ประเพณีสงกรานต์และงานแห่ต้นดอกไม้
โดย...คุณยุพา  ปานรอด
ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานเลย

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)


          ประเพณีสงกรานต์ของจังหวัดเลยมีกิจกรรมที่น่าสนใจงานประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่ของคนอีสานค่อนข้างมีเยอะมากแล้วก็โดดเด่น จังหวัดเลยเป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวจะ
เดินทางมาค่อนข้างตลอดทั้งปี สงกรานต์มีอยู่หลายอำเภอ เช่นสงกรานต์ที่เชียงคาน ใช้คำว่าย้อนอดีตสุขสำราญที่เชียงคาน เป็นประเพณีสาดน้ำเล่นน้ำในหมู่บ้านริมแม่น้ำโขง
ประเพณีที่คนไม่ค่อยรู้จักแล้วก็เป็นประเพณีที่เก่าแก่มากสี่ร้อยกว่าปี เรียกว่าททท. เข้าไปพบไปเห็นว่าประเพณีนี้เป็นประเพณีที่น่าสนใจมาก มีอยู่สองที่ในจังหวัดเลยเป็นประเพณี
เขาเรียกว่าประเพณีสงกรานต์และแห่ต้นดอกไม้


ภาพจาก Web Site
http://www.sadoodta.com/files/field/image/flowertreeBaansangpa58-001.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-12-59

          ประเพณีมามีมาสี่ร้อยกว่าปีแล้ว ชาวบ้านที่อำเภอนาแห้ว ตำบลแสงภา เรียกหมู่บ้านแสงภา ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว ที่นั่นเนี่ยจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่ราบสูงเดิน
ทางมาจากเพชรบูรณ์ต้องผ่านด่านซ้ายก่อน ผ่านด่านซ้ายเลี้ยวไปทางอำเภอนาแห้ว เป็นอำเภอที่ต้องขึ้นสูงไปจากด่านซ้าย เป็นที่ราบสูงเป็นเมืองเกษตร รถทัวร์ขึ้นไม่ได้เป็นถนน
โค้งพอสมควรเหมือนกัน ต้องใช้รถตู้และรถเก๋ง ขึ้นไปบรรยากาศต้องบอกว่าหนาวสุด แล้วร้อนก็พอสมควร ทีนี้ประเพณีของเขาประเพณีที่เฉพาะวันที่ 14 เมษายนของทุกปี เรียก
วันสงกรานต์ 14 วันสงกรานต์ เขาจะทำต้นดอกไม้ ที่นั่นคล้ายๆจังหวัดต่างๆที่มักจะนำของไปบูชาพระไปเวียนเทียน แต่ที่นั่นเขาทำต้นดอกไม้เป็นประสาทแหลมๆ ขึ้นไป แล้วก็มี
คานหามประมาณยี่สิบเมตรสามสิบเมตรสูงมาก ประมาณตึกสองชั้นสูงๆ
          ผู้ชายต้องทำกันในวันเดียว คือผู้ชายเขาไปตัดไม้ไผ่ในสวนมาทำตอนเช้าจะไปกันตั้งแต่เช้ามืดวันที่ 14 ไปตัดไม้ไผ่มาแล้วขึ้นเป็นประสาทสูงๆสิบยี่สิบเมตร แล้วก็มีคานหาม
แล้วผู้หญิงที่เหลือก็จะไปตัดต้นไม้ที่ในหมู่บ้านเป็นต้นไม้ทั่วๆไป อย่างดอกคูณหรือดอกหางนกยูงมาประดับเป็นประสาทต้นไม้ประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นแต่ว่าลักษณะต้องทำภายในวันนั้น
ต้องเสร็จภายในวันนั้น จะมีคุ้มวัดต่างๆเป็นคุ้มๆ เป็นแบบเขาเรียกคุ้มหมู่บ้าน ที่นั่นทุกคนทุกคุ้มเขาจะช่วยกันเหมือนกับการลงแขกเหมือนคนภาคกลาง คือช่วยคนละไม้คนละมือ
ใครไปตัดไม้ใครไปตบแต่งไปช่วยกันเพราะความศรัทธา ถือว่าถ้าได้มาช่วยกันทำดอกไม้ต้นดอกไม้ที่ไปถวายที่วัดทุกคนก็เหมือนไปทำบุญได้บุญ พอทำตั้งแต่เช้าพอถึงบ่ายประมาณ
สี่โมงเย็นทุกคนก็จะเสร็จ ทุกคนก็จะต้องหาม หามต้นดอกไม้เป็นเสลี่ยงคานหามใหญ่ๆ ใช้คนประมาณต้นละประมาณเกือบสิบคนสิบห้าคนยี่สิบคนหามไป แล้วก็ไปวางบริเวณที่โบสถ์
โบสถ์ชื่อว่าโบสถ์วัดศรีโพธิ์ชัยแสงภา วัดนี้จะอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน เขาก็จะไปวางตั้งรอให้มืดประมาณทุ่มหนึ่งหรือหกโมงกว่าๆ พอมืดแล้วเขานำเทียนจุดอยู่ในประสาทที่เขาทำเอาไว้
เพราะกลางคืนจะมีแสงแวววาวสวยมาก แล้วก็แห่รอบอุโบสถสามรอบ


ภาพจาก Web Site
http://image-1.megazy.com/square/cat-20/traveloutdoorsimagecrop1506121349540m.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-12-59

          การแห่จะไม่เหมือนเดินเทียนธรรมดา เขาจะมีลีลาในการแห่ก็คือมีดนตรี แตรวง ปี่พาทย์ มโหรี แล้วเขาจะเต้นเหมือนดนตรีของภาคอีสาน คือ มีการโยกถอยหน้าถอยหลัง
กลายเป็นเอกลักษณ์ว่าไม่ได้เดินรอบโบสถ์อย่างเดียว เขามีลีลาในความสนุกสนาน แล้วการศรัทธาในการทำบุญ แล้วคนที่ไม่ได้หามก็จะเดินถือเทียนตามเขาเป็นรอบ ก็จะมีความ
รู้สึกว่ากลางคืนสวยงามมากในขบวนแห่ จะไม่มีการประกวดไม่มีการอะไร แต่ว่ามาด้วยใจทำด้วยใจ แล้วก็มาร่วมแรงร่วมใจเอามาบูชาพระในวันสงกรานต์ 14 เมษาของทุกปี การ
จุดเทียน เทียนที่จุดไปใส่ไว้ในในช่วงของลำต้นหรือว่าประดับรอบๆ เข้าไปข้างในเพราะว่าประสาทจะเป็นไม้ไผ่สาน ประดับด้วยดอกไม้ข้างนอก ข้างในจะเป็นที่โล่งๆนำเทียนใส่ไป
ข้างใน เพราะฉะนั้นต้นแห่ดอกไม้ก็จะเป็นสว่างไสวเรืองแสงอยู่ข้างในความโปร่ง ภูมิปัญญาของคนชาวบ้านเหมือนที่ทำให้สีสรรในการที่จะเดินรอบโบสถ์เนี่ยสวยงามมาก


ภาพจาก Web Site
http://f.ptcdn.info/814/004/000/1367677477-Y344542-o.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-12-59

          
ต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ ไม่ได้มีต้นใหญ่ ๆ อย่างเดียว อย่างลูกหลานเขาตัวเล็กๆ เขาก็จะร่วมแรงร่วมใจกันทำต้นเล็กๆด้วย เพราะฉะนั้นการเดินแห่รอบโบสถ์มีบางปีมีถึงสิบต้น
มีต้นเล็กอีกห้าต้นก็จะเป็นสายยาว อย่างนักท่องเที่ยวที่ช่วยเขาทำ ทำเสร็จก็ไปช่วยเขาแห่ บางคนก็มาเก็บรูป บางคนก็ช่วยเขาแห่เหมือนว่าเรามาทำบุญที่หมู่บ้านเขาจะตั้งโชว์ไว้
แล้วก็ภายในเดือนเมษาหลังจากวันที่ 14 ถ้ามีวันพระอีกครั้งหนึ่ง เขาก็จะทำอย่างนี้อีกครั้งนึงแต่ก็ไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับวันที่ 14 แต่ที่หมู่บ้านแสงภาหรือตำบลแสงภามีความเป็นพิเศษ
อีกอย่างคือที่เขาร่วมแรงร่วมใจกันทำต้นไม้ เขาจะมีการประกวดไม่มีการแข่งขันมาทำด้วยใจคือ เหมือนนำดอกไม้สวยๆ มาบูชาพระรัตนตรัย หมู่บ้านนี้ก็คือบ้านแสงภาอยากจะทาน
ไข่ต้มซัก ใบหนึ่ง จะต้องตอกไข่ไว้ก่อนวันพระ เขาจะไม่ฆ่าสัตว์วันนั้น เขาจะไม่ตอกไข่ในวันนั้น ที่นี่เขาจะเคร่งครัดในเรื่องของการทำบุญในวันที่ 14 เป็นการที่ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
เพราะฉะนั้นอาหารที่เราไปซื้อไปทาน จะเป็นอาหารที่เขาใส่ช่องเย็นไว้ตั้งแต่วันก่อนจะถึงวันพระ หลังจากวันที่ 14 แล้วต้นไม้ต้นนี้ยังคงตั้งอยู่ที่บริเวณของวัด
          คราวนี้ดอกไม้อาจจะมีเหี่ยวเฉาเขามีการเปลี่ยนเขาถือว่าบูชาแล้ว ถ้ามันเหี่ยวเฉาเดี๋ยวพอถึงวันพระวันใหม่เขาก็จะมาเปลี่ยนในช่วงของเดือนเมษา แล้วหลังจากนั้นดอกไม้
อันนี้ก็จะหมดไปก็จะมีประเพณีแห่ดอกไม้เฉพาะเดือนเมษาเดือนเดียว ก็ถือว่าถ้าช่วงสงกรานต์ช่วงเมษาไม่ได้มาชมก็ต้องรออีกหนึ่งปี ในช่วงสงกรานต์ก็ตามอำเภอต่างๆ ของเมือง
เลย ไม่ว่าจะเป็นเชียงคาน ย้อนอดีตเชียงคานสุขสำราญที่เชียงคาน ก็มีกิจกรรมที่เป็นหมู่บ้านริมลำน้ำโขง ก็จะเป็นสงกรานต์สาดน้ำเพราะว่าอยู่ริมแม่น้ำโขง มีแก่งคุดคู้ มีแม่น้ำโขง
อยู่ ก็สนุกสนานด้วยความเย็นของน้ำนะคะก็เล่นสงกรานต์กัน ส่วนในเมืองก็จะเป็นประเพณีสงกรานต์ทั่วๆไปที่จัดสงกรานต์ให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาชมมาที่เมืองเลย


ภาพจาก Web Site
http://f.ptcdn.info/827/004/000/1367728271-Y344620-o.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 26-12-59

          นอกจากอุทยานต่างๆ อย่างภูกระดึง ภูเรือ อาจจะร้อนหน่อยเพราะว่าเมืองเลย จะเย็นสบายในช่วงหน้าหนาว สงกรานต์ขึ้นไปไว้พระบนภูเรือ ภูกระดึง ในเมืองเลยต้องบอกว่า
เป็นเมืองที่ดอกไม้สวยตลอดทั้งปี เพราะฉะนั้นไปเล่นสงกรานต์ไปบูชาพระที่บ้านแสงภาที่นาแห้วแล้ว ลงมาที่ด่านซ้าย ด่านซ้ายเรามีพิพิธภัณฑ์ผีตาโขน ขับรถเลียบลงมาด่านซ้าย
ภูเรือจะเห็นดอกไม้สวยๆสองข้างทาง มีความสุขของการเล่นสงกรานต์สองข้างทางกับดอกไม้ มีที่พักน่าพักผ่อน เมืองเลยก็จะมีสวยงามด้วยธรรมชาติ เมืองเลยมี บขส.วิ่งระหว่าง
เมืองเลยไปหลวงพระบาง ต้องบอกว่าสะดวกสบายมาก ถ้าใครอยากจะมาเที่ยวสงกรานต์เมืองเลยเสร็จ อยากจะไปสงกรานต์หลวงพระบาง ก็นั่งรถบขส. 99 โดยใช้พาสปอร์ตหนึ่งใบ
ซื้อค่ารถ 700 บาท ประมาณแปดชั่วโมง แวะทานข้าวกลางวันที่ไชยบุรี ดูบรรยากาศสองข้างทางถนนสะดวกมาก ไปถึงหลวงพระบางตอนเย็น แล้วก็เที่ยวซักสองวัน แล้วก็นั่งรถทัวร์
กลับมาที่เมืองเลยพักเมืองเลยต่อก็ยังมีความสุขในการเดินทางช่วงสงกรานต์



นางสาวอุษณีย์  โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
กลุ่มรายการที่ 4/14-57
CD-A4(2/3)-57