วันศิลปินแห่งชาติ
โดย...คุณอนุกูล  ใบไกล
ผู้อำนวยการหออัครศิลปิน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)

          ขออนุญาตย้อนไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528 ในปีนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติ วันศิลปินแห่งชาติจะเกี่ยวเนื่อง
เกี่ยวข้องกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถล้ำเลิศทางด้านศิลปะ
ในหลายสาขานะครับ ก็เลยมีการกำหนดให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันศิลปินแห่งชาติตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา


ภาพจาก Web Site
http://vithidham.snru.ac.th/wp-content/uploads/2016/07/13243906_1092679990773245_2713457219481292156_o-1024x683.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          ในส่วนของศิลปินแห่งชาติมีการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปัจจุบันนี้นะครับเป็นประจำแล้วก็ต่อเนื่องทุกปีนะครับ โดยในปีนี้ก็เช่นกันนะครับก็ได้มีการประกาศ
รายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติไปแล้วเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา สำหรับกิจกรรมหลักๆสำคัญ ก็จะมีในเรื่องของการนำศิลปินแห่งชาติเข้าเฝ้ารับพระราชทานเข็ม
เข็มศิลปินแห่งชาติแล้วก็โล่ห์เชิดชูเกียรติ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้นะครับในภาคกลางวัน ในส่วนของภาคกลางคืนก็จะมี
งานเลี้ยงแสดงความยินดี มีนิทรรศการประวัติและผลงานภูมิปัญญาของศิลปินแห่งชาติท่านใหม่ ซึ่งปีนี้เราได้ประกาศ 9 ท่าน ในภาคกลางคืนนี้ก็จะมีการแสดงที่เขาเรียกการแสดง
เชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ก็จะเริ่มตั้งแต่เวลา 19 นาฬิกาเป็นต้นไปจนถึงซักประมาณ 23 นาฬิกาประมาณนี้นะครับไม่เกิน
          ส่วนใหญ่เราจะนำเสนอ ความเป็นอัตลักษณ์หรือความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปินแห่งชาติในแต่ละคน นำมาร้อยเรียงกันเพื่อเป็นการแสดงบนเวที โดยเอาความสามารถของ
ศิลปินแต่ละท่านขึ้นบนเวที จัดลำดับความสำคัญให้เท่าเทียมกัน แต่ว่าวิธีการร้อยเรียงอาจจะเป็นศิลปินสาขาวรรณศิลป์มาก่อน มีการแสดงก็จะเกี่ยวเนื่องกับงาน นวนิยายหรืองานที่
ท่านได้สร้างสรรค์ขึ้นมา ตัวละครมาหรือว่าดารานักแสดงที่เคยแสดง ที่เกี่ยวข้องนี่มาแสดง ส่วนในเรื่องของศิลปะการแสดงก็อย่าง ก็อาจจะมาแสดงสดๆบนเวที จะเป็นประมาณนี้
ส่วนที่เป็นเรื่องของจิตรกรรม เรื่องของงานทัศนศิลป์ ศิลปินโดยส่วนใหญ่ท่านก็จะมาแสดงพลังการวาดภาพบนเวที สำหรับศิลปินแห่งชาติ ได้ประกาศไปแล้ว 9 ท่าน ศิลปินแห่งชาติ
มี 3 สาขา ขออนุญาตในสาขาทัศนศิลป์ สำหรับปี 2557
          1. ท่านแรกอาจารย์ช่วง มูลพินิจ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ด้านจิตรกรรม
          2. ท่านธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ทางด้านสถาปัตยกรรม
          3. นางรำไพพรรณ สุวรรณสาร อาจารย์เจริญ มาลาโรจน์ และคุณวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์
          4. คุณนิตยา รากแก่น ในการแสดงคุณบานเย็น รากแก่นราชินีหมอลำ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
          5. คุณยืนยง โอภากุล ศิลปินแห่งชาติสาขาด้านดนตรีไทยสากลนะครับ
          6. อาจารย์เฉลิม ม่วงแพรศรี ศิลปินแห่งชาติสาขาด้านดนตรีไทย


ภาพจาก Web Site
http://www.lpru.ac.th/news_lpru/wp-content/uploads/2015/10/news-301058.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          หลักเกณฑ์ที่ง่ายๆสำหรับคนทั่วไป คือความละเอียดในหลักเกณฑ์นี่มีอยู่ ถ้าเราจำกันง่ายๆก็คือว่า หนึ่งศิลปินแห่งชาตินี่เป็นรางวัลที่ให้กับบุคคลทางด้านศิลปะที่มีคุณสมบัติ
อย่างนี้ครับ หนึ่งก็คือเป็นคนที่มีชีวิตอยู่และเป็นสัญชาติไทย อันนั้นเป็นรางวัลที่ให้กับคนที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น คนที่ถึงแก่กรรมไปแล้วไม่มีสิทธิ์ส่งสมัครหรือคัดเลือกเข้ามาเป็นศิลปิน
แห่งชาติ สองก็จะต้องสร้างสรรค์งานอย่างต่อเนื่อง แล้วก็งานที่สร้างสรรค์ก็จะต้องเป็นงานที่ให้ประโยชน์กับสังคมนะครับ แล้วก็เป็นงานที่สร้างสรรค์สังคมให้มีคุณธรรมหรือว่าสะท้อน
แง่คิดของสังคม อันนี้ก็จะเป็นเรื่องของเกณฑ์ในการตัดสินคร่าวๆอันนี้ดูในเรื่องของคุณสมบัติ แต่ถ้ามาดูในเรื่องของผลงาน ต้องเป็นผลงานที่มีความจริง ให้อารมณ์ให้คุณค่าเรื่อง
ของสร้างพลังแล้วก็สติปัญญา แล้วก็ให้ความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ส่งเสริมจินตนาการ ก็จะเป็นพวกงานลักษณะแบบนี้ การสมัครเข้ามาจะมีหนังสือไปถึงสมาคม สถาบัน มูลนิธิ ชมรม
ที่เกี่ยวข้องกับศิลปิน ที่จะส่งสมัครนี่นะครับให้เป็นคนนำเสนอรายชื่อเข้ามาเพื่อให้กรรมการในแต่ละชุด ตั้งแต่ชุดเล็กจนถึงชุดใหญ่ได้ ได้พิจารณาคุณสมบัติว่ามีความครบถ้วน


ภาพจาก Web Site
http://www.thailandexhibition.com/images/fileupload_E76/E76_13060.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          ในส่วนของกรรมการ เมื่อก่อนการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ยังทำอยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติในช่วงแรกๆ เพราะฉะนั้นในช่วงนั้นคณะกรรมการ
ก็จะเป็นกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติโดยตำแหน่ง จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ แต่ตอนนี้เราได้มีการยกให้หน่วยงานของเราจากเดิมสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น
กรมส่งเสริมวัฒนธรรมภายใต้กระทรวงวัฒนธรรม และก็ได้มีการทำพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นมาใหม่ เพราะฉะนั้นในการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นกรรมการนี่ก็ต้องมีคำสั่ง
จากนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เราแต่งตั้งกันภายในเองของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ซึ่งกรรมการจะประกอบไปด้วยชุด เขาเรียกว่าชุดกลั่นกรองเบื้องต้น ซึ่งชุดนี้ก็จะมีผู้ทรงคุณวุฒิ หรือศิลปิน
แห่งชาตินะครับมากลั่นกรองคนที่สมัครกันมาในแต่ละปีนะครับ ถูกส่งเข้ามา ว่ามีคุณสมบัติหรือเอกสารเป็นไปตามเกณฑ์ประกาศหรือเปล่า
          เมื่อกลั่นกรองเสร็จแล้วก็จะส่งต่อไปยังชุดที่สอง คือเป็นกรรมการเขาเรียกว่าเป็นอนุกรรมการคัดเลือกในแต่ละสาขา เพราะฉะนั้นในแต่ละสาขาจะมีคณะอนุกรรมการ ที่เป็น
ศิลปินแห่งชาติ ครับมาที่คุณสมบัติของกรรมการสัก จะเป็นศิลปินแห่งชาติในปีก่อนก่อนนี้ สองก็เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องนะครับและเป็นที่ยอมรับในสังคม
          ในแต่ละสาขาก็จะมีกรรมการที่ประกอบไปด้วยบุคคลเหล่านี้คัดเลือก แล้วก็มีการพิจารณาในการดูคุณสมบัติ ดูผลงานดูอะไรต่างๆกัน ใช้เวลาหลายเดือนอยู่นะครับในการประชุม
กันไม่น้อยกว่าบางสาขาหลายครั้งด้วยกันในการประชุมกัน เพื่อที่จะให้ได้บุคคลที่ ที่โดดเด่นจริงๆในปี ส่งต่อไปที่คณะกรรมการและอำนวยการ คือส่งขึ้นไปเรื่อยๆ คณะกรรมการและ
อำนวยการก็จะพิจารณาตามที่คณะกรรมการชุดอนุกรรมการนี่พิจารณา และสุดท้ายเมื่อผ่านคณะกรรมการชุดใหญ่ จะส่งไปให้คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งมีท่าน
นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หรือรองนายกที่ได้รับมอบหมาย มี รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆแล้วก็ปลัดกระทรวงต่างๆ คณะทำงานชุดนี้นะครับก็จะลงนามประกาศ


ภาพจาก Web Site
https://f.ptcdn.info/255/021/000/1405415924-sunjon57p1-o.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          ขั้นตอนจะมีสี่คณะเป็นขั้นตอนในการคัดเลือกจะไม่เท่ากันในแต่ละสาขา จะไม่เท่ากันแต่ว่ากรมส่งเสริมเป็นฝ่ายเลขานุการในทุกคณะกรรมการ ศิลปินแห่งชาติเมื่อได้รับการ
ยกย่องเชิดชูเกียรติแล้ว
          เมื่อท่านได้รับการเชิดชูเป็นศิลปินแห่งชาติจะได้รับการอะไรบ้าง
          1. อันดับแรกคือ จะนำศิลปินแห่งชาติ เข้าเฝ้ารับพระราชทานเข็มทองคำ เข็มที่ออกแบบเฉพาะเป็นเข็มศิลปินแห่งชาติทำจากทองคำและก็สลักชื่อของศิลปินแต่ละท่านไว้
ด้านหลังแล้วก็มีโล่เกียรติยศ โล่ห์เชิดชูเกียรติโดยรับจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ก็ลักษณะของเข็ม มีการอัญเชิญตราประจำรัชกาลเป็นตราสัญลักษณ์
ภปร. มาอยู่ด้วยบนส่วนยอดของเข็ม แล้วก็จะมีลักษณะมีดอกบัวเป็นกลีบ เพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองงอกงามทางด้านของเรื่องของความรู้ จะได้รับการออกแบบโดยศิลปิน
แห่งชาติ เข็มนี่เป็นเข็มที่มีลักษณะเฉพาะ แต่ละท่านเพราะว่ามีการสลักชื่อ
          2. ส่วนประการที่สองในการดูแล เรื่องของเงินค่าตอบแทน ไม่ใช่เงินเดือน เป็นค่าตอบแทนศิลปินแห่งชาติที่เราจ่ายดูแลให้ทุกเดือน เดือนละ 20,000 บาท
          3. สวัสดิการรักษาพยาบาล เทียบเท่าข้าราชการระดับ 9 เหมือนกับข้าราชการ แล้วก็ในส่วนของประสบอุทกภัยหรือว่าไฟไหม้ วาตภัย ก็จะมีเงินช่วยเหลือในแต่ละครั้งซึ่งเป็นไป
ตามกฎกระทรวง
          4. ศิลปินแห่งชาติจนถึงถึงแก่กรรม แล้วก็จะมีการขอพระราชทานเพลิงศพให้ ทำหนังสือประวัติทำให้จะมีงบประมาณดูแลส่วนนี้



นางสาวอุษณีย์ โฉมฉายแสง  เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
กลุ่มรายการที่ 4/8-57
CD-A4(1/3)-57