เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับมองหลายระยะ
โดย...รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์
หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)

          เลนส์แก้วตาเทียม คืออะไร มนุษย์มีดวงตาเอาไว้ทำหน้าที่ในการมองเห็น ส่วนประกอบสำคัญอันหนึ่งในดวงตาก็คือเลนส์แก้วตา ทุกท่านคงนึกภาพกล้องถ่ายรูปได้ว่ามันต้องมีเลนส์
แก้วตาที่ใช้ในการรวมแสงใหัภาพไปตกที่ฟิล์ม หรือถ้าในกรณีดวงตาก็ไปตกที่จอประสาทตา ซึ่งเลนส์แก้วตาของมนุษย์ตอนเกิดใหม่ๆจะใสไม่มีสี เพื่อให้การมองเห็นชัดเจน แต่ว่าหลังจากที่
เราใช้ไปหลายๆสิบปีนะครับ ส่วนใหญ่อายุ 60 - 70ปี ขึ้นไป เลนส์แก้วตาจะเริ่มขุ่นขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายขุ่นจน เวลามองออกไปคล้ายกับว่ามองผ่านกระจกฝ้า เป็นที่มาของชื่อว่าต้อกระจก


ภาพจาก Web Site
http://www.isoptik.com/isoptik/datas/eyecare1/img/eyecare16_clip_image046.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          ปัจจุบันไม่มียาอะไรที่จะทำให้เลนส์แก้วตาของมนุษย์กลับมาใสเหมือนก่อนหน้าที่จะเริ่มขุ่นได้ การรักษามีอยู่วิธีเดียวก็คือการนำเลนส์แก้วตาที่ขุ่น ซึ่งเรียกว่าโรคต้อกระจก หลังจากเอา
เลนส์แก้วตาออกแล้วจึงจำเป็นที่จะต้องมี เลนส์แก้วตาเทียมใส่เข้าไปในดวงตาตำแหน่งเดิมของเลนส์แก้วตาที่ต้อกระจกนั้นออกไป เพื่อให้ช่วยในการรวมแสงทำให้กลับมาเห็นภาพชัดได้
เหมือนสมัยก่อนเป็นต้อกระจก คือที่มาของเลนส์แก้วตาเทียม
          ส่วนพัฒนาการของเลนส์แก้วตาเทียม มีการนำเอาเลนส์แก้วตามาใส่ในตามนุษย์ ตั้งแต่สมัยสงครามโลก ปี คศ. 1949 เดิมนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้พยายามหาวัสดุอะไรที่เข้า
ไปใส่ในดวงตาทำหน้าที่รวมแสงแทนเลนส์แก้วตาปรากฏว่าไม่สำเร็จ ก็คือมีการเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกายทำให้ตาอักเสบ จนในสมัยสงครามโลกในปี 1949 มีการค้นพบโดยบังเอิญว่า
กระจกวัสดุที่ทำกระจกเครื่องบิน คือ โพลีเมทิล เมทาคริเลท สามารถอยู่ในดวงตาได้ นึกภาพออกว่าเกิดอะไรขึ้น ก็เป็นอุบัติเหตุในสนามรบแล้วมีกระจกของเครื่องบินเข้าไปอยู่ในตาของทหาร
แล้วพบว่าไม่มีการอักเสบไม่มีปฏิกิริยาต่อต้าน เป็นที่มาของเลนส์แก้วตาเทียมอันแรกของโลก
          ซึ่งในยุคแรกเลนส์แก้วตาเทียมก็จะเป็นเลนส์ชนิดแข็งธรรมดา คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางส่วนใหญ่ก็จะประมาณ 6-7 มิลลิเมตร ใส่เข้าไปในบริเวณตรงกลางตาดำเพื่อทดแทนเลนส์
ธรรมดา ก็มีพัฒนาการต่อเนื่องต่อมาเทคโนโลยีทางการแพทย์เจริญขึ้นการนำต้อกระจกออกไม่จำเป็นต้องเปิดแผลใหญ่ขนาด 7 ถึง 8มิลลิเมตร เพื่อต้อกระจกเดิมออก หลังๆใช้วิธีสลายต้อ
กระจกเปิดแผลที่บริเวณริมกระจกตาดำแค่ 3 มิลลิเมตร เท่านั้นเองหรืออาจจะเล็กกว่านั้นด้วย เพื่อนำเครื่องมือที่จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปสลายต้อกระจก เพราะมีการพัฒนาเลนส์
แก้วตาเทียมเป็นเลนส์ชนิดพับ เป็นเลนส์ที่มีลักษณะนิ่มสามารถพับครึ่งแล้วยัดเข้าไปในแผลขนาด 2.5 ถึง 3 มิลลิเมตร เข้าไปกางอยู่ในลูกตากางแล้วกางไม่กลับมาพับอีก ทำให้แผลเล็กลง
และก็หายเร็วขึ้น เป็นที่มาของการผ่าตัดหรือรักษาต้อกระจกในยุคปัจจุบัน ที่คนไข้จะสามารถบางคนไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ด้วยซ้ำไปทำแล้วก็กลับบ้าน แล้วก็ความเจ็บปวดหรืออะไรก็จะลด
ลงกว่าสมัยที่ใช้วิธีการผ่าตัดแบบเดิม


ภาพจาก Web Site
http://ruxtaeyecenter.com//file_upload/images/_2.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          แต่ปัญหาเลนส์แก้วตาเทียมมีระยะโฟกัสแค่ระยะเดียว ขนาดของเลนส์ถูกวัดหรือกำหนดมาสำหรับตาคนคนนั้นให้มองไกลชัดเท่านั้น ซึ่งเลยเกิดปัญหาว่าหลังจากที่ใส่เลนส์แก้วตาเทียม
แล้วหลายๆท่านก็รู้สึกว่า อ้าวมองไกลชัดแต่มองใกล้ไม่ชัด ก็คงอาจรู้สึกลำบากที่ต้องหาแว่นตามาใส่สำหรับมองใกล้นะครับก็เลยเป็นที่มาของเรื่องวันนี้ คือ เลนส์แก้วตาเทียมชนิดมีหลายระยะ
โฟกัส คำว่าระยะโฟกัสในที่นี้หมายถึงให้คนไข้สามารถมองได้เห็นชัดทั้งในระยะไกลและเวลาใช้สายตามองใกล้ เช่น การอ่านหนังสือหรือทำคอมพิวเตอร์เป็นที่มาของชื่อของเลนส์แก้วตาเทียม
ชนิดระยะหลายโฟกัส เลนส์แก้วตาเทียมของจริงจะแข็งกว่าเลนส์คอนแทคเลนส์ที่อยู่ ที่ใส่กันแบบนิ่ม เพราะว่าจริงๆแล้วเขาดีไซน์มาให้สามารถพับครึ่งพอเข้าไปในดวงตาเขาก็จะกางออก
แล้วก็ไม่กลับมาพับอีก พอเริ่มมีการคิดค้นจริงๆมีความพยายามที่จะทำเลนส์แก้วตาเทียมระยะหลายโฟกัสมาเป็นสิบปี หลักการของตามนุษย์ เวลามองใกล้ เลนส์แก้วตาโดยธรรมชาติเดิมจะ
มีการเพ่ง คือมีการปรับรูปร่างให้มีความอ้วนมากขึ้น ตัวเลนส์เพื่อให้รวมแสงได้เร็วขึ้นจะได้มองเห็นวัตถุในระยะใกล้ได้
          โลกแห่งจินตนาการอยากได้วัสดุที่ใส่เข้าไปทดแทนเลนส์แก้วตาธรรมดาที่มีลักษณะยืดหยุ่นแบบ แต่เนื่องจากว่าปัจจุบันยังทำไม่ได้ในการแก้ปัญหาให้คนไข้หลังผ่าตัดต้อกระจกเห็นชัด
ทั้งใกล้และไกล ก็เริ่มมีหลายรูปแบบ ใส่เลนส์แก้วตาเทียมที่คำนวณไว้ว่าตาข้างหนึ่งจะมองไกลชัด และตาอีกข้างหนึ่งจะมองใกล้ชัด คือเวลามองไกลก็จะใช้ สมมุติเราใช้ตาขวาเป็นหลักตาขวา
จะมองไกลชัด พอหลังจากที่ใส่เลนส์แก้วตาเทียมไปเสร็จสองข้างหรือการไปทำเลสิคแล้วทั้งสองข้าง เวลามองไกลจะใช้ตาขวาเป็นตัวหลักแล้วใช้ตาซ้ายเป็นตัวช่วย เวลาอ่านหนังสือจะใช้
ตาซ้ายเป็นตัวหลัก แล้วตาขวาเป็นตัวช่วย ซึ่งหลังจากผ่านไปสักสัปดาห์สองสัปดาห์สมองของมนุษย์จะสามารถปรับได้ และก็บางคนก็จะชอบแบบนี้แล้วก็ใช้โมเดลแบบนี้ ไม่ต้องใช้วัสดุอะไร
พิเศษ


ภาพจาก Web Site
https://ascannotdo.files.wordpress.com/2012/12/manager121227_001.jpg?w=584
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          การพัฒนาเลนส์แก้วตาเทียมให้มีลักษณะพิเศษ เพราะเนื่องจากยังไม่สามารถใช้วัสดุยืดหยุ่นเหมือนเลนส์ธรรมชาติได้ ตั้งแต่การพยายามใส่เลนส์แก้วตาเทียมที่มีลักษณะนิ่ม เข้าไป
แล้วก็ปล่อยให้กลไกธรรมชาติของดวงตาพยายามจะมีการเพ่งโดยให้เลนส์แก้วตาเทียมมีความยืดหยุ่น หมายถึงเลนส์แก้วตาเทียม คือใส่เข้าไปเสร็จพอมีการเพ่งเลนส์ก็จะมีการถูกบีบให้มี
การเคลื่อนถอยหลังหรือว่าเดินหน้าอะไรอย่างในดวงตา ก็ช่วยให้มองใกล้ชัดขึ้น พบว่าเกิดปัญหาว่าพอใช้ไปนานๆความสามารถเพ่งของดวงตาในอายุที่เปลี่ยนไปก็ลดลงด้วย เพราะฉะนั้นอาจ
จะมีปัญหาว่าพอใช้ไปหลายๆปี อาจจะทำให้เริ่มกลับไปชัดที่ระยะโฟกัสเดียว เทคโนโลยีปัจจุบันที่มีการใช้กันมากคือ เป็นเลนส์แก้วตาเทียมที่ทำระยะโฟกัสกำลังของเลนส์ไม่เท่ากันในแต่
ละวง นึกภาพเลนส์แก้วตาเทียมเป็นลูกกลมๆ เดิมทั้งเลนส์จะเป็นสมมุติ มีกำลังกำลังของเลนส์ จะเท่ากันหมดทั้งเนื้อเลนส์
          เทคโนโลยีปัจจุบันมีการนำมาใช้มากเรื่องเลนส์แก้วตาเทียมระยะหลายโฟกัส ทำให้วงในอาจจะมีกำลังในการหักเหแสงเยอะกว่าวงนอกนอก ในเลนส์เดียวกัน จะเป็นเหมือนวงกลมที่
ซ้อนๆ อยู่ประกอบเป็นเลนส์แก้วตาเทียม เพราะฉะนั้นเวลาคนไข้มองไกลก็จะมองผ่านส่วนของเลนส์แก้วตาเทียมที่ถูกดีไซน์มาให้คมชัดเวลามองไกล และเมื่อมีการมองใกล้แสงหรือภาพก็จะ
ผ่านตรงส่วนของเลนส์แก้วตาเทียมที่ถูกดีไซน์มาให้ชัดในระยะใกล้ ปัจจุบันที่ที่ใช้ระยะหลายโฟกัสที่เป็นที่นิยมอยู่ จะมีหลักการต่างกันอยู่ 2 แบบ อาจจะลึก คือสรุปว่าเลนส์แก้วตาเทียมระยะ
หลายโฟกัสปัจจุบัน ถ้าเราไปเห็นภาพก็จะเห็นเป็นเลนส์กลมกลมอันเดียว แต่ว่ามีวงซ้อนซ้อนกันอยู่หลายวงอยู่ในเลนส์นั้นทำให้เห็นชัดทั้งใกล้และไกล


ภาพจาก Web Site
http://3.bp.blogspot.com/--Lm1NIVuywI/UHjscTLF8iI/AAAAAAAABv8/8aUdf_1hvR0/s1600/IMG_5202.PNG
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          ปัจจุบันคนไทยสามารถเลือกเลนส์ใช้ได้ทั้งเลนส์ชนิดแข็งและเลนส์ชนิดพับ เพราะคนไข้ที่ใช้สิทธิ์บัตรทอง ตอนนี้ประชาชนทุกคนก็สามารถเลือกที่จะใช้เลนส์พับได้ โดยขึ้นกับดุลพินิจ
ของคุณหมอว่ากรณีคนไข้คน ผ่าตัดควรจะผ่าด้วยวิธีผ่าแบบเดิมหรือวิธีสลายต้อ แล้วก็ควรจะใส่เลนส์พับหรือไม่ คุณหมอจะช่วยพิจารณา ส่วนการใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดหลายโฟกัสมี
ข้อจำกัด
          1. ราคาแพง สิทธิข้าราชการ หรือสิทธิอื่น ๆ จะไม่สามารถเบิกได้
          2. การใช้ชีวิตไม่สะดวกใส่แว่นต้องการใช้ เลนส์แก้วตาเทียมชนิดหลายโฟกัส
          3. คนไข้ในปัจจุบัน มีข้อมูลในการเลือกใช้เลนส์
          4. ความคมชัดของเลนส์แก้วตาเทียมชนิดหลายโฟกัสมีน้อยกว่าเลนส์โฟกัสเดียว
          5. อาจจะเกิดปัญหาแสงสะท้อนหรือเงาของภาพที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาขับรถในเวลากลางคืน
          6. การผ่าตัดใส่เลนส์แล้วอยู่กับเราตลอดชีวิต เพราะว่าเลนส์แก้วตาเทียมอายุใช้งานตลอดชีวิตคนใส่ แล้วการเปลี่ยนเรื่องค่อนข้างยาก
          ดังนั้นการตัดสินใจจะผ่าตัดรักษาต้อกระจกโดยการใช้เลนส์แก้วตาเทียมชนิดโฟกัสเดียว หรือเลนส์แก้วตาเทียมชนิดหลายโฟกัส ขึ้นอยู่กับการศึกษาข้อมูล ดูความเหมาะสมกับการใช้
ชีวิตของแต่ละคนและข้อจำกัดที่ได้นำเสนอไปแล้วในขั้นต้นประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน




นางสาวอุษณีย์ โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/11-57
CD-A1(1/7)-57