รับมือ..ไบโพล่าร์ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว
โดย...นายแพทย์โกวิทย์  นพพร
จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์กรุงเทพมหานคร

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)


ภาพจาก Web Site
http://blogtiengviet.net/media/userss/songxobocat1/kiemchecamxuc.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 28-2-60

          โลกเราทุกวันนี้มีแต่การแข่งขันแก่งแย่งกันตลอดเวลา จนทำให้คนเรานั้นเกิดความเครียดได้ง่าย แล้วก็นำมาซึ่งโรคต่างๆทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวลซึมเศร้า โรคกลุ่มนี้อาจ
จะพอคุ้นหูกันมาบ้างไม่เหมือนอย่างโรคไบโพล่าร์ ความจริงก็โรคนี้อาจจะมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง เพราะว่าชื่อภาษาไทยใช้คำว่าโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว เพราะฉนั้นอาจจะฟังดูทำ
ให้บางคนคิดว่าหมายถึงคนที่อารมณ์ขึ้นขึ้นลงลงเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายอะไรแบบนั้น แต่จริงๆแล้วคือโรคที่อาการสำคัญ คือมีลักษณะอารมณ์การแสดงออกต่างๆเป็น 2 แบบด้วยกัน อาจจะมี
การสลับขั้วกันไปมาหรือว่าเป็นขั้วใดขั้วหนึ่งหลายครั้งกว่าอีกขั้วหนึ่ง เราเรียกง่ายๆ ว่าเป็นขั้วอารมณ์ครื้นเครงผิดปกติ กับอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ โดยที่แต่ละขั้วจะมีระยะของอาการ
ประมาณอาทิตย์สองอาทิตย์ขึ้นไป ไม่ใช่นาทีนี้ครื้นเครง อีกนาทีซึมเศร้า อย่างนี้ก็ถือว่าไม่เข้าข่ายไบโพล่าร์


ภาพจาก Web Site
http://maanow.com/images/%E0%B8%AA%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/%E0
%B9%84%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3_
Bipolar_%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%
B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A7.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 28-2-60

ลักษณะอาการของโรคไบโพล่าร์ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว
          คนที่ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์เนี่ยโดยปกติเขาต้องมีอารมณ์ของเขา ซึ่งเป็นปกติของเขาเป็นคนใจร้อนใจเย็นใจดี เป็นคนขี้หงุดหงิดโมโหสิ่งนี้เป็นปกติ แต่พอเวลาเป็นโรคไบโพล่าร์
ถ้าเกิดเขามีอารมณ์ทางด้านครื้นเครงเขาก็จะเปลี่ยนไป ดูเหมือนมีอารมณ์ดีผิดปกติคุยพูดเก่งคุยเก่ง รู้สึกมีความคิดปราดเปรื่องว่องไวทำอะไรรวดเร็วทันใจ มีไอเดียมากมาย ทำงาน
ไม่หยุด ซึ่งผิดจากเดิมจากปกติของเขา ทำอะไรไม่มีเหตุมีผล เช่น ลุกมาจัดห้องใหม่จัดบ้านใหม่ตอนตี 3 แล้วสึกตัวเองมีพลังมากไม่ต้องการพักผ่อน นอนซักชั่วโมงสองชั่วโมงก็พอ พอ
มีการขัดขวางหรือขัดใจนักๆเข้าเขาจะกลายเป็นคนขี้โมโหฉุนเฉียวอาจจะเริ่มทำร้ายคน อาจจะมีอาการเกี้ยวกราดด่าว่า ถึงขั้นใช้กำลังได้ถ้าหากเขาถูกขัดขวางมากเกินไป เพราะคน
อื่นจะเห็นว่าเขาไม่ได้ผิดปกติ โดยที่เขาไม่รู้ตัวว่าตนเองทำอะไรที่ไม่มีเหตุผล เช่น มีไอเดียอยากทำอะไรแปลกๆ อยากลงทุนมากๆ เพราะฉะนั้นคนพวกจะเริ่มสร้างหนี้สร้างสิน ซื้อข้าว
ซื้อของทั้งที่ไม่จำเป็น อาการแบบที่เราพบทั่วๆไปของคนที่ฝั่งไบโพล่าร์ฝั่งที่เขาเรียกว่าครื้นเครง ได้รับการรักษาอาการก็จะค่อยค่อยเริ่มกลับมาเป็นปกติ
          ถ้าไม่ได้รับการรักษาวันดีคืนดีเขาอาจจะกลับมาเป็นขั้วมาเป็นข้างซึมเศร้า ซึมเศร้าก็จะตรงข้ามกับครื้นเครงทุกอย่าง จากคนที่ร่าเริงกระฉับกระเฉง ก็กลายเป็นคนเฉื่อยชา
เฉยเมย ไม่สนใจอะไรเก็บตัว อาจจะหงุดหงิดรำคาญคนเวลาคนมาเซ้าซี้เขา อารมณ์เศร้าหมองอยากร้องไห้ หดหู่มองอะไรก็เป็นความล้มเหลว เป็นความรู้สึกหมดหวังในชีวิตไปหมด
นะครับ เหตุการณ์ต่างๆในอดีตที่เคยกระทบกระเทือนจิตใจเขาก็อาจจะ ซึ่งอาจจะผ่านไปแล้วหลายปี เขาก็อาจจะกลับมาคิดใหม่ ว่าเป็นอดีตที่ไม่ดีของเขาสิ่งที่ทำให้ชีวิตของเขาล้ม
เหลวมาจนถึงปัจจุบันนี้ แล้วก็อาการสำคัญอย่างอื่นๆ เช่น คนพวกนี้มักจะนอนไม่หลับ เบื่ออาหารรู้สึกว่าตัวเองไม่มีเรี่ยวมีแรง ความคิดความอ่านไม่แล่นสมาธิไม่ดี บางคนก็หงุดหงิด
โดยไม่มีสาเหตุ รำคาญไปหมด สุดท้ายเมื่อเขาคิดถึงสิ่งที่ร้ายๆในชีวิตมากๆเข้า เขาก็อาจจะรู้สึกหมดหวังท้อแท้จนอยากตาย กรณีอย่างนี้จะพบเห็นบ่อย คิดว่าน่าจะบ่อยกว่าอารมณ์
ด้านข้างครื้นเครง เพราะข้างครื้นเครงเวลาเป็นสั้นๆ สังเกตได้ยาก


ภาพจาก Web Site
https://my.kapook.com/imagescontent/fb_img/533/s_533_9873.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 28-2-60

สาเหตุที่ทำให้เกิดของโรคไบโพล่าร์
          ความก้าวหน้าทางวิชาการรู้ว่าในสมองเราจะถูกสั่งงานโดยเซลล์สมอง เซลล์สมองจะทำงานโดยผ่านสารเคมีหลายตัว สารเคมีพวกนี้ เป็นตัวที่ทำให้สมองต่างๆ ทำงานไปตาม
ปกติ จะมีสารเคมีบางตัวที่เกี่ยวข้อง กับความสดชื่นความแจ่มใส สารเคมีบางตัวเกี่ยวข้องกับการมีความคิดริเริ่ม ความขยันขันแข็งเป็นต้น มีหลายตัวด้วยกัน สารเคมีพวกนี้ถ้ามีความ
บกพร่องไป เช่น น้อยไปหรือมากไปจะทำให้เกิดอาการครื้นเครงหรือซึมเศร้า เพราะฉะนั้นสารเคมีพวกนี้ถ้าเสียสมดุลไปก็จะเกิดอาการพวกนี้ การเสียสมดุลตามมีทฤษฎีอันหนึ่งที่เชื่อว่า
น่าจะมาจากความผิดปกติของการถ่ายทอดลักษณะทางกรรมพันธุ์ พวกDNA บ คือ DNA เป็นตัวกำหนดรหัสในการสร้างสารเคมีพวกนี้ ถ้ารหัสDNA ผิดปกติไป ทำให้สร้างสารผิดปกติ
เพราะฉะนั้นความเชื่ออีกอย่างหนึ่ง โรคถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้เพราะกับ DNA


ภาพจาก Web Site
http://www.thailovehealth.com/images/2016/05/thailovehealth_2016-05-07_18-00-22.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 28-2-60



รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไบโพล่าร์
          การสังเกตครับคือส่วนใหญ่คนเป็นไม่ค่อยรู้สึกตัว และถ้ามีอาการเป็นน้อยๆ จะไม่ค่อยรู้สึกตัว และคนเราส่วนใหญ่จะพยายามหาเหตุผลให้ตัวเอง ความผิดปกติเกิดจากสิ่งแวดล้อม
ที่เข้ามากระทบ ความเครียดหนักพอ เช่น สมมุติว่าเราสูญเสียคนที่รักไป ทีนี้พอเวลาผ่านไปซักระยะหนึ่งคนอื่นเขาทำใจได้หมดแล้วถ้าเป็นคนทั่วไป แต่ทำไมผ่านมาหลายปีแล้วยังคิด
ไม่ตก อย่างนี้เราต้องคิดต้องสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคได้ สมมุติว่าเราไปปลอบโยนผิด ก็อาจจะทำให้เขาแย่ลง เช่น คนกำลังซึมเศร้าอยู่ก็ไปบอกว่าเขาผิดหวังเรื่องนั้นเรื่องนี้ แล้วเราไปโทษ
เขา สมมุติว่าเราไปว่าเขาบอกว่าทำไมไม่รู้จักหัดเข้มแข็ง ยิ่งทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นคนไม่ดี ซ้ำเติมทำให้เขายิ่งเศร้าหนักเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นการปลอบใจเขาเราต้องรู้ว่า เราต้อง
สังเกตให้ดีจริงๆแล้วมูลเหตุาจะเป็นอะไร อาการด้านซึมเศร้า อันตรายที่แย่สุดคือ การฆ่าตัวตาย


ภาพจาก Web Site
https://www.jobbkk.com/upload/variety/jobtips/20160310_2981.png
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 28-2-60

แนวทางการรักษาโรคไบโพล่าร์
          เมื่อรู้ว่าเกิดจากการผิดปกติของสารเคมีในสมอง จุดแรกคือการปรับยังไงให้สารเคมี เข้ามาสู่สภาวะ ปัจจุบันมียาหลายตัวซึ่งสามารถเข้าไปปรับได้ และมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง
นะครับ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ถ้ารู้สังเกตว่าญาติ คนใกล้ชิดมีอาการแบบนี้ก็ต้องพยายามหาทางพาเขาไปรักษา แต่ถ้าคนไข้ไม่ร่วมมือแนะนำว่า จริงๆ แล้วเราเป็นญาติเราไปปรึกษา
หมอก่อนได้เล่าอาการให้หมอฟัง ค่อยๆ คิดวางแผนการรักษาอย่างทำให้คนไข้ยอมมารักษา การให้ยากินก่อนเพื่อให้สงบลง ยาเข้าไปปรับสมอง สารเคมีสมองคนไข้ให้กลับมาสู่สมดุลตาม
ปกติ แต่กลไกในการปรับซับซ้อน เพราะฉะนั้นจะต้องผ่านการค่อยค่อยปรับตัวยา แก้ไข ปรับสูตรยาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคนจนกว่าจะเข้าที่ การรักษาโรคไบโพล่าร์ ควรจะพบแพทย์
ด้านจิตเวชเพราะว่า จิตแพทย์จะเป็นคนที่ชำนาญเกี่ยวกับการใช้ยาพวกนี้ มากกว่าแพทย์สาขาอื่น




นางสาวอุษณีย์ โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/16-57
CD-A1(2/7)-57