เบาหวานขึ้นจอประสาทตา
โดย...รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ศักดิ์ชัย  วงศ์กิตติรักษ์
หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)

          ความหมายของคำว่า เบาหวานขึ้นตาโรคเบาหวานเป็นโรคที่มีคนเป็นมาก เขามีการประมาณกันว่าในประเทศไทยอาจจะมีคนเป็นหลายล้านคน ซึ่งเบาหวานจะทำให้เกิดภาวะ
แทรกซ้อนต่างๆขึ้นมากับระบบร่างกายทั้งหมด เพราะว่าตัวเบาหวานจะไปทำให้เส้นเลือดเล็กๆในร่างกายเสียสภาพไป เพราะฉะนั้นอวัยวะที่มีความไวต่อความเสียหายจะเกิดการเสีย
คงเคยได้ยินเรื่องของไตวายจากเบาหวาน แขนขาปลายมือปลายเท้าชาจากเส้นประสาทเสียจากเบาหวาน เรื่องสำคัญมากคือเบาหวานขึ้นตาหรือขึ้นจอตา เบาหวานอาจจะเกิดภาวะ
แทรกซ้อนทั้งในระยะเฉียบพลัน และระยะเรื้อรังกับดวงตา ระยะเฉียบพลัน เช่น หลายท่านที่เป็นเบาหวานและควบคุมเบาหวานไม่ได้หมายถึงน้ำตาลสูง เช่น 200,300 อย่างคงมี
ประสบการณ์เรื่องตามัว คือ วันนี้มัวมาก วันพรุ่งนี้มัวน้อย ขึ้นกับน้ำตาลสูงมาก็มัวมาก สูงน้อยก็มัวน้อย อันนี้เนื่องจากว่าน้ำตาลมันเข้าไปอยู่ในเลนส์แก้วตาของคนไข้ และทำให้
เปลี่ยนสายตาของคนไข้เช่น วันนี้อาจจะกลายเป็น ตาสั้น200 พรุ่งนี้สั้น 250 อะไร อย่างนี้ เนื่องจากน้ำตาลยังไม่นิ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของตาแบบทันทีทันใด แต่สิ่งที่กลัวมากกว่า
ก็คือ ภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรังซึ่ง คือ โรคเบาหวานขึ้นจอตาหรือจอประสาทตา


ภาพจาก Web Site
http://cl.lnwfile.com/_/cl/_raw/ga/rd/2v.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-12-59

          เพราะว่าจอประสาทตาของมนุษย์ ก็คือทำหน้าที่คล้ายฟิล์มของกล้องถ่ายรูป ซึ่งจะมีเส้นเลือดเล็ก ๆ มาเลี้ยง เพื่อทำหน้าที่ในการรับภาพแล้วก็ส่งเข้าไปในสมองเพื่อทำให้เรา
เห็นภาพ คนที่เป็นเบาหวานมานานๆย้ำว่าเป็นมานานๆ แล้วก็การควบคุมน้ำตาลไม่ดี ไม่ว่าจะน้ำตาลสูงหรือน้ำตาลสวิงมากๆ จะมีโอกาสที่จะทำให้เส้นเลือดที่จอตาผิดปกติ และก็
เป็นต้นเหตุที่จะทำให้ตาบอดอย่างถาวรได้ ซึ่งพบค่อนข้างเยอะมากเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากระดับความรุนแรงของคนที่เป็นเบาหวานขึ้นจอประสาทตามีหลายระดับ โรค
เบาหวานขึ้นจอตาแล้วที่น่ากลัวคือเวลาเป็นในระยะแรกๆ คนไข้ไม่มีอาการไม่ทราบต้องมาตรวจกับคุณหมอตา คนเป็นเบาหวานทุกวันนี้ทางคุณหมอที่รักษาเบาหวานหรือตัวคนไข้
เอง ควรจะต้องทราบว่าอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งที่จะต้องไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจว่าเบาหวานขึ้นจอตาแล้วหรือยัง
          เบาหวานขึ้นจอตาจะแบ่งออกเป็นสองระยะที่สำคัญ ระยะแรกก็คือการยังไม่ขึ้นไม่มีอะไร ระยะที่สองคือเป็นการขึ้นในระยะต้น คือเบาหวานขึ้นตาชนิดระยะต้น ส่วนใหญ่ระยะนี้
มักจะยังไม่ทำให้ตามัว ถ้าคนไข้ไม่ไปตรวจกับคุณหมอตาอาจจะไม่ทราบ แต่ถ้าเบาหวานลุกลามไปจนถึงระยะที่สอง คนไข้ส่วนใหญ่ก็ยังจะไม่ตามัวนะครับแต่ถึงระยะนี้จำเป็นที่จะ
ต้องยิงเลเซอร์ป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปกว่านี้ เพราะว่าถ้าโรคลุกลามไปมากกว่านี้ เส้นเลือดที่จอประสาทตาแตกหรือดึงจอประสาทตาหลุดคนไข้จะมองไม่เห็นซึ่งถึงตรงนั้นการ
รักษาด้วยการผ่าตัดจะทำได้ยาก แล้วก็ผลสำเร็จจะค่อนข้างต่ำมาก เพราะฉนั้นโดยทั่วไปแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองเสมอเป็นประจำเพื่อเฝ้าระวังตั้งแต่ระยะที่ยังไม่มีเบาหวาน
ขึ้นจอตาจนถึงขึ้นระยะต้นแล้วพอขึ้นถึงระยะกลางที่ว่าต้องยิงเลเซอร์ ต้องยิงเลเซอร์สกัดเสียก่อนที่คนไข้จะตาบอดไป


ภาพจาก Web Site
http://cg.lnwfile.com/_/cg/_raw/fz/ip/on.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-12-59

          คราวนี้คนที่จะมีโอกาสเสี่ยง ต่อการเป็นเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นกลุ่มคนประเภทไหนบ้างโรคเบาหวานมีแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือเบาหวานที่เป็นชนิดเป็นกรรมพันธุ์
แล้วก็พบตั้งแต่อายุน้อยๆ อาจจะเป็นเด็กอายุแค่สิบขวบสิบกว่าขวบก็เป็นแล้ว กับกลุ่มที่เยอะที่สุดก็คือกลุ่มที่เป็นเบาหวานหลังจากอายุเยอะขึ้น อาจจะหลังตั้งแต่สามสิบสี่สิบไปแล้ว
ซึ่งก็คือเป็นคนไข้เบาหวานส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้าเป็นกลุ่มแรกก็คือกลุ่มที่เป็นเบาหวานตั้งแต่อายุน้อย ส่วนใหญ่
ภายในห้าปีแรกไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อนที่ดวงตา เพราะฉะนั้น
ตาม มาตรฐาน เบาหวานชนิดเป็นในอายุน้อยคือเป็นเบาหวานตั้งแต่อายุก่อนสามสิบ หลังจากเป็นครบห้าปี ถึงจำเป็นที่จะต้องไปเริ่มตรวจกับจักษุแพทย์ปีละครั้ง แต่ส่วนคนที่เป็น
เบาหวานชนิดที่สองก็คือ เป็นเบาหวานในคนอายุเกินสามสิบขึ้นไป อันนี้โอกาสที่เป็นเบาหวานขึ้นจอตาได้ตั้งแต่ตอนตรวจพบว่าเป็นเบาหวาน เพราะฉะนั้นถือว่าทุกคนที่เป็นเบาหวาน
มีความเสี่ยงที่เบาหวานจะขึ้นจอตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีความเสี่ยงเยอะคือ เป็นเบาหวานมานานหลายปี ยิ่งเป็นมานานหลายปีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จอตาจะ
สูงขึ้นเทียบกับคนเป็นใหม่ๆ อันที่สองระดับน้ำตาลที่ควบคุมได้ เช่น ควบคุมน้ำตาลไม่ได้เลย หรือมีการสวิงของน้ำตาลมาก เดือนนี้ไปตรวจสองร้อยกว่า เดือนนี้ไปตรวจเหลือ
ร้อยแปดสิบ การที่สวิงมากจะยิ่งทำให้ความเสี่ยงในการเบาหวานขึ้นจอตาเยอะขึ้นอันที่สามคืออาจจะมีโรคประจำตัวร่วมอื่นๆนะครับ เช่นเป็นโรคหลอดเลือดไม่ดีอยู่แล้วเป็นโรค
ความดันโลหิตสูงอะไรอย่างนี้ ก็อาจจะมีผลทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานขึ้นจอตาได้เร็วกว่าคนที่ไม่มีภาวะมีโรคอื่นๆ ซ้ำซ้อนกันอยู่ สรุปว่าทุกคนที่เป็นเบาหวานถือว่ามี
ความเสี่ยงในการที่จะต้องไปตรวจจอตากับจักษุแพทย์ปีละครั้ง


ภาพจาก Web Site
http://siamhealth.net/public_html/images/eye/vitreous.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-12-59

          สัญญาณเตือนสำหรับคนที่มีอาการเบาหวานขึ้นจอประสาทตา อย่างที่ว่ามีความน่ากลัวมากๆของโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา บางทีคนไข้ไม่รู้สึกตัว วันร้ายคืนร้ายจนถึงขั้น
เส้นเลือดผิดปกติ มากจนเส้นเลือดมันแตกหรือไปดึงจอประสาทตาหลุด คนไข้ถึงรู้ว่าตามัว เพราะฉะนั้นคนไข้อาจจะไม่รู้เลยก็ได้จนถึงวันที่ตามองไม่เห็น ถ้าเรามองที่ดวงตาเวลา
เราส่องกระจกเราจะไม่เห็นอาการผิดปกติ ไม่เห็นเลยครับเพราะว่าเรามองไม่ไปถึงจอประสาทตาของคน เพราะว่าจอประสาทตา ถ้าเปรียบเทียบข้างในลูกตาเรากลมๆนะครับ จอ
ประสาทตาเป็นเหมือนวอลเปเปอร์ด้านใน ต้องมองผ่านตาดำเข้าไปนะครับ ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าเราไปมองตาคนข้างๆตอนนี้ก็จะเห็นแต่สีดำๆนะครับ เรามองไม่เห็นจอประสาทตาเพราะ
ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการตรวจ
          ขั้นตอนการรักษาเบาหวานยังไม่ขึ้นตาหรือขึ้นในระยะต้น คือ การดูแลของคุณหมอตาก็คือจะนัดมาดูเป็นระยะโดยทั่วไปก็อาจจะประมาณหกเดือนหรือหนึ่งปีต่อครั้ง คือจะมี
การหยอดยาขยายม่านตาเพื่อจะได้ตรวจจอประสาทตาให้ เพราะฉะนั้นแนะนำว่าถ้าเวลาจะไปตรวจเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เนื่องจากการหยอดยาขยายม่านตาจะทำให้ตามัว แล้ว
ก็จะใช้เวลาซัก อย่างน้อยก็ซักชั่วโมงสองชั่วโมง เพราะฉะนั้นอาจจะต้องเตรียมตัวไว้ว่า มีเวลาแล้วก็อาจจะต้องพาคนไปเป็นเพื่อนเพราะว่าหลังจากหยอดยาขยายม่านตาเสร็จบางคน
อาจจะมีตาพร่ามัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาออกมาเจอแสงแดด อยู่หลายชั่วโมงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นปลอดภัยไว้ก่อนก็มีคนไปเป็นเพื่อนจะดี ถ้าเบาหวานขึ้นตาถึงระยะที่เรียกว่า
ระยะกลาง คุณหมอจะให้คำแนะนำในการไปยิงเลเซอร์จอประสาทตา เพื่อจะพยายามสกัดไม่ให้เบาหวานลุกลามต่อไป จริงๆการยิงเลเซอร์ไม่ได้เจ็บอะไร ก็เป็นการนั่งแล้วก็อยู่หน้า
เครื่องแล้วก็ เป็นการฉายแสงเลเซอร์ดีกว่าจะได้ไม่ดูน่ากลัว ถ้าระยะนี้ฉายแสงเลเซอร์แล้วเราสกัดอยู่ก็ติดตามการรักษาต่อไป


ภาพจาก Web Site
http://www.paolohospital.com/home/wp-content/uploads/2015/11/info_%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%
A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2-1.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-12-59

          สมมุติสกัดไม่อยู่หรือเราไม่ได้มาตรวจจนกลายเป็นมีเส้นเลือดจอประสาทตาแตก หรือดึงจอประสาทตาหลุดต้องใช้การผ่าตัด ซึ่งผลการผ่าตัดก็จะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ถ้ากรณีที่
โรคเบาหวานลุกลามไปจนถึงขั้นเส้นเลือดผิดปกติที่เกิดขึ้นแตกหรือไปดึงจอประสาทตาหลุด อันนี้จะต้องใช้การผ่าตัดนะครับ ซึ่งการผ่าตัดค่อนข้างจะยุ่งยากซับซ้อน แล้วก็ผลการ
ผ่าตัดก็ไม่ค่อยดีมากนัก คนไข้ก็อาจจะยังมองเห็นไม่ดี ปัจจุบันก็ยังมีเทคโนโลยีการแพทย์ที่ดีขึ้น มีการฉีดยาที่ช่วยลดเส้นเลือดผิดปกติเข้าไปในดวงตา ก็อาจจะให้ผลในการผ่าตัด
ได้ดีขึ้นกว่าสมัยก่อนที่ใช้การผ่าตัดอย่างเดียว แต่ก็ยังไม่ดีสู้การป้องกันโดยการยิงเลเซอร์เมื่อรู้ว่าเบาหวานขึ้นตาในระยะกลางๆซะตั้งแต่ต้น โดยทั่วไปเนื่องจากโปรเซสหรือกระบวน
การในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดพร้อมกันทั้งสองตานะครับ เพราะฉะนั้นธรรมดามักจะขึ้นพร้อมๆกันทั้งสองตาเพียงแต่อาจจะรุนแรงกว่าอีกก็เป็นไปได้
ไม่ได้ติดเป็นโรคติดต่อกัน
เพียงแต่ว่าจอตาทั้งสองข้างมีเส้นเลือดเล็กๆเหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามไปด้วยกันเพียงแต่ว่าอาจจะมากน้อยกว่ากันเท่านั้นเอง ดูแลตัวเองยังไงไม่ให้
มีอาการเบาหวานขึ้นจอตา อย่างแรกเลยก็คงต้องแนะนำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีเพราะว่าระยะเวลาที่เป็นเราคงควบคุมไม่ได้ใช่ถ้าเราเป็นมาหลายปี ก็จะเดินไปเรื่อยๆ
แต่สิ่งที่เราช่วยได้ก็คือ ต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี อยู่ในระยะประมาณร้อยต้นๆนะครับก็จะทำให้โอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย พยายามอย่าให้ระดับน้ำตาลสวิง อย่างเช่น
บางคนพอจะไปตรวจเบาหวานกับคุณหมอ อดอาหารใหญ่เลยเพื่อให้ตัวเลขกับคุณหมอดีๆไม่ถูกคุณหมอบ่น แต่วันอื่นฉลองใหญ่ การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสวิงคือสูงมากต่ำมาก
อย่าง ยิ่งทำให้โอกาสเกิดเบาหวานขึ้นตาสูงกว่าคนที่น้ำตาลอยู่ในระดับเดียวกันตลอด สำคัญที่สุดคือ การทำตามที่คุณหมอแนะนำ ก็คือตั้งแต่การไปตรวจสุขภาพตา ก็คือดูจอตาเรา
ว่าเบาหวานขึ้นตาหรือไม่ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งหรือบางทีถ้ามันเริ่มมีอาการบางทีคุณหมออาจจะนัดบ่อยกว่านั้น เช่นอาจจะเป็นหกเดือนต่อครั้งอะไรอย่าง อันนี้จำเป็นที่จะต้องไป
ตามนัด ถ้าคุณหมอแนะนำว่าจำเป็นอาจจะต้องฉายแสงเลเซอร์ก็อาจจะต้องทำตามคำแนะนำเพื่อป้องกันไม่ให้ตาบอด




นางสาวอุษณีย์  โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/15-57
CD-A1(2/7)-57