ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อป่วยเป็นไข้หวัด
โดย...คุณธนะพัฒน์   เพชรกล่อง
อาชีพปัจจุบัน แพทย์ประจำคลินิกชุมชนอบอุ่นเทศบาลนครแม่สอด
ต.แม่สอด  อ.แม่สอด  จ.ตาก
อีเมล์ : phetklong2011@gmail.com

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)


          เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว หลายคนก็มักจะเดินทางไปท่องเที่ยวทางตอนบนของประเทศไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือหรือภาคอีสาน เพื่อสัมผัสกับอากาศหนาวเย็น และสายหมอก แต่ถ้า
ร่างกายไม่พร้อมไม่แข็งแรงพอก็อาจจะเจ็บป่วยไม่สบายได้ เนื่องจากช่วงที่อากาศเย็นจะมีเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด หรือแม้แต่ไข้อีสุกอีใส
จะปะปนมากับอากาศมากกว่าช่วงฤดูอื่น และแพร่กระจายได้ดีในสภาพอากาศที่เย็น ซึ่งอาการเริ่มต้นของโรคกลุ่มนี้จะคล้ายๆกันในช่วงแรก เมื่อร่างกายไม่สบายจะทำให้เป็น
อุปสรรคในการเดินทางท่องเที่ยว วันนี้เรามารู้จักกับโรคไข้หวัด หรือจะเรียกสั้นๆว่าไข้หวัดกัน ว่ามีลักษณะการดำเนินของโรคอย่างไร แล้วเราเองจะมีการป้องกันและดูแล
รักษาตนเองเบื้องต้นกันได้อย่างไรบ้าง

ภาพจาก Web Site
http://www.toptenthailand.com/review/detail/20140716155000560
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-11-58


          เชื้อโรคที่ทำให้เป็นไข้หวัด เราจะเรียกสั้นๆว่า เชื้อหวัด เชื้อหวัดเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งแต่มีหลายสายพันธุ์ เมื่อเป็นแล้วจะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดเฉพาะ
ชนิดใดเพียงชนิดหนึ่งเท่านั้น แต่เมื่อติดเชื้อตัวใหม่เข้าไปก็สามารถป่วยซ้ำได้ ดังนั้นคนเราจึงเป็นไข้หวัดได้บ่อย โดยเฉพาะเด็กเล็กซึ่งมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดน้อยกว่าผู้ใหญ่
ดังนั้นจึงมีโอกาสเป็นไข้หวัดได้บ่อยและมักจะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่เพิ่งเข้าโรงเรียนใน 1-2 ปีแรก จะรับเชื้อหวัดจากเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ทำให้เป็น
หวัดบ่อยมาก(บางรายอาจเป็น 6-8ครั้ง/ปี ) ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ฆ่าเชื้อกลุ่มนี้อย่างได้ผล การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการยกเว้นเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนอาจมีการ
รักษาที่จำเพาะมากขึ้น

ภาพจาก Web Site
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bm521/
pantipa09_1/Virus/birdflu.htm

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-11-58

          ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น (ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ได้แก่ จมูกและคอ) ติดต่อกันได้ง่ายด้วยการอยู่ใกล้ชิดกันกับคนที่ป่วยเป็นไข้หวัด เราจะได้รับ
เชื้อโรคจากละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอ จามหรือหายใจรดกัน

ภาพจาก Web Site
http://kengkadeng.exteen.com/20090724/entry
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-11-58

          อาการของไข้หวัด ได้แก่ ตัวร้อน มีไข้ คัดจมูกน้ำมูกไหล แสบตา และไอ ที่เราๆชอบเรียกว่าอาการหวัด นอกจากนี้บางรายอาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ไม่สบายตัว
อ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาการมักไม่รุนแรง

          การดูแลเมื่อเป็นไข้หวัด การรักษาไข้หวัดไม่มียาที่รักษาโดยเฉพาะที่อย่างได้ผล และส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงการดูแลรักษาจึงประกอบไปด้วย
การพักผ่อนให้เพียงพอ
กินอาหารที่มีประโยชน์ (เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค)
ใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น ไม่ควรเปิดแอร์ให้เย็นเกินไป,ไม่เปิดพัดลมเป่าให้ตรงตัว
ไม่ควรอาบน้ำเย็น เนื่องจากการอาบน้ำเย็นจะทำให้มีอาการหนาวสั่นมากขึ้น ถึงแม้ตัวจะร้อนก็ควรอาบน้ำ ด้วยน้ำอุ่น
ควรดื่มน้ำมากๆ (อาจเป็นน้ำเปล่า น้ำส้มคั้น น้ำผลไม้ น้ำเกลือแร่ ก็ได้) เพื่อให้เสมหะละลาย เหลวพอ ที่จะช่วยร่างกายให้ไอออกมาทิ้งง่ายๆ ,การดื่มน้ำมากขึ้นจะเป็นตัวช่วย
ระบายความร้อนอีกทางหนึ่งด้วย และทำให้ร่างกายไม่อ่อนเพลีย
ถ้าเบื่ออาหารให้กินน้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำข้าวต้ม ทีละน้อย แต่บ่อยๆเพื่อให้ร่างกายไม่เพลีย
ถ้ามีไข้ กินยาลดไข้ ครั้งละ 1-2 เม็ด (ในเด็กใช้พาราเซตามอล ชนิดน้ำเชื่อมครั้งละ ครึ่ง-2 ช้อนชาตามน้ำหนักตัว : โดยประมาณ 1 ช้อนชาต่อน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัม

          หมายเหตุ : ยาพาราเซตามอลดังกล่าวคควรมีปริมานยา 120 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ทางที่ดีควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ ที่มีความรู้ก่อนการใช้ยา ) ถ้ายังมีไข้ให้กินซ้ำได้ทุกๆ
4-6 ชั่วโมงร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้
ถ้ายังมีไข้สูงติดต่อกันมากกว่า 3 วัน ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพราะไข้ที่เป็นมากกว่า 3วันอาจะไม่ใช่ไข้หวัดก็ได้ ที่ต้องระวังมากที่สุดคือโรค
ไข้เลือดออก
เมื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ อาการตัวร้อนควรจะหายเกือบเป็นปกติ ภายใน 3-4 วัน (อย่างมากไม่เกิน 7 วัน) แต่อาจมีน้ำมูกหรือไอต่อไปอีก 1-2 สัปดาห์
ถ้าอาการทั่วๆ ไปเป็นปกติดี กินได้น้ำหนักไม่ลด ก็ไม่ต้องตกใจ ร่างกายจะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง
ยาปฏิชีวนะ ไม่มีความจำเป็นในการรักษาไข้หวัดแต่อย่างไร เพราะไม่ได้กำจัดเชื้อหวัด (และไวรัสทุกชนิด) แต่อย่างไรก็ตาม ยานี้จะมีประโยชน์ต่อเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียเข้าไป
แทรกซ้อนภายหลัง

          อาการแทรกซ้อนที่ควรสังเกตและต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาเพิ่มได้แก่
ถ้าไอมาก หายใจผิดปกติเช่น หายใจเร็ว หรือหอบ หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม หรือหายใจมีเสียงดัง ในเด็กเล็กถ้ามีอาการซึม ไม่ดูดนม อาจเป็นโรคปอดบวม โรคหลอดลม
อักเสบ หรือหลอดลมฝอยอักเสบ
ถ้ามีอาการเจ็บคอมาก
ปวดในหู หูอื้อ หรือหูน้ำหนวกไหล
ผื่นขึ้นตามร่างกาย
กินยาลดไข้ไม่ได้
อาการไข้เป็นนานมากกว่า 3 วันขึ้นไปเพราะอาจเป็นโรคไข้เลือดออกได้

          การป้องกัน
พยายามหลีกเลียงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัด
ล้างมือทุกครั้งก่อนกินอาหาร
รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
กินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะการกินอาหารที่เป็นประโชยน์จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3-4วันต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งนาน 30-45 นาที การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันต่อโรคมากขึ้น

เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถลดการเจ็บป่วยจากไข้หวัด,สามารถดูแลตนเองและคนที่เรารักจากการเจ็บป่วยจากไข้หวัดได้



เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................