นำท่องเที่ยวไทยสู่ AEC
โดย...นายเมธี   ปิยะคุณ
ข้าราชการเกษียณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)


          ในประเทศอาเซียนกำลังจับจ้องจุดเปลี่ยนผ่านถือว่าเป็นโอกาสต่ออุตสาหกรรมต่างๆโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมที่มีความ
เข้มแข็งและสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศจนกลายเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการที่จะขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ตามพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คำว่า
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความหมายกว้าง หมายถึงธุรกิจนำเที่ยวจะเป็นธุรกิจโรงแรมรวมถึงภัตตาคาร สถานบริการแล้วก็สถานที่ตากอากาศรวมทั้งการขายของที่ระลึกหรือ
สินค้าสำหรับนักท่องเที่ยว การกีฬาสำหรับนักท่องเที่ยว แล้วก็การจัดประชุมนานาชาติ งานนิทรรศการงานออกร้านการโฆษณาเผยแพร่ สิ่งต่างๆที่กล่าวมานี้ถือรวมเป็นอุตสาหกรรม
การท่องเที่ยว


ภาพจาก Web Site
http://www.tlcthai.com/travel/wp-content/uploads/2014/01/page_87.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-12-59


          ปัจจุบันก็มีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย ในจังหวัดภูเก็ต เฉพาะคนต่างชาติเข้ามาทำงานเช่น ชาวเมียนมาร์ ชาวอินเดีย ชาวฟิลิปปินส์เข้ามากเพราะสามารถ
ทำรายได้ให้กับส่งประเทศมาก มาทำในลักษณะงานที่อยู่บนเรือ เรือยอร์จอะไรต่างๆ เขาใช้ภาษาเพราะชาวต่างชาติ ส่วนชาวอินเดียก็จะมาทำหน้าที่เป็นพนักงานบัญชีตามโรงแรม
ต่างๆ สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดี สิ่งสำคัญ ณ เวลานี้ชาวต่างชาติก็เข้ามาอยู่ในประเทศไทยมากพอสมควร คืออีกสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจท่องเที่ยวที่จะนำไปสู่ในสิ่งที่ดี
ดีที่เกิดขึ้นในบ้านเรา คือการแข่งขัน ถ้ามองอนาคตของการท่องเที่ยว องค์การการท่องเที่ยวโลกมองไกลเข้าไปอีก คาดการณ์ว่าในประมาณอีกห้าหกปี คือเมื่อถึงปีพ.ศ. 2563 จะ
มีนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศประมาณ 1600 ล้านคน โดยมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่ยอดนิยมคือในเอเซียนตะวันออก เขาคาดการณ์ไว้ในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เป็น
เป้าหมายสำคัญ สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยส่วนใหญ่ ณ เวลานี้มาอยู่ในสองลักษณะคือ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรม


ภาพจาก Web Site
http://images.thaiza.com/37/37_20150123100638..jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-12-59


          เชิงสุขภาพก็แถวพวกเศรษฐีน้ำมันกลุ่มประเทศชาติอาหรับ เขามากันทั้งครอบครัว พ่อสมมุติเข้ารักษาที่โรงพยาบาลส่วนแม่ลูกก็เดินทางท่องเที่ยว หรือพ่อรักษาเสร็จก็เดิน
ทางท่องเที่ยวเป็นกลุ่มไปยังจังหวัดต่าง ๆ แค่เฉพาะภาพรวมในปัจจุบันมีความเข้มแข็งแล้วคราวนี้จุดแข็งของไทยในด้านการท่องเที่ยวที่ได้เปรียบประเทศอื่น ๆ มีอะไรบ้าง คือ
อัธยาศัยไมตรีอันดีของคนไทย ที่ตั้งเป็นจุดศูนย์กลาง มีการให้บริการที่ต่างชาติชื่นชอบเรื่องของโรงแรม เรื่องของอาหารหลากหลาย มีโครงสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็ง ระบบธนาคาร
เกี่ยวข้องการเงิน เวลาเบิกเวลาโอนคล่องตัวบ้านเรามีตรงนี้ แล้วก็มีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่มีชื่อเสียง การมีประวัติศาสตร์และวัฒนะธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และเรื่องอาหารการกิน
ต่างๆไม่น้อยหน้ากว่าชาติอื่น สิ่งสำคัญคือมุ่งเน้นการให้บริการที่เป็นมิตรและอบอุ่นดั่งญาติมิตร คือจุดแข็งที่ชาติในอาเซียนอื่น ๆ ยังด้อยยังสู้บ้านเราไม่ได้แต่อีกหน่อยไม่แน่
          สิงคโปร์เป็นประเทศที่น่ากลัวมาก มาเลเซียก็เป็นประเทศที่น่ากลัวมากในส่วนเกี่ยวกับการเปิดเสรีในด้านการท่องเที่ยวตามกรอบของ AEC คาดว่าจะมีผลกระทบ คาดว่า
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเอเซียนจะเพิ่มขึ้นเป็น 120ล้านคน ในปี อาเซียนจะต้องก้าวขึ้นเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก รวมทั้งดึง
ดูดการลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องหลั่งไหลเข้ามาในภูมิภาคนี้มากขึ้นแน่นอน คือต้องตั้งรับให้ดีจะเป็นโอกาสในภาคการท่องเที่ยวของไทย
มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นอย่างแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือสิ่งที่จะต้องตั้งรับธุรกิจมีกี่สาขา เป็นการเปิดเสรีบริการด้านต่างๆที่จัดอยู่ในสาขาที่เร่งรัดการรวมกลุ่มเขาเรียกอย่างนี้
สาขาคอมพิวเตอร์ สาขาโทรคมนาคม บริการสุขภาพ ขนส่งทางอากาศ ขนส่งและการท่องเที่ยว กำหนดให้มีการยกเลิกเงื่อนไขต่างๆที่เป็นข้อจำกัดทั้งหมด ในอาเซียนทั้งหมดให้
ยกเลิกให้ทุกอย่างคล่องตัวหมด และสามารถที่จะมาแบ่งปัน สามารถที่จะมาสร้างเครือข่ายกัน


ภาพจาก Web Site
http://finddemy.com/uploads/contents/20160704150446cXT1BZn.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-12-59


          ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวของไทย คิดว่าควรจะปรับปรุงกลยุทธ์ มีอยู่สองวิธีการที่สำคัญคือ เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดแล้วก็อาศัยจุดแข็ง การบริการดั่งญาติมิตร จัดบริการ
ด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ออกแบบของในลักษณะของการให้บริการประหยัดพลังงาน และใช้พลังงานจากธรรมชาติมากที่สุด และบริการด้านการท่องเที่ยวเชิง
สุขภาพ ณ เวลานี้เราเป็นรองจากสิงคโปร์ บริการด้านเชิงสุขภาพ กลยุทธ์ต้องเน้นสองสิ่งนี้เป็นจุดขายที่แตกต่าง นำจุดแข็งของมาใช้ตรงนี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด การเพิ่มส่วน
แบ่งการตลาดครอบคลุมส่วนแบ่งการตลาดในแง่ของที่ต้องเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับประเทศต่างๆ เช่น เวียดนาม ลาว ฟิลิปปินส์ ทั้งสามประเทศยังไม่รุนแรงนัก ต้องไปสร้าง
พันธมิตรเพื่อสร้างเครือข่าย จัดทำตลาดร่วมกัน ประกอบกิจการตรงนี้โดยใช้เงินทุน เทคโนโลยีหรือบริการที่ครบวงจรนะร่วมกัน นี่คือส่วนแบ่งการตลาดาน่าจะไปหยิบยื่นและไปใช้
ตรงนี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


ภาพจาก Web Site
http://thmdusit.dusit.ac.th/dusit1/images/stories/demo1/sl-02.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-12-59


          ประโยชน์จาก AEC ด้านการท่องเที่ยว เพื่อที่จะขยายตลาดไปสู่ประเทศอื่นๆในอาเซียนคือการแข่งขันก็เป็นส่วนหนึ่ง การสร้างพันธมิตรก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องไปจับมือร่วมกับ
เขาเตรียมความพร้อมของการท่องเที่ยวไทยควรจะเริ่มจากวางนโยบายในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ชัดเจน คือกำหนดนักท่องเที่ยว กลุ่มเป้าหมาย ไม่จำเป็นต้องรับมาก แต่มี
นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ต้องการจะเข้ามารักษาในบ้านเรา ก็กำหนดระดับนี้ขึ้นมาอาศัยความร่วมมืออาศัยในลักษณะของประชาสัมพันธ์การทำตลาด
มืออาชีพ สุดยอดของด้านนี้ให้เป็นที่ประจักษ์ แล้วเขาก็จะเดินทางเข้ามาหาเรา แล้วก็ทำตลาดท่องเที่ยวทั้งตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศ เช่น ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
ว่าให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคแห่งนี้ในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ใช้พลังงานธรรมชาติ เป็นจุดขายที่แตกต่างจากประเทศอื่น
สร้างตราสินค้าไทย การบริการที่ประทับใจด้วย และความเป็นคนไทย อาหารไทย การนวดแผนไทยต้องมาประเทศไทย ของที่ระลึกสำคัญสร้างรายได้ระดับต้นๆ เป็นสัญญาลักษณ์
แสดงออกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย และแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความชัดเจน ในแง่ของการเรียนการสอนทางด้านวิชาการท่องเที่ยว ต้องพัฒนาหลักสูตรในสายวิชาชีพ ให้สร้าง
บุคลากรระดับปฏิบัติการให้มี มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานได้ทันทีเมื่อจบการศึกษา จัดตั้งองค์กรความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนธุรกิจร่วมมือกัน ให้เกิดเป็น
รูปธรรม โดยเฉพาะทำฐานข้อมูลสำหรับการบริการด้านการท่องเที่ยวให้เกิดความชัดเจน ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายต่างๆที่ล้าสมัย ให้เป็นกฎหมายที่สามารถที่จะเปิดแข่งขันกัน
ระหว่างประเทศได้สิ่งนี้สำคัญทุกคนต้องสามารถสื่อสารได้มากกว่า 2 ภาษา ได้อย่างคล่องแคล่วและมีความ


ภาพจาก Web Site
http://s10.postimg.org/vh4mf5s8p/image.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 20-12-59


          ยุทธศาสตร์หลักของการพัฒนาความร่วมมือรับทางเศรษฐกิจและสังคม ตามเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงมีพลังทางเศรษฐกิจ
สูง ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องสร้างความเข้าใจสร้างความภูมิใจในทุกๆ คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความประทับใจให้เกิดขึ้น
ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเติบโตได้อย่างยั่งยืน



นางสาวอุษณีย์  โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
กลุ่มรายการที่ 4/20-57
CD-A4(2/3)-57