พุทธวิธีการบริหาร
โดย...พระอัครเดช
ญาณเตโช
วัดฉาง ต.บางปรอก อ.เมือง จ.ปทุมธานี
อีเมล์ : akradate@outlook.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
ขอท่านทั้งหลายจงอาศัย
ความกรุณาว่ากล่าวข้าพเจ้า
เมื่อข้าพเจ้าเห็นว่าผิดพลาด
ก็จักแก้ไขปรับปรุงตัวเอง
|
(วิ.มหา. ๔/๒๒๖/๓๑๔)
การบริหาร
หมายถึง การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยคนอื่น (Getting things done through other
people) เมื่อว่าตามคำนิยามนี้การบริหารในพระพุทธศาสนาเริ่มมี
ขึ้นเป็นรูปธรรมสองเดือนนับจากวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกแก่พระปัญจวัคคีย์ซึ่งทำให้เกิดพระสังฆรัตนะขึ้น
เมื่อมีพระสังฆรัตนะเป็นสมาชิกใหม่
เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ต้องบริหารคณะสงฆ์
ภาพจาก
Web Site
http://ohm-illustration.blogspot.com/2012/05/blog-post_3255.html
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 2-12-57 |
|
การศึกษาพุทธวิธีบริหารในครั้งนี้ขอใช้หน้าที่ของนักบริหารเป็นกรอบในการพิจารณา
หน้าที่ (Function) ของนักบริหารมีอยู่ ๕ ประการตามคำย่อในภาษาอังกฤษว่า
POSDC
P คือ Planning
หมายถึง การวางแผน เป็นการกำหนดแนวทางเนินงานในปัจจุบัน เพื่อความสำเร็จที่จะตามมาในอนาคต
ผู้บริหารที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์เพื่อกำหนดทิศทาง
ขององค์กร
O คือ Organization
หมายถึง การจัดองค์กร เป็นการกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกและสายบังคับบัญชาภายในองค์กร
มีการแบ่งงานกันทำและการกระจาย
อำนาจภายในองค์กร มีการแบ่งงานกันทำและการกระจายอำนาจ
S คือ Staffing
หมายถึง งานบุคลากร เป็นการสรรหาบุคลากรใหม่ การพัฒนาบุคคลากรและการใช้คนให้เหมาะกับงาน
D คือ Directing
หมายถึง การอำนวยการ เป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิดการดำเนินการตามแผน ผู้บริหารต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีภาวะผู้นำ
C คือ Controlling
หมายถึง การกำกับดูแล เป็นการควบคุมคุณภาพของการปฏิบัติงานภายในองค์กรรวมทั้งกระบวนการแก้ปัญหาภายในองค์กร
ในพุทธวิธีเกี่ยวกับวางแผนนี้
สิ่งที่สำคัญมากคือผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ พระพุทธเจ้าตรัสว่าผู้บริหารต้องมีจักขุมา
แปลว่า มีสายตาที่ยาวไกล คือมองการณ์ไกล วิสัยทัศน์
ช่วยให้ผู้บริหารสามารถวาดภาพจุดหมายปลายทางได้ชัดเจนและใช้สื่อสารให้สมาชิกภายในองค์กรยอมรับและดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางนั้นองค์กรทั้งหมดก็จะถูกขับเคลื่อน
ไปด้วยวิสัยทัศน์นี้ พระพุทธเจ้าทรงกำหนดจุดหมายปลายทางในพระพุทธศาสนาไว้ว่า
การประพฤติปฏิบัติธรรมทุกอย่างมีเป้าหมายสูงสุดที่จุดเดียวคือวิมุตติ (ความหลุด
พ้นทุกข์)
ดังพุทธพจน์ที่ว่า เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรสเดียวคือรสเค็ม ฉันใด ธรรมวินัยนี้ก็มีรสเดียวคือวิมุตติรส
ฉันนั้น)
ภาพจาก
Web Site
http://ohm-illustration.blogspot.com/2012/05/blog-post_3255.html
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 2-12-57 |
|
กระบวนการจัดการศึกษาในพระพุทธศาสนายึดหลักไตรสิกขาคือศีล
สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นการฝึกอบรม (Training) ที่เน้นภาคปฏิบัติมากกว่าจะเป็นการเรียนการสอนใน
ทางทฤษฎี (Teaching) เมื่อกล่าวในเชิงบริหารเราต้องยอมรับว่า พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญแก่การจัดการศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธ-
ศาสนาจึงชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งการศึกษา
การอำนวยการให้เกิดการดำเนินงานในพระพุทธศาสนาต้องอาศัยภาวะผู้นำเป็นสำคัญ
ทั้งนี้เพราะไม่มีระบบการใช้กำลังบังคับให้ปฏิบัติตามผู้นำในพระพุทธศาสนา
การที่
สมาชิกจะทำตามคำสั่งของผู้บริหารหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำในผู้บริหารเป็นสำคัญ
อะไรคือความแตกต่างระหว่างผู้บริหารกับผู้นำ
ผู้บริหาร
คือ ผู้ที่ทำให้คนอื่นทำงานตามที่ผู้บริหารต้องการ
ผู้นำ คือ
ผู้ที่ทำให้คนอื่นต้องการทำงานตามที่ผู้นำต้องการ
ดังนั้น ผู้บริหารเชิงพุทธต้องมีภาวะผู้นำ
คือ มีความสามารถในการจูงใจให้คนเกิดความต้องการอยากปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บริหาร
พระพุทธเจ้าทรงเพียบพร้อมด้วยอัตตหิตสมบัติและปรหิตสมบัติจึงสามารุใช้ภาวะผู้นำบริหารกิจการพระพุทธศาสนาให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
อัตตหิตสมบัติที่สำคัญในการ
บริหารของพระพุทธเจ้าก็คือความสามารถในการสื่อสารกับคนทั่วไป ในการสื่อสารเพื่อการบริหารแต่ละครั้งพระพุทธเจ้าทรงใช้หลัก
๔ ส. ซึ่งคำอธิบายเชิงประยุกต์เข้ากับการ
บริหารดังต่อไปนี้
๑. สันทัสสนา
(แจ่มแจ้ง) หมายถึง อธิบายขั้นตอนของการดำเนินงานได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งช่วยให้สมาชิกปฏิบัติตามได้ง่าย
๒. สมาทปทา
(จูงใจ) หมายถึง อธิบายให้เข้าใจและเห็นชอบกับวิสัยทัศน์จนเกิดศรัทธาและความรู้สึกว่าต้องฝันให้ไกลและไปให้ถึง
๓. สมุตเตชนา
(แกล้วกล้า) หมายถึงปลุกใจให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและมีความกระตือรือร้นในการดำเนินการไปสู่เป้าหมาย
๔. สัมปหังสนา
(ร่าเริง) หมายถึง สร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกันแบบกัลยาณมิตรซึ่งจะส่งเสริมให้สมาชิกมีความสุขในการงาน
ภาพจาก
Web Site
http://ohm-illustration.blogspot.com/2012/05/blog-post_5741.html
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 2-12-57 |
|
บุคคลที่จะเป็นผู้บริหารต้องมีคุณสมบัติสำคัญ
๒ ประการดังกล่าวมาแล้ว คือ อัตตหิตสมบัติ หมายถึงความเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติส่วนตัวที่เหมาะกับการเป็นผู้นำ
และ
ปรหิตปฏิบัติ หมายถึงความมีน้ำใจในการปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวมและองค์กรของตน
พุทธวิธีบริหาร
ยึดหลักธรรมาธิปไตยเป็นสำคัญด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้บริหารเองต้องประพฤติธรรมและใช้ธรรมเป็นหลักในการบริหาร
พุทธวิธีบริหารจึงไม่เป็นทั้งอัตตาธิปไตย
และโลกาธิปไตย
ผู้บริหารที่เป็นอัตตาธิปไตยก็มักจะคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนหรือความพอใจของตนเป็นที่ตั้งโดยยึดคติว่าถูกต้องคือถูกใจข้าพเจ้า
ผู้บริหารประเภทนี้มักลงท้ายด้วยการ
เป็นเผด็จการ
ส่วนผู้บริหารที่เป็นโลกาธิปไตยก็พยายามเอาใจทุกคน
เพื่อให้ตนเองอยู่ในตำแน่งต่อไปได้ เขาพยายามทำให้ถูกใจทุกคน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
ผู้บริหารประเภทนี้
มักหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้นในองค์กรก็พยายามลอยตัวหนีปัญหา
ผู้บริหารที่ดีต้องเป็นธรรมาธิปไตย
เขายึดถือคติว่า ถูกต้องไม่จำเป็นต้องถูกใจข้าพเจ้าหรือต้องถูกใจทุกคน เขากล้าตัดสินใจลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
โดยไม่
พยายามลอยตัวหนีปัญหา เขาถือคติว่า อำนาจหน้าที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบ
เขายอมเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นคือประโยชน์สุขส่วนรวม
ดังพุทธพจน์ที่ว่า ถ้าเห็นว่าจะได้ประโยชน์สุขที่ยิ่งใหญ่เพราะสละประโยชน์สุขเล็กน้อย
บุคคลควรสละประโยชน์สุขเล็กน้อยเพื่อเห็นแก่ประโยชน์สุขที่ยิ่งใหญ่
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
หนังสือพุทธวิธีบริหาร พระธรรมโกศาจารย์
(ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
|