เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับนาโยน
โดย...อาจารย์กฤชกมล  สร้อยสังวาลย์
อาจารย์ประจำแผนกก่อสร้าง
วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)

          การทำนาตั้งแต่เดิมเขาจะทำเป็นนาดำ อีกแบบเป็นพวกนาหว่านน้ำตม ช่วง 4-5 ปีให้หลังมาก็จะมีเกษตรกรได้คิดวิธีการที่ทำเป็นแบบนาโยน โดยปลูกข้าวแล้วนำไปโยนกล้า
ลงในแปลงนาให้ผลดีกว่าที่เป็นลักษณะของงาดำเนื่องจากว่านาดำ ต้นข้าวยังกระทบกระเทือนรากเวลาจะไปดำแล้วก็ต้องฟื้นตัวแต่ในความรู้สึกของเราเหมือนกับว่านาโยนไป อาจจะ
ขึ้นไม่เป็นระเบียบหรือเปล่า ขึ้นอยู่กับคนที่ ส่วนใหญ่แล้วนาโยนปัจจุบันจะดี จากการลงทำวิจัยจะได้ผลดีกว่านาหว่านน้ำตม นาหว่านคือนำเมล็ดพันธุ์ข้าวหว่านลงไปให้เขางอกขึ้นมาเอง


ภาพจาก Web Site
http://122.155.92.12/centerapp/Common/GetFile.aspx?FileUrl=~/Uploads/Image/2558/06/09/PNEVN580609001000103_
09062015_090425.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          โครงการนี้ก็ได้มาจากแนวความคิดของเกษตรกรที่อำเภอบ้านหมี่ที่เขาไปทำนาโยนโดยที่เขาเพาะเมล็ดพันธุ์ลงไปในถาดโดยที่ไม่มีเครื่อง โดยเอาเมล็ดพันธุ์โรยไปใน แล้ว
ก็เพาะขึ้นมาแล้วก็เอาไปโยนลงนา แต่ว่าการที่ใช้เมล็ดพันธุ์โรยจะเสียเวลาในการทำ แนวคิดตรงนี้มาว่า ถ้ามีเครื่องขนาดเล็กๆ ไปให้เขาใช้แทนการโรยด้วยมือ ซึ่งไม่สม่ำเสมอน่า
จะดีกว่าที่จะใช้มือโรย แนวความคิดตรงนี้ขึ้นมาแล้วก็พอดีสำนักวิจัยแห่งชาติมีโครงการที่จะหาเครื่องมือที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับชาวนาที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว มีโครงการเข้ามา
ทางวิทยาลัยคุยกับทางนักศึกษาว่า ควรจะคิดทำอะไรที่เกี่ยวกับชาวนาทางลพบุรี


ภาพจาก Web Site
http://www.rakbankerd.com/kaset/Rice/7854_3.jpg
http://i1369.photobucket.com/albums/ag233/batistula/Rice%20Farmer/IMG_0334_zpsb9c04860.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          การเพาะเมล็ดพันธุ์ใช้เวลานานเป็นต้นกล้าไปโยน เมล็ดพันธุ์ที่ไปโยนได้ก็ใช้เวลาประมาณ 12 - 15 วันไม่เกิน 20 วันก็สามารถที่จะเอาต้นกล้าไปโยนลงนาได้ จะมีการเตรียม
แปลงที่นา จะต้องมีการคราดมีการปรับที่เขาเรียกว่าปรับแปลงนาไว้ เตรียมดินเตรียมทุกอย่างไว้ให้แล้วเสร็จก่อน ใส่น้ำลงไปในที่นาที่เตรียมเสร็จแล้วให้น้ำสูงกว่าระดับดินอยู่ประมาณ
2 เซนติเมตร ต้นกล้าถึงจะฟื้นตัว ประมาณ 3 วัน ก็ตั้งตัวได้ โยนลงไปต้นกล้าก็จะล้ม ไม่สม่ำเสมอ ประมาณเขาตั้งตัวได้ 3 วัน ตั้งตัวขึ้น หลังจากนั้นเติมน้ำลงไปให้สูงซัก 5 เซนติเมตร
เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวเราทำขึ้นมามีคุณสมบัติ คือ สามารถที่จะโรยเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ 2000 ถาดต่อวัน ถ้าเทียบกับการใช้แรงงานคนที่ใช้มือโรยทั่วๆไป ใน 8 ชั่วโมงต่อวันได้
ประมาณ 50-70 ถาดต่อวัน เมล็ดข้าว 1 ถาดจะมีต้นกล้าประมาณได้ต้นกล้าประมาณ 434 ต้น แต่สำหรับ 1 วัน เครื่องจะโยนได้ 2000 ถาด ส่วนคนใน 1 วันใช้เวลาโยนได้วันละ
ประมาณ 50-70 ถาดจะได้ประมาณพื้นที่ประมาณ 4-5 ไร่ ไร่หนึ่งจะใช้ประหยัดแรงงานได้ และประหยัดเมล็ดพันธุ์กว่า


ภาพจาก Web Site
https://i.ytimg.com/vi/KVDkTzKCJ18/hqdefault.jpg
http://www.matichon.co.th/online/2014/09/14108546721410855215l.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวขนาดใหญ่กว้างแค่ 15 เซนติเมตรยาว 60 เซนติเมตร เป็นเครื่องเล็กๆแล้วนำมาโรย โดยติดตั้งบนรางซึ่งเราทำเป็นโต๊ะชาวบ้านทำได้ การติดต่อ
เครื่องยนต์ จะเป็นแบบใช้เครื่องยนต์หรือว่าใช้คนเดิน การใช้คนคือใช้คนเดินเดินลากไปบนโต๊ะ นำถาดวางไว้บนแท่น บนแท่นโต๊ะแล้วก็ใช้เครื่องตัวเดินลากไป เครื่องได้ผลิตมาเป็น
สองตัว ตัวหนึ่งจะโรยดินไปก่อน ตัวหนึ่งจะโรยดินลงไปบนถาดครึ่งถาดครึ่งหลุม แล้วอีกเครื่องหนึ่งจะโรยเมล็ดพันธุ์ลงไปได้ประมาณ 3 ถึง 5 เมล็ดต่อหลุม แล้วเครื่องโรยดินโรยดิน
กลบ ทับอีกทีหนึ่งมี 3 ขั้นตอนนี้วันหนึ่งจะได้ประมาณ 2000 ถาด
          ใช้เวลาปรับปรุงเครื่องโยนข้าวประมาณปีกว่า เพราะว่าตอนแรกเลยออกมาจะปรับระยะไม่ได้ เมล็ดพันธุ์แต่ละพันธุ์เล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ต้องมีการแก้ไขเรื่องปรับช่องที่จะปรับ
ระยะให้เมล็ดพันธุ์ลง ลงให้เฉลี่ยได้ 3 ถึง 5 เมล็ดเพื่อไม่ให้เมล็ดพันธุ์เปลืองในการโรย ในตอนการใช้คนโยนเมล็ดข้าวจะมีปัญหา เวลาที่เป็นคนโยนเมล็ดอาจจะทำให้ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม
หรือว่าเป็นกระจุก คนที่จะเอาตุงข้าวไปโยน ถ้าเขาโยนไม่เฉลี่ยไปก็จะเป็นกลุ่ม แล้วก็เราก็ต้องไปแซมถ้าตรงไหนห่างก็ต้องไปโยนซ้ำ 3 วัน หลังจาก 3 วัน พอตั้งตรงจะมองเห็นช่อง
ว่าง จะต้องไปโยนซ้ำอีกเล็กน้อยเหมือนกับไปซ่อม เหมือนกับที่เขาดำนาหรือนาหว่านทั่วๆ ถ้ามีปัญหาไปซ่อม แต่สำหรับเครื่องหยอดข้าวสำหรับนาโยนไม่มีปัญหา ในการโรยเมล็ด
ทำงานเพราะว่าซ่อมแซมอะไรก็ง่าย ที่เห็นผลเพราะได้นำเครื่องหยอดเมล็ดข้าวสำหรับนาโยนไปทำกับนาข้าวจริงๆ ทดลองวิจัยข้อมูลในเรื่องของปริมาณเมล็ดพันธุ์อะไรต่างๆ
เทียบกันไว้ ต้นทุนในการผลิตประมาณ ต้นทุนถ้าเราไม่นับถึง ถึงที่เราลองผิดลองถูกประมาณ ชุดหนึ่ง ประมาณ 5,000 บาท ถึง 5,500 บาท


ภาพจาก Web Site
http://www.thaiseedtray.com/image/mypic_article/parachute_9.jpg
http://www.rakbankerd.com/ckfinder/userfiles/images/RICE/parachute007.gif
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          ในด้านการผลิตถือว่าค่อนข้างประหยัดที่สุดเราทำหลาย ๆ เครื่อง คือเกิดจากวัสดุที่ซื้อมาแล้ว ถ้าทำจำนวนน้อยราคาจะแพงไม่คุ้มค่าวัสดุ แต่ถ้าครั้งหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 10 เครื่อง
จำนวนเท่านี้การซื้อค่าวัสดุจะอยู่ที่ต้นทุนราคาคุ้มค่าถูกลงมากกว่าทำไม่ถึง 10 เครื่อง ปัญหาจากการทดสอบและใช้งานจริง อายุการใช้งานตอนนี้ใช้อยู่ 2 ปี ก็ยังใช้ได้อยู่ไม่มีเสียปัญหา
ของเครื่องหยอดเมล็ดข้าวข้าวสำหรับนาโยนเกิดจากพวกเพลาลูกกลิ้งเรื่องพวกนี้ซ่อมแซมได้ คือชาวนาคนที่ใช้เครื่อง สามารถจะใช้เครื่องมือเบื้องต้น ที่มีอยู่ในบ้านเรือนปรับซ่อม
แซมได้เองไม่ต้องจ้างช่าง ถือว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน ไม่ต้องใช้เครื่องยนต์อะไรเข้ามาเกี่ยวข้องมากนัก น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัมกว่า หน้ากว้างแค่ 15 เซนติเมตร ใน
เรื่องของการปรับปรุงและพัฒนาระยะในการโรยเมล็ดข้าว เรื่องของตัวล็อคเพราะว่าเวลา พอไปหยุดเวลาโรยไปได้ระยะช่วงหนึ่ง เมล็ดก็ยังไหลลงอยู่ ต้องไปปรับตัวล็อคเพื่อไม่ให้เมล็ด
นั้นไหลลงไปได้อีก ได้ปรับแต่งไป 2 จุดแล้ว ทดลองแล้วไม่มีปัญหา


ภาพจาก Web Site
https://i.ytimg.com/vi/ZCiWkHAw8QM/maxresdefault.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/file_data/201204/13/5749290f7.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          การทำนาโยนโดยใช้เมล็ดต้นกล้าจากเครื่องหยอด ใช้ได้กับเมล็ดทุกขนาด ตอนนี้ปรับได้กับเมล็ดทุกสายพันธุ์ ทุกขนาด เพราะว่าข้าวนั้นมีอยู่หลายพันธุ์เมล็ดทุกขนาดปรับ
ได้แล้ว การใช้เครื่องข้าวสำหรับนาโยนนี้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดของเมล็ดพันธุ์ วัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องหยอดเมล็ดข้าวข้าวสำหรับนาโยนใช้สแตนเลสเป็นตัวโครงของเครื่อง
เพราะว่าจะไม่เป็นสนิม ส่วนแกนที่ใช้ผลักเมล็ด จะใช้เป็น pvc นำไปกัดกลึงให้เป็นเฟือง ให้มีร่องที่จะผลักเมล็ดได้ตามขนาดที่เราต้องการ ตรงแกนตรงร่องคือหัวใจสำคัญของเครื่อง
หยอดเมล็ดข้าวข้าวสำหรับนาโยน


ภาพจาก Web Site
http://image.bangkokbiznews.com/media/images/size5/2012/08/14/6ddcgfdkiabcck8g8eg6e.jpg
http://www.matichon.co.th/online/2015/05/14307133231430713348l.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

          เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับนาโยนตอนนี้พอหลังจากที่ได้รางวัลจากสำนักวิจัยแห่งชาติมีคนนำเครื่องข้าวสำหรับนาโยนที่มีไปเป็นตัวอย่าง แล้วก็ไปทำไปต่อยอด รู้สึกว่าจะ
ไปใส่เครื่องจักรเครื่องกล เข้าไป แต่ทางเราไม่ได้ดำเนินการต่อหลังจากนั้น แต่ว่าสามารถจะไปทำต่อได้มาก เพราะว่าได้ให้คำปรึกษากับบางท่านว่าสามารถทำได้ต่อยอดได้อีกหลาย
เช่นจะไปหยอดเมล็ดพันธุ์ผักลงถาดเพาะ การปรับปรุงเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับนาโยน ค่อนข้างจะเรียกว่ามาตรฐาน ใกล้ 100% ถือว่าเป็นประโยชน์ที่ทางเกษตรกรจะได้รับ


ภาพจาก Web Site
https://3.bp.blogspot.com/--kQ60I3Cz_E/VX-OSOsfKWI/AAAAAAAAOHY/7bBRJRM20dI/s1600/IMG_2631a.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 24-1-60

         ในการใช้เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับนาโยน ประโยชน์ด้านอื่นๆที่ตามมาน่าจะเป็นประหยัดเมล็ดพันธุ์ เพราะว่าถ้าเป็นนาหว่านจะใช้ประมาณ 30 กิโลกรัม ใช้เมล็ดพันธุ์
ในแต่ละครั้ง แต่พอมาเป็นนาโยนใช้เมล็ดพันธุ์ แค่ประมาณ 3 ถึง 5 กิโลกรัม ถือว่าประหยัดเมล็ดพันธุ์ลงไปได้เยอะมาก ต่อไร่เทียบต่อไร่ และเรื่องเป็นนาโยนของเครื่องหยอดเมล็ด
พันธุ์ข้าวสำหรับนาโยน พวกวัชพืช พวกข้าวดีดข้าวเสียไม่สมบูรณ์จะน้อย เพราะว่านำข้าวไปแช่ก่อนวันหนึ่ง เมล็ดลีบเมล็ดด่างจะลอยเราก็คัดทิ้งเสียก่อน พอไม่มีข้าวดีดไม่มีวัชพืช
การจะใช้สารเคมีที่จะไปกำจัดลดลงประหยัดลง และได้ผลผลิตต่อไร่มากไปด้วย




นางสาวอุษณีย์ โฉมฉายแสง  เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์ / เทคโนโลยี
กลุ่มรายการที่ 2/7-57
CD-A2(1/3)-57