สงกรานต์ทำอะไรได้มากกว่าการรดน้ำ
รายการสารคดี
ข้อมูลจากสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557) |
ภาพจาก
Web Site
http://scoop.mthai.com/app/uploads/2013/03/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%
AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
1-3-60 |
|
ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีมีหลายคนวางแผนจะทำกิจกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ถ้าเมื่อไรคิดถึงเทศกาลสงกรานต์
เรื่องแรกๆ คือการรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ที่เครารพ หรือ
การรดน้ำสาดน้ำเล่นกันระหว่างเพื่อน หรือการไปเที่ยวในที่ต่างๆ แต่ยังมีกิจกรรมอื่นๆ
อาจจะลืมเลื่อนไปตามกาลเวลา คำว่าสงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง การผ่าน
หรือ การเคลื่อน
ย้าย การอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี เริ่มจากวันที่ 13
เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ หรือวันเริ่มต้นปีใหม่ วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี
มี 3 วันคือ
วันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า วันที่ 14 เป็นวันกลางหรือวันเนา
และวันที่ 15 เป็นวันขึ้นปีใหม่ หรือวันเถลิงศก และการทำบุญในวันสงกรานต์มีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์
การเตรียมงานก่อนเทศกาลสงกรานต์
1.
เครื่องนุ่งห่ม เตรียมเพื่อใส่ในโอกาสไปทำบุญที่วัด เครื่องประดับตกแต่งร่างกายอย่างพิถีพิถัน
2.
ของทำบุญ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ถือเป็นโอกาสจะมีการทำขนม 2 อย่าง
ได้แก่ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวน หรือกะละแมในวันสงกรานต์ นอกจากจะทำขึ้นเพื่อ
ทำบุญแล้ว นำไปแจกกันในหมู่บ้านใกล้เคียง
ภาพจาก
Web Site
http://p1.isanook.com/ho/0/ud/16/80229/bb2.jpg
http://www.chillpainai.com/src/wewakeup/scoop/img_scoop/scoop/Tuk/Ranking/songkran57/Songkran.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
1-3-60 |
|
3.
การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เพื่อให้ดูเรียบร้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูชาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ
รวมทั้งเสื้อผ้าที่ใช้สอยต้องให้สะอาดหมดจดโดยถือว่ากำจัดสิ่ง
สกปรกให้หมดไปพร้อมกับปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
4.
สถานที่ทำบุญ วัดเป็นสถานที่ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ และทำต่อเนื่องกันหลายวัน
นอกจากจะทำความสะอาดกุฎีที่อาศัยแล้วยังต้องทำความสะอาดหอสวดมนต์ โบสถ์วิหาร
ศาลา
การเปรียญ ตลอดจนลานวัด
การทำบุญตักบาตรในวันสงกรานต์
การทำบุญในวันสงกรานต์อาจจะทำการตักบาตรทำบุญ
ที่วัดหรือในบริเวณงานที่จัดไว้แล้ว วิธีตักบาตร ใช้วิธีเรียงแถวและนิมนต์พระเดินตามลำดับ
โดยชายตักบาตรด้วยข้าว หญิง
ตักบาตรด้วยของคาวหวาน ถ้าเต็มบาตรก็ถ่ายใส่ภาชนะอื่น และนิมนต์ท่านรับจนทั่ว
เสร็จแล้วอาจนิมนต์ท่านฉัน ณ สถานที่จัดงาน หรือให้ท่านนำไปฉันที่วัดได้
ในเวลาตักบาตรพระสงฆ์
จะสวดถวายพร บทพาหุง หลังจากนั้นจะช่วยกันยกอาหารคาวหวานไปถวายพระ ขณะพระฉันจะมีการอ่านประกาศสงกรานต์กันในตอนนี้
บางคนอาจจะอยู่ฟังอนุโมทนาถือเป็นการสร็จพิธี
กิจกรรมที่ประชาชนนิยมทำในวันสงกรานต์
การก่อเจดีย์ทราย
จะทำในวันใดวันหนึ่งของวันที่ 13-15 เมษายน ผู้ทำบุญจะช่วยกันขนทรายมาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่างๆ
ในบริเวณวัด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้ใช้ก่อสร้างหรือถมพื้น
ที่เป็นเรื่องที่ถือว่าได้บุญและสนุกสนาน แต่ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องทำทุกวัด
การปล่อยนกปล่อยปลา
การทำบุญเพื่อแสดงความกรุณาต่อสัตว์ นิยมทำในวันสงกรานต์และไม่จำกัดทำในวัดเท่านั้น
ภาพจาก
Web Site
http://www.watsangkaew.com/oldweb/images/stories/sand55/sand_04.JPG
http://www.bloggang.com/data/b/baipak/picture/1468810107.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
1-3-60 |
|
การสรงน้ำพระ
เริ่มต้นด้วยสรงน้ำพระพุทธรูปและภิกษุ สามเณร เพื่อความเป็นสิริมงคลในโอกาสขึ้นปีใหม่
การรดน้ำผู้ใหญ่
คือการแสดงคารวะต่อผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ผู้ร่วมพิธีควรนำผ้า 1
สำรับ คือ ผ้านุ่ง 1 ผืน ผ้าห่ม 1 ผืน ไปมอบให้ผู้ใหญ่ที่เคารพพร้อมกับดอกไม้ธูปเทียน
การรดน้ำ
ผู้ใหญ่ลักษณะนี้มักจะรดหรืออาบท่านจริง ๆ จึงต้องมีผ้าไปมอบให้ ปัจจุบันบางแห่งรดเฉพาะที่ฝ่ามือ
โดยจะนำน้ำหอมเจือในน้ำด้วย แต่ก็ยังคงมีผ้านุ่งห่ม 1 สำรับ และดอกไม้ธูปเทียนไป
แสดงความคารวะ และขอพรท่านจะให้ศีลให้พรให้มีความสุขปีใหม
ภาพจาก
Web Site
http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1523672
http://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1DISdLfE6G65E3kVOOLF92hzZA4kA.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
1-3-60 |
|
การทำบุญอัฐิ
นิยมทำลักษณะนิมนต์พระ ชักบังสุกุลอัฐิของญาติที่ล่วงลับไป และอุทิศส่วนกุศลนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ
หรือถ้าไม่มีอัฐิจะเขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับใส่ใน
กระดาษ เวลาทำบังสุกุลนำกระดาษที่มีชื่อผู้ล่วงลับนำมาเผาเป็นลักษณะคล้ายการเผาศพ
การทำบุญอัฐิจะทำในวันไหนแล้วแต่จะนัดหมายกัน
การสาดน้ำ
ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสงกรานต์ คือ สาดน้ำกันโดยมากจะเริ่มต้นในวันสรงน้ำพระ
แต่บางแห่งเริ่มสงกรานต์เริ่มสาดน้ำกัน ส่วนใหญ่แล้วใช้น้ำสะอาดมีน้ำอบน้ำหอม
หรือแป้งหอมผสม
การแห่นางแมว
บางแห่งอาจมีการแห่นางแมวเพื่อขอฝน ซึ่งเป็นเรื่องสนุกสนานรื่นเริง แต่หวังผลในทางเกษตรกรรม
มีความเชื่อเมื่อเกิดฝนแล้งจะมีพิธีแห่นางแมวขอฝน จะทำกัน
ในช่วงวันทำบุญสงกรานต์
สิ่งที่ได้จากการทำบุญสงกรานต์
1. การแสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งที่ตนเคารพ
ต่อบิดามารดา และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
2. การชำระจิตใจและร่างกายให้สะอาด
3. การรักษาประเพณีมีมาตั้งแต่ดั่งเดิม
4. การสนุกสนานรื่นเริงในรอบปี
และพักจากงานประจำชั่วคราว เพื่อจะไปพักผ่อนหย่อนใจ
5. การเตือนสติว่ามนุษย์นั้นผ่านไป
1 ปี และในรอบปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้าง และควรจะทำอะไรต่อไปในปีที่กำลังจะมาถึง
6. การเตรียมตัวบวชพระ
ส่วนใหญ่จะนิยมในระยะเวลานี้บวช
7. การทำความสะอาดพระ
โต๊ะบูชา อาคารบ้านเรือน ทั้งในและนอกบ้าน
ภาพจาก
Web Site
http://event.sanook.com/wp-content/uploads/2016/08/Songkran1.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
1-3-60 |
|
อย่างไรตามในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีค่านิยมและธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์
ที่แตกต่างกันออกไป สมควรให้คนรุ่นหลังปฏิบัติไปตามนั้นเพื่อเป็นการเคารพภูมิปัญญา
ของบรรพบุรุษที่ได้กลั่นกรองเลือกสรรเห็นว่าเหมาะสมกับท้องถิ่นของตนเอง ดังนั้นการจะเปลี่ยนแปลงใด
ๆ จึงขึ้นกับวิจารณญาณของเจ้าของวัฒนธรรมนั้น ๆโดยตรงที่จะเลือกรับหรือ
ไม่รับสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม
นางสาวอุษณีย์
โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
กลุ่มรายการที่ 4/15-59
CD-A4(2/5)-59
|