ฝุ่นละอองและผลต่อสุขภาพ
โดย... คุณธัชชา รัมมะศักดิ์
อาชีพ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร
อีเมล์ : thoucha@hotmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
ฝุ่นละอองที่ฟุ้งกระจายล่องลอยในอากาศมีทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลว
มีหลากหลายขนาดตั้งแต่ฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (Total Suspended
Particulate Matter, TSP) ฝุ่นหยาบขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (Particulate Matter
with an aerodynamic diameter less than or equal to a nominal 10 micro-
meters, PM10) จนถึงฝุ่นละเอียดขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และฝุ่นละเอียดขนาดเล็กมาก
ขนาดไม่เกิน 0.1 ไมครอน (PM0.1) ฝุ่นละอองขนาดใหญ่จะตกลงสู่
พื้นด้วยแรงดึงดูดของโลก ส่วนฝุ่นขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน สามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน
ปะปนในอากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปและส่งผลต่อสุขภาพอนามัย
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
11-1-59
|
|
ฝุ่นละอองมีที่มาทั้งจากธรรมชาติ
เช่น ละอองดิน ฝุ่นทราย ที่ปลิวขึ้นมาจากพื้นดินเนื่องจากลมพัด เขม่าควันจากไฟป่า
ละอองเกลือจากน้ำทะเล และฝุ่นที่มาจากกิจกรรม
ของมนุษย์ เช่น ฝุ่นจากการก่อสร้าง ฝุ่นจากการคมนาคมขนส่งบนท้องถนน เขม่าจากท่อไอเสียรถจักรยานยนต์และรถยนต์
ฝุ่นควันจากปล่องระบายควันจากเตาเผาศพ เตาเผา
ขยะ โรงงานอุตสาหกรรม และการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรในที่โล่ง เป็นต้น
อันตรายจากฝุ่นละอองที่ลอยเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจขึ้นอยู่กับขนาด
ปริมาณ คุณสมบัติทางเคมี และองค์ประกอบทางชีวภาพ ฝุ่นละอองเมื่อล่องลอยเข้าสู่ทางเดินหายใจ
ก็จะตกสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ในระบบทางเดินหายใจขึ้นอยู่กับขนาด ฝุ่นหยาบจะถูกกรองโดยขนจมูกและตกอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น
ส่วนฝุ่นละเอียดและฝุ่นละเอียด
ขนาดเล็กมากในลมหายใจก็จะผ่านเข้าสู่หลอดลมใหญ่ หลอดลมฝอยและลงลึกถึงถุงลมปอดและถ้าหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าไปในปริมาณมากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากตาม
ไปด้วย ปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำการรับสัมผัสฝุ่นที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะได้รับอันตรายจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองในอากาศ
ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยโรคปอด
โรคหัวใจ ผู้สูงอายุ และเด็ก
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
11-1-59
|
|
อันตรายจากคุณสมบัติทางเคมีและองค์ประกอบของฝุ่นละออง
เช่น ฝุ่นละอองที่มีคุณสมบัติเป็นกรด อาจก่อการระคายเคืองและการอักเสบของทางเดินหายใจ
ละอองน้ำลาย
ที่ลอยฟุ้งกระจายในอากาศจากการไอจามของผู้ป่วยที่มีเชื้อโรคติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจ
เช่น เชื้อวัณโรค เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ อาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายและการระบาด
ของโรคในหมู่ประชาชนที่รับสัมผัส ส่วนละอองรา เชื้อแบคทีเรีย และไวรัสที่ล่องลอยปะปนอยู่กับฝุ่นละอองก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเช่นกัน
โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่ต้องดูแล
สุขภาพเป็นพิเศษ เช่น กลุ่มบุคคลที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะที่จำเป็นต้องใช้ยากดระบบภูมิคุ้มกัน
เด็ก และผู้สูงอายุ เป็นต้น
เมื่อฝุ่นละอองเข้าสู่ทางเดินหายใจอาจจะก่อให้เกิดปฏิกิริยากับร่างกายเฉียบพลัน
ตั้งแต่การระคายเคือง ไอ จาม น้ำมูกไหล ก่ออาการแพ้ ในระยะต่อมาอาจก่อให้เกิดการ
อักเสบในโพรงจมูก มีน้ำมูกข้นเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว และอาการอาจพัฒนามากขึ้นทำเกิดโรคทางเดินหายใจหรือติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรัง
ไอมีเสมหะ หลอดลม
อักเสบ การรับสัมผัสฝุ่นหยาบ ฝุ่นละเอียด และฝุ่นละเอียดขนาดเล็กมากเรื้อรังเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองเรื้อรัง
เกิดพังผืดหรือรอยแผลเป็น
ภายในปอดส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง
ฝุ่นละอองส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้รับสัมผัส
ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองหรือหมอกควัน ถ้าจำเป็นต้องอยู่ในที่มีฝุ่นละอองฟุ้งกระจายควรใช้หน้า
กากอนามัยปิดปากและจมูก และควรซักทำความสะอาดทุกวันถ้าใช้หน้ากากอนามัยชนิดผ้า
หรือเปลี่ยนหน้ากากอนามัย (ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง) ทุกวันเพื่อสุขอนามัยที่ดี
สำหรับผู้
ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคภูมิแพ้
โรคหอบหืด ควรเตรียมยาประจำตัวให้พร้อมใช้ในกรณีที่มีอาการกำเริบ และหากมีอาการ
แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ควรรีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
กรมควบคุมมลพิษ. (2546). คู่มือการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
www.ecan.govt.nz/publications/Plans/health-impacts-lit-review.pdf
www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0006/189051/Health-effects-of-particulate-matter-final-Eng.pdf
http://cfpub.epa.gov/ncea/risk/recordisplay.cfm?deid=247132&CFID=40698238&CFTOKEN=44651096
|