องค์การสุขภาพสมบูรณ์
โดย... รองศาสตราจารย์ ดร.นิตยา เพ็ญศิรินภา
อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
มหาวิทยาลัยสุขโขทัยธรรมาธิราช
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559) |
ภาพจาก
Web Site
https://img.kapook.com/image/Content.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
3-3-60 |
|
องค์การสุขภาพสมบูรณ์
อาจจะได้ยินเรียกกันหลายๆ ชื่อ เช่น องค์กรน่าอยู่ ที่ทำงานน่าอยู่ หรือองค์กรสุขภาพดีและมีความสุข
สิ่งสำคัญ คือ ความหมายจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพ
คำว่าสุขภาพ หมายถึง ภาวะที่สมบูรณ์ไม่ว่าจะทางด้านร่างกาย ทางด้านใจ ทางด้านสังคม
และทางด้านจิตวิญญาณ ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า ทางด้านปัญญา และคำว่าองค์การสุขภาพสมบูรณ์
คือ องค์การที่มีการดำเนินการในเรื่องของการจัดการที่จะทำให้คนในองค์การมีการส่งเสริมสุขภาพ
พัฒนาให้คนในองค์การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ว่าทางด้านกาย ทางด้านใจ สังคม
จิตวิญญาณ ซึ่งจะนำไปสู่การมีผลลัพธ์ที่ดี ไม่ว่าทางด้านการทำงานหรือทางด้านสุขภาพที่ดีของคนทำงาน
องค์การสุขภาพสมบูรณ์
มีความหมายและองค์ประกอบหลายประการ เริ่มจากทางด้านกาย ได้แก่ คนในองค์การต้องร่างกายแข็งแรง
ไม่เจ็บป่วย ไม่เกิดอุบัติเหตุ อยู่ท่ามกลาง
สภาพแวดล้อมที่ดี เช่น ไม่มีมลภาวะ หรือรวมถึงพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่ดื่มสุรา
ไม่สูบบุหรี่ ทางด้านใจ ได้แก่ มีสุขภาพจิตดี อารมณ์ดี ไม่เครียด สามารถที่จะเผชิญกับความเครียดได้
ทางด้านสังคม จะดูว่าคนที่ทำงานในองค์การสามารถใช้ชีวิตอยู่กับคนอื่นได้
มีเพื่อน ไม่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง เกิดความสามัคคี ท้ายที่สุดทางด้านจิตวิญญาณหรือทางด้านปัญญา
คือว่า รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี สามารถที่จะแยกแยะได้ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงปัจจัยอะไรต่างๆ
ก็จะทำให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ภาพจาก
Web Site
http://www.shineon.in.th/wp-content/uploads/2015/01/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%
E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%
B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%
E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E11.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
3-3-60 |
|
บางครั้งถ้าไปอ่านในหนังสือบางทีพูดถึงว่า
องค์การสุขภาพสมบูรณ์นอกจากใน 4 ด้าน ที่ได้กล่าวไปแล้ว รวมเรื่องอื่นๆ เช่น
การจัดการควรมีการจัดการที่ดี มีกระบวนการส่งเสริม
ให้เกิดกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณที่ดี รวมถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นด้วยว่า เมื่อทำตามสิ่งเหล่านี้จะไปวัดว่าคนในองค์การให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
มีความสุข ไม่เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดน้อย
ไม่อยากจะย้ายออกจากงาน ทำงานด้วยความจงรักภักดี รวมทั้งจะมองครอบคลุมถึงการจัดการกระบวนการ
หรือจะมองที่เป้าหมายสุขภาพดีของคนทำงานในองค์การนั้น ๆ
องค์ประกอบที่จะนำไปสู่องค์การสุขภาพสมบูรณ์
เริ่มจากผู้บริหารกำหนดนโยบาย โดยนำข้อมูลปัญหาสุขภาพ สถิติการเจ็บป่วย การเกิดอุบัติเหตุ
ความเครียดในองค์การ จะทำให้
องค์การดี คนทำงานมีความสุข นำสิ่งเหล่านี้ไปกำหนดเป็นนโยบายออกโดยผู้บริหาร
จัดให้มีการประชุม พิจารณาข้อมูลทำในลักษณะองค์การชี้นำก่อน วิธีการนี้จะมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น
การวางแผนให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมว่าอยากได้กิจกรรมแบบไหน จะทำอะไร จะทำแบบไหน
เมื่อไหร่ ถี่บ่อยแค่ไหน เพื่อให้คนในองค์การเข้าถึงได้ หน่วยงานต้องสนับสนุนงบประมาณ
เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ องค์การหลายแห่งมีแต่นโยบายแต่ไม่สนับสนุนด้านทรัพยากรทำให้งานไม่เกิด
การรายงานติดตามงานในการดำเนินงานมีความก้าวหน้าไปถึงไหน และสุดท้ายเรื่อง
การประเมินผลการดำเนินงานมีผลเป็นอย่างไร
ภาพจาก
Web Site
http://www.thaihealth.or.th/data/content/2014/12/26676/cms/e_bceksuyz1589.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
3-3-60 |
|
วิธีการพัฒนาองค์ประกอบให้เกิดเป็นองค์การสุขภาพสมบูรณ์
1. ประกาศเป็นนโยบาย
ตัวอย่างเช่น กระทรวงสาธารณสุขประกาศนโยบาย ผู้บริหารขององค์การจะต้องไร้พุง
จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆ สิ่งนี้คือเป็นส่วนหนึ่งของ
นโยบาย ทำให้ประชาชนในองค์การรับทราบ
2. ทำให้เกิดการขับเคลื่อนตามนโยบายที่กำหนดไว้
โดยจัดให้มีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร พนักงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
จัดตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบเป็นทางการ
แสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญจะต้องมีการจัดการ
3. มีการสำรวจข้อมูลพื้นฐานขององค์การ
ทำให้เห็นภาพขององค์การ เช่น ข้อมูลการตรวจสุขภาพของพนักงาน หรือข้อมูลการรักษาพยาบาล
รวมทั้งข้อมูลการประสบอุบัติเหตุต่างๆ
นำข้อมูลมาประมวล แสดงให้เห็นว่าคนในองค์การมีปัญหาสุขภาพอะไร นำมาจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินการแก้ปัญหาก่อนหลัง
4. กำหนดให้มีการตั้งเป้าหมาย
เช่น คนในองค์การของเราอ้วน น้ำหนักเกินถึง 40 % ต้องมีตั้งเป้าหมายว่า ถ้าใน
3 ปี หรือ 5 ปีข้างหน้า ต้องลดความอ้วน ลงพุง โดยให้มีน้ำหนัก
เกินน้อยกว่า 20 % เมื่อมีการตั้งเป้าหมายจะทำให้มีการวางแผนว่าจะทำอะไรก่อนหลัง
การทำงานที่ดีที่สุดต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของพนักงานภายในองค์การร่วมกันการวางแผน
5. การติดตามกำกับดูแลว่า
ไปในทิศทางที่ได้ผลหรือเปล่า มีการวัดประเมินผลว่า เช่น น้ำหนักลดลงไหม สุขภาพดีขึ้นไหม
เป็นวงจรที่สามารถนำมากลับปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นใน
โครงการครั้งต่อไป หรือต่อยอดขยายไปทำเรื่องอื่นๆ เพิ่มขึ้น
ภาพจาก
Web Site
http://www.lampangcity.go.th/knowledge/imgs/05/k05.png
http://www.siamsafety.com/images/20100810_141245.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
3-3-60 |
|
สาเหตุทำไมต้องพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การสุขภาพสมบูรณ์
เพราะคนทำงานในองค์การใช้ชีวิตไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงที่อยู่ที่ทำงาน สามารถหน่วยงานจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศ
และกิจกรรมในองค์การให้ไปในทิศทางสุขภาพดี ก่อให้ประโยชน์กับบุคลากร และมีผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์การ
ถ้าคนทำงานไม่มีความสุข เกิดความขัดแย้ง หรือสุขภาพไม่ดีลางานบ่อย
เกิดอุบัติเหตุบ่อย มีแต่คนเจ็บป่วย ทำงานไม่ได้เต็มที่ ท้ายที่สุดนำไปสู่ผลลัพธ์ขององค์การที่ไม่ประสบความสำเร็จ
ไม่สามารถไปสู่เป้าหมายที่วางไว้เพราะขาดสมาชิกภายในองค์การที่มี
คุณภาพ
ภาพจาก
Web Site
http://noithatmanhphat.vn/Uploaded_products/img_any/bo-tri-cho-ngoi-trong-van-phong-1.jpg
http://www.novabizz.com/CDC/Home_Design/working/Home-Office-01.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
3-3-60 |
|
ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาองค์การสุขภาพสมบูรณ์
1. เกิดจากองค์การไม่จริงจัง
ผู้บริหารไม่ให้นโยบายที่ชัดเจน ไม่สนับสนุนจริงจัง และผู้บริหารไม่เป็นแบบอย่างที่ดี
เช่น อยากให้คนในองค์การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา แต่ผู้บริหารยัง
สูบบุหรี่ดื่มสุรา เมื่อประกาศนโยบายให้พนักงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ผู้นำไม่เป็นแบบอย่างที่ดีพนักงานก็จะไม่ทำ
2. ปัญหาเกิดจากพฤติกรรม
คนเราใช้ชีวิตมากลายเป็นนิสัย วันหนึ่งบอกจะให้เปลี่ยนวิธีการกิน วิธีการใช้ชีวิต
ออกกำลังกายมากขึ้น ทำให้เป็นไปได้ยาก ดังนั้นต้องมีกิจกรรมจัดการ
เรียนรู้ให้คนตระหนักจากข้างในว่า สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต จะทำให้เกิดขึ้นต้องเรียนรู้การที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง
ก้าวข้ามอุปสรรค แล้วลงมือทำ ให้กำลังใจชื่นชมคนที่มี
สุขภาพดี ทำดี เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์การในเรื่องของค่านิยมเรื่องของสุขภาพ
ในการเริ่มต้นจะทำให้องค์การเป็นองค์การสุขภาพสมบูรณ์
สิ่งสำคัญให้กลับไปสำรวจตัวเอง และพิจารณาข้อมูลในองค์การมีอะไรที่สิ่งบ่งบอกถึงความปัญหาที่ทำให้คนในองค์กร
ไม่มีสุข และนำสิ่งนี้เป็นตัวตั้งหรือเป็นโจทย์ที่จะต้องแก้ปัญหา โดยอาจจะไปเรียนรู้จากองค์การอื่นที่ประสบความสำเร็จ
คนทำงานมีความสุข ไม่อยากจะย้ายไปไหน ลองไปเรียนรู้จาก
องค์การนั้นแล้วจะเกิดแรงบันดาลใจว่า อยากจะทำให้องค์การของเราเป็นองค์การสมบูรณ์อย่างยั่งยืน
นางสาวอุษณีย์
โฉมฉายแสง
เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2559)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/25-59
CD-A1(4/4)-59
|