ค่านิยมที่ปรากฏในการตั้งชื่อ
โดย...คุณวิยะดา วรธนานันท์
หัวหน้าฝ่ายบริหารการฝึกอบรม
สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557) |
ชื่อคือสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นเป็นคำต่างๆเพื่อใช้เรียกแทนคน
สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมที่สามารถสัมผัสหรือรู้สึกได้เพื่อนำมาเรียกหรืออ้างถึงการใช้ชื่อเรียกแทนบุคคล
นั้นเป็นสิ่งที่มีมาตั้งแต่เกิด ถ้าหากว่าไม่ได้เป็นคนเร่ร่อน ตามกฎหมายแล้วบังคับให้ประชาชนทุกคนต้องมีชื่อตั้งแต่เกิด
ซึ่งชื่อก็อาจจะซ้ำกันได้บ้าง สำหรับความเชื่อของคนไทยชื่อไม่
เป็นเพียงสิ่งสมมติที่ใช้เรียกขานแทนตัวเท่านั้น แต่ว่ายังสะท้อนให้เห็นค่านิยมวัฒนธรรมของท้องถิ่น
ภาพจาก
Web Site
http://d.lnwfile.com/_/d/_raw/4x/cn/ha.jpg
http://d.lnwfile.com/_/d/_raw/ha/8y/rb.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
27-2-60 |
|
ความเป็นมาของการวิวัฒนาการการตั้งชื่อของคนไทย
คนไทยมีความผูกพันกับการมีชื่อ
เป็นสัญลักษณ์ว่าเราเป็นใครมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จะมีลักษณะของการใช้ชื่อที่เป็นคำพยางค์เดียวเป็นส่วนใหญ่
เพราะภาษาไทยเป็นภาษาคำ
โดดมีชื่อง่ายๆ เช่น อ้าย อี้ ใส จิต จอด ต่อมาสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรีเริ่มเปลี่ยนจากพยางค์เดียวเป็นสองพยางค์
แต่ก็ยังคงเป็นภาษาไทยล้วนๆอยู่ เพราะว่าการติดต่อสื่อสารกับ
นานาชาติยังน้อย มีชื่อเช่น ทองม้วน ทองดี มา พูน เลื่อน ทองมีต่างๆ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์
ช่วงแรกเป็นช่วงมีการปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในสมัยนี้เราเริ่มมีเรื่อง
ของภาษาบาลีสันสกฤตรับวัฒนธรรมของต่างชาติเข้ามา ทำให้ชื่อเริ่มมีคำในภาษาบาลีและสันสกฤตมาปนแต่คงเป็น
2 พยางค์ สมัยรัชกาลที่ 4 จะมีภาษาบาลีสันสกฤตเข้ามามากขึ้น
เริ่มมีภาษาบาลีสันสกฤตล้วนๆ หรือไทยผสมบาลีสันสกฤต แต่ก็ยังคงไว้ที่สองพยางค์
เช่น สมพล สมพร ธนพล ธนพร พรวดี เริ่มมีสองพยางค์ บุญทิพย์ บุญรักษ์ บุญศรี
บุณยวีร์ ต่างๆ
เริ่มมีลักษณะสองพยางค์ ตรงนี้แสดงว่า อิทธิพลของภาษาบาลีสันสกฤตที่เข้ามาก็ทำให้มีชื่อสองพยางค์
ข่วงรัชกาลที่ 6 มาจนถึงปัจจุบันนี้ ชื่อมีความทันสมัยมากขึ้น มีความเฉพาะเจาะ
จงและมีความยาก มีการออกเสียงที่ต่างๆ อิทธิพลของภาษาบาลีสันสกฤตมาผสมกับภาษาไทยบ้าง
มีทั้งบาลีสันสกฤต ภาษาไทย เขมร จำนวนพยางค์ที่เคยเป็นแค่สองพยางค์จะมี
สามพยางค์ หรือบางทีออกเสียง 4 พยางค์
ภาพจาก
Web Site
http://theluckyname.com/upload/content/wCv7UM5sdASun31244.jpg
https://f.ptcdn.info/386/010/000/1380605309-680572img1-o.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
27-2-60 |
|
ประเภทของภาษาในการตั้งชื่อ
สำรวจจากการตั้งชื่อจะมีอยู่
3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นภาษาไทยล้วนๆเราเรียกว่าภาษาคำโดด เช่น ชื่อ มี สิน
ทอง ดำ แดง ดี คำเหล่านี้เป็นภาษาไทยล้วนๆ กลุ่มที่ 2 เป็นภาษาบาลี
สันสกฤตจะมีมาก ชื่อที่เป็นภาษาบาลีสันสกฤต เช่น ปัญญา วิศิษฐ์ อภิวัฒน์
วรวัฒน์ ทรงคุณ คุณธรรม คำพวกนี้เป็นบาลีสันสกฤตล้วนๆ มีทั้งบาลีอย่างเดียวสันสกฤตอย่างเดียวและบาลี
สันสกฤต และกลุ่มสุดท้ายจะเป็นชื่อกลุ่มของภาษาต่างประเทศนอกเหนือจากบาลีสันสกฤตบางคำเป็นเขมร
หรือมีภาษาอังกฤษเข้ามาปน โดยเฉพาะถ้าอย่างภาษาอังกฤษมักนำมาใช้
เป็นชื่อเล่น เข่น แนน นุ๊ก น้องน็อต น้องโน้ต น้องบาส น้องออย ต่างๆมากมาย
หลักๆโดดเด่นก็จะมีภาษาไทย ภาษาบาลีสันสกฤต ภาษาต่างประเทศ ซึ่งภาษาต่างประเทศนี้ก็มีตั้งแต่
ภาษาอังกฤษ ภาษาเขมรและภาษาอื่นๆ
ภาพจาก
Web Site
http://www.horonumber.com/upload/uppic/1414925467.jpg
http://www.horoguide.com/wp-content/uploads/2012/03/taksa_2.gif
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
27-2-60 |
|
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในการตั้งชื่อ
จากการสำรวจทะเบียนราษฎร์ต่างๆไปพบว่าประมาณไม่น้อยกว่า70เปอร์เซ็นต์
มากที่สุดอันดับหนึ่งคือภาษาบาลีสันสกฤต ดูจากเพื่อนในองค์กรจะนำชื่อจากบาลีสันสกฤตเป็น
อันดับหนึ่งมาอันดับหนึ่ง อันดับสองก็เป็นไทยผสมบาลีสันสกฤต เช่นชื่อบุญเกื้อ
บุญเป็นภาษาบาลีสันสกฤต เกื้อเป็นภาษาไทย บุญเกื้อเป็นคำผสม หรือคำผสมผสาน
เช่น น้ำเพชร น้ำ
เป็นคำไทย เพชรเป็นภาษาสันสกฤตชื่อน้ำเพชร ชื่อนำชัย นำเป็นภาษาไทย ชัยเป็นภาษาบาลีสันสกฤต
เป็นอิทธิพลของภาษาที่สอง อันดับหนึ่งเป็นภาษาบาลีสันสกฤต ภาษาที่สองคือเป็น
ภาษาเขมรบ้างที่ประยุกต์มาเป็นคำแผลง แล้วก็เป็นกลุ่มของภาษาต่างประเทศคือภาษาอังกฤษซึ่งมาเป็นชื่อเล่นตรงนี้
ส่วนภาษาไทยตกไปอยู่อันดับที่สามเพราะว่าอ่านง่าย
ภาพจาก
Web Site
http://www.tlcthai.com/horo/wp-content/uploads/2011/12/%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD.jpg
http://www.pookazza.com/images/stories/esarn-knowledge/taksa_wan_jan.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
27-2-60 |
|
ค่านิยมที่สะท้อนให้เห็นถึงการตั้งชื่อของคนไทย
1. เกิดค่านิยมที่เกิดจากความเชื่อส่วนใหญ่เป็นชื่อที่มีความหมายว่าดี
เช่น สุภาวดี สุวดี สุรพล เพราะแปลว่าดี แสดงว่าเรามีความเชื่อว่าอะไรที่เป็นสิ่งดีๆเหล่านั้น
ควรมาเป็นชื่อ
จะเป็นคำไทยจะเป็นบาลีสันสกฤตก็ต้องเป็นชื่อ จะเป็นชื่อจริงชื่อเล่นเราจะเลือกคำความหมายดีๆมาใช้
2. การตั้งชื่อนั้นสะท้อนถึงความเป็นพุทธศาสนาหรือพุทธศาสนิกชนเพราะมีคำว่าธรรม
วรรณธรรม คุณธรรม ชื่อที่ลงด้วยธรรม คำว่าธรรม แปลว่า สะท้อนว่าความดีกับธรรมะเป็น
เรื่องของแนวคิดทางพุทธศาสนา เทวดา เทพเทวดา อะไรที่เป็นสิ่งดีๆที่เป็นคุณงามความดีในตำนานพุทธศาสนาได้รับเอามาตั้งชื่อเยอะนะคะ
ชื่ออัปสร เทวะ เทวกุล เทวพรหม ต่างๆ
จะมีมาก ตรงนี้แสดงว่าอิทธิพลของความเป็นพุทธศาสนาอยู่ในค่านิยมของการตั้งชื่อเรา
ไม่มีคนตั้งชื่อว่านายบาปะ ไม่มีคนตั้งชื่อว่านายชั่วก็ไม่มี ไม่มีคนตั้งชื่อว่าอะไรที่เป็นความหมาย
ลบลบ
3. คนไทยจะมีลักษณะสังคมมนุษยสัมพันธ์
เพราะเรามองว่าถ้าตั้งชื่อดี จำง่ายคนจะรักเรา แล้วเราก็จะมองว่าถ้าชื่อดีเป็นสิริมงคลกับชีวิต
จนบัดนี้เรายังมีวัฒนธรรมว่า ถ้าเรารู้สึก
ว่าชีวิตไม่ดีเราจะเปลี่ยนชื่อ นำคำความหมายดีๆ เราจะมีเรื่องอักษรกาลกิณีอะไรต่างๆ
เรารู้สึกว่าชื่อเป็นสิ่งสำคัญ เขาบอกว่าคนไทยให้ ความสำคัญกับตัวเอง เพราะเราสังคมมนุษย์
สัมพันธ์ ถ้าชื่อเราดีจะมีความมั่นใจ ถ้าชื่อเราดีจะมีคนรู้จัก ถ้าชื่อเราดีจะเป็นที่ยอมรับ
ถ้าชื่อเราดีจะมีชื่อเสียง
4. ด้านวัฒนธรรมไทย
คนไทยเป็นเมืองเสรีเป็นเมืองมีความสุข ชื่อที่ลงท้ายด้วยคำว่าสุขหรือความหมายที่ดีๆ
ชีวิตชีวา สดใส ชื่อสดใส ชื่อที่เป็นมงคล ที่แปลว่าอารมณ์ดี พริ้ง
เพราสวยงาม ชื่อที่แปลว่างามสวยเยอะมากสำหรับผู้หญิง เพราะเราเป็นเมืองมีความสุข
ชื่อที่แปลว่าอารมณ์ดีๆ แสดงว่าการตั้งชื่อตัวนี้เป็นตัวบ่งบอกให้เรารู้จักคนไทย
รู้จักวัฒนธรรม
ไทย
5. สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยจะมีลักษณะสังคมมนุษยสัมพันธ์
เพราะเรามองว่าถ้าตั้งชื่อดี จำง่ายคนจะรักเรา แล้วเราก็จะมองว่าถ้าชื่อดีเป็นสิริมงคลกับ
ถ้าเรารู้สึกว่าชีวิตไม่ดีเรา
จะเปลี่ยนชื่อ เพราะเราสังคมมนุษย์สัมพันธ์ ถ้าชื่อเราดีจะมีความมั่นใจ ถ้าชื่อเราดีจะมีคนรู้จัก
ถ้าชื่อเราดีจะเป็นที่ยอมรับ ถ้าชื่อเราดีจะมีชื่อเสียง
6. มีวัฒนธรรมของการนับญาติ
การตั้งชื่อจะพบว่าในแต่ละตระกูลจะพยายามตั้งไม่ให้ซ้ำ เพราะเราต้องการให้ตระกูลเรากลุ่มเราเป็นที่ยอมรับ
แต่ในสมัยก่อนก่อนเรามีภาษา
น้อย ที่ได้สะท้อนมาทั้งหมดนี้ก็คือวิถีและวัฒนธรรมที่ปรากฏในการตั้งชื่อ
ตรงนี้ก็จะทำให้เรารู้จักคนไทยได้ผ่านชื่อ
นางสาวอุษณีย์
โฉมฉายแสง
เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/17-57
CD-A1(2/7)-57
|