กระแสสุดฮิต ชีวิต Slow life
โดย...คุณวรษา   แสงทอง
นักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ต.มาบแค อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม
อีเมล์ : worasa62@gmail.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)



Slow life คืออะไร
          Slow life คือวิถีชีวิตแบบช้าๆ ไม่ได้หมายความว่า ให้ใช้ชีวิตแบบเฉื่อยๆ นอนตื่นสายไม่ต้องไปทำงาน แต่หมายถึง การใช้ชีวิตที่ย้อนกลับไปสู่ความเรียบง่าย เบรกตัว
เองจากความเร่งรีบ ถอยห่างจากระบบอุตสาหกรรมและโลกทุนนิยม แล้วหันมาพึ่งพิงสิ่งใกล้ตัว เพื่อตัวเราเองและเพื่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันซึ่งหนึ่งในผู้บุกเบิกการใช้ชีวิต
แบบ Slow Life จนแพร่หลายไปทั่วโลกได้แก่ Leo Babauta บล็อกเกอร์และนักเขียนชื่อดังชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งเว็บบล็อก Zen Habits ได้บอกกล่าวไว้ในหนังสือที่โด่งดัง
ติดอับดับbest sellerขายดิบขายดีเรื่อง The Power Of Less

Leo Babauta
ภาพจาก Web Site

http://www.oknation.net/blog/surasakc/2013/05/28/entry-1

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 16-11-58

ซึ่งมีเนื้อหาว่าหากอยากใช้ชีวิตslow life ควรเริ่มต้นจาก10ข้อนี้
          1.ทำให้น้อยลง
             แทนที่จะทำหลายๆอย่างในเวลาพร้อมๆกัน ให้เลือกทำสิ่งสำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียวและเก็บเรื่องอื่นๆไว้ก่อน แบ่งเวลาให้ตัวเองหยุดหายใจบ้าง

ภาพจาก Web Site
http://teen.mthai.com/wp-content/uploads/2015/04/large-6.jpg

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 16-11-58

          2.อยู่กับปัจจุบัน
              ไม่เพียงแต่ทำชีวิตให้ช้าลง แต่ต้องมีสติอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ให้มากที่สุด
          3.เบรกตัวเองจากโลกออนไลน์สักพัก
              ลองปิดมือถือหรืออุปกรณ์ไฮเทคทุกอย่างสักพัก เปิดโอกาสให้ตัวเองมีเวลาเห็นและรับรู้สิ่งรอบตัวที่เคยมองข้ามไปบ้าง แค่นี้ก็ได้สัมผัสคำว่าชีวิตได้มากขึ้นอีกนิดแล้ว
          4.สนใจคนรอบข้างอย่างจริงจัง
             เนื่องจากมีเทคโนโลยีและการสื่อสารผ่านโลกออนไลน์เข้ามาแย่งพื้นที่ จากที่ควรจะนั่งสบตาและพูดคุยกันอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เราก็กลับทำเพียงฟังในสิ่งที่เขาพูด
และคอยหาจังหวะพูดในสิ่งที่อยากพูดกลับไป ฉะนั้นใส่ใจเพื่อน ครอบครัว และคนรอบข้างให้มากขึ้น

ภาพจาก Web Site
http://www.jaisabai.com/content/files/content/jaisabai_clinic/20140206144604_thumb.jpg

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 16-11-58

          5.ซึมซับธรรมชาติให้มากขึ้น
             เพียงแค่เราใส่ใจธรรมชาติมากขึ้น เปิดโอกาสให้ตัวเองเดินย่ำเท้าบนพื้นหญ้า ให้สายลมพัดพาผมให้ปลิว ให้ผิวได้รับวิตามินดีจากแสงแดด ออกไปทำกิจกรรม
กลางแจ้งโดยที่ไม่จำเป็นต้องเก็บเสื้อผ้าแล้วออกเดินทางไปหาธรรมชาติจากที่ไกล ๆ ให้เหนื่อยเลย

ภาพจาก Web Site
http://image.dek-d.com/25/2824460/110245790

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 16-11-58


          6.รับประทานอาหารให้ช้าลง
             แค่ปรับวิถีการเคี้ยวอาหารให้ช้าลงเพื่อรับรู้ความอร่อยของรสอาหารบ้างก็มีความสุขมากขึ้นเยอะแล้ว อย่างน้อยระบบย่อยอาหารของเราก็ไม่ต้องเร่งจนเหนื่อย ภายใน
ร่างกายสมดุลขึ้น ชีวิตก็สมบูรณ์แบบได้

ภาพจาก Web Site
http://www.healthmee.com/images/forum/255610/car_07111559.jpg

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 16-11-58


          7.ขับรถให้ช้าลง
             อาจตื่นให้เช้าขึ้นอีกหน่อย นอกจากจะทำให้ความเครียดลดน้อยลง ยังช่วยลดอุบัติเหตุด้วยและเปิดเพลงเบาๆ เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ แวะในจุดที่อยากแวะแต่ไม่เคย
ได้ทำ เปิดประสบการณ์ชีวิตให้ตัวเองเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง

ภาพจาก Web Site
http://www.health4win.com/private_folder/Furn/aa88.jpg

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 16-11-58


          8.โลกสวยด้วยมุมมอง
             ง่าย ๆ แค่ทำอะไรให้ช้าลงอย่างมีสติ ทำด้วยความสุขและความเต็มใจ แล้วคุณจะเห็นด้านดีๆจากสิ่งรอบตัววันละนิดละหน่อย เปลี่ยนโลกหม่นๆให้กลายเป็นโลกที่สวย
สดใส
          9.ทำทีละอย่าง
             เรามีแค่ 1 สมอง กับ 2 มือเท่านั้น ดังนั้นอย่าบังคับตัวเองให้ทำอะไรพร้อมกันหลายๆ อย่างจับของสิ่งเดียวด้วยสองมือยังไงก็ชัวร์กว่าแยกอีกมือไปจับของอื่นๆ ในเวลา
เดียวกันนะ

          10.การสูดหายใจเข้าลึกๆ
              เมื่อไรที่รู้สึกว่าเร่งรีบและเหนื่อยหอบ เรามาทำชีวิตให้ช้าลงและเพียงแค่อยู่นิ่ง ๆ แล้วสูดลมหายใจเข้าปอดลึก ๆ ยาว ๆ สติที่บินหายไปก็จะเริ่มกลับมา ความเครียด
ความโกรธ และความเหน็ดเหนื่อยก็จะหายไป รับรองว่าจะผ่อนคลายได้อย่างเหลือเชื่อ

ภาพจาก Web Site
http://www.trongdee.com/home/wp-content/uploads/2015/07/2015-07-16-2.jpg

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 16-11-58


          ดังนั้นคนที่กำลังประสบกับความเครียด มีโรคภัยที่รุมเร้าหรือแม้แต่คนธรรมดา ลองปรับเปลี่ยนมาใช้ชีวิตให้ช้าลง ชีวิตที่เนิบช้าจะช่วยให้มีเวลากับตัวเองมากขึ้น อยู่อย่าง
มีสติ ใส่ใจในรายละเอียดรอบตัว นำไปสู่การสร้างความสมดุลให้ร่างกายและจิตใจ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น





เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................

- http://health.kapook.com/view121714.html
- http://www.oknation.net/blog/surasakc/2013/05/28/entry-1
- http://www.jr-rsu.net/article/1309