยงาน และประชาชนผู้ได้รับความเดือด ร้อนจากผลของการกระทำ ควรจะศึกษาระเบียบต่าง ๆ มาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นกฎ กพ. พรบ. ที่ต้นสังกัดอยู่ พรบ. ข้าราชการครู พรบ. การศึกษา พรบ. พลเรือนในมหาวิทยาลัย หรือระเบียบ ข้าราชการพลเรือน ดังภาษิตโบราณของไทยที่ว่า ซื่อกินไม่หมด คตกินไม่นาน ก็ยังสามารถนำมาใช้กับชีวิตทุกวันนี้ของเราได้อยู่เสมอ นางสาวเยาวลักษณ์
ศิริสุวรรณ
เรียบเรียง |