โรคชอบเปรียบเทียบ
โดย...คุณปรีชยา โตไธสง
อาชีพ นักศึกษา
ต.ชุมพวง อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา
อีเมล์ : preechayatt@gmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
การเอาตัวเราไปเปรียบเทียบกับคนอื่นเป็นเรื่องปกติธรรมดา
เรามักจะอยากรู้ว่าคนอื่นโดยเฉพาะเพื่อนฝูงของเราได้ดิบได้ดีไปถึงไหนแล้ว
ตอนนี้เขาขับรถอะไร
ได้ตำแหน่งระดับไหนแล้ว ลูกๆ ของเขาเรียนโรงเรียนอะไร สอบเข้าอะไรได้ แล้วเอามาเปรียบเทียบกับตัวเราเองว่าเราดีกว่าหรือด้อยกว่า
และก็เป็นธรรมดาที่ใครๆ ก็อยากจะ
ดีกว่าคนอื่น แต่หลายๆ ครั้งการเปรียบเทียบทำให้เราเกิดความรู้สึกว่าเราด้อยกว่าคนอื่น
ความรู้สึกแบบนี้มักเกิดเมื่อ
ภาพจากเว็บไซต์
http://www.dek-d.com/loveroom/25185/
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
9-2-59
|
|
เราเอาตัวไปเปรียบเทียบกับคนอื่นที่มีดีมากกว่าเราโดยเฉพาะเป็นการมีในสิ่งที่เราอยากมีแต่ยังไม่มีหรือยังมีไม่พอและโดยเฉพาะเมื่อเรารู้สึกว่าคนๆ
นั้นเป็นคู่แข่งด้วย
เช่น เราคงไม่รู้สึกด้อยเวลาได้ข่าวนักเรียนไทยได้เหรียญทองชีวะโอลิมปิค
เราชื่นชมว่าเขาเก่ง แต่ความรู้สึกอาจต่างกันถ้านักเรียนคนนั้นเป็นลูกของญาติของเราและเรียนชั้น
เดียวกับเรา
เราเปรียบเทียบตัวเราในปัจจุบันกับอดีตที่เคยรุ่งโรจน์
แต่ก่อนเราอาจจะเป็นนักกีฬาที่เก่งกาจแต่เดี๋ยวนี้ร่างกายอาจจะไม่ไหวแล้ว
แต่ก่อนเราอาจเคยเรียนเก่งมากแต่
เดี๋ยวนี้ด้วยปัญหาต่างๆ ทำให้เราเรียนได้แค่ปานกลาง แต่ก่อนเราเคยมีเงินมากมายแต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ทำให้เรามีหนี้มากมาย
ถ้าเราหมกมุ่นครุ่นคิดเรื่องเหล่านี้เราก็
จะรู้สึกแย่ รู้สึกว่าเรากำลังตกอับ และมักจะคิดไปเองว่าคนอื่นก็มองว่าเรากำลังตกอับด้วย
เราเปรียบเทียบปัจจุบันกับความฝันที่ยังไม่เป็นจริง
เช่น อยากมีบ้านสวยๆ แต่ก็ยังไม่มีสักทีทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่ประสบความสำเร็จ
เป็นคนที่ด้อยกว่าคนอื่น
ภาพจากเว็บไซต์
http://ploy-napat.exteen.com/
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
9-2-59
|
|
หลายๆ
ครั้งเราก็อยู่ของเราดีๆ แต่คนอื่นชอบเอาเราไปเปรียบเทียบกับอีกคนหนึ่งแล้วก็มาตัดสินว่าเราด้อยกว่าและมาพูดให้เราได้ยินด้วยเช่น
บรรดาแม่ๆ มักจะเอาลูก
ของคนอื่นที่เรียนเก่งมาเปรียบเทียบกับลูกของตัวเองแล้วบ่นให้ลูกฟังเพราะหวังจะกระตุ้นให้ลูกเกิดความมานะเอาอย่างคนเก่งๆ
นั่น แต่ลูกอาจกลับเกิดความรู้สึกต่ำต้อยด้อย
กว่าคนอื่น บางครั้งการที่คนอื่นเอาเราไปเปรียบเทียบแล้วมาพูดให้เราได้ยินอาจเป็นการเหน็บแนมไม่ใช่ความหวังดีแบบนี้ก็ได้
การเปรียบเทียบนั้นบางครั้งก็ช่วยให้เราพัฒนาตนเองขึ้นมาถ้าเรารู้สึกด้อยกว่าแล้วเราพยายามปรับปรุงตนเองหรือเมื่อเราอยากเป็นแบบบุคคลที่เราชื่นชมแล้วพยายาม
พัฒนาตนเอง หรือพยายามเอาชนะคำสบประมาทของคนอื่น แต่ถ้าการเปรียบเทียบทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด
ยอมแพ้ เลิกพยายามต่อ หรือเกิดความคิดหาทางกลั่นแกล้งทำลาย
คู่แข่งแทนที่จะพยายามปรับปรุงตนเอง หรือยอมทุ่มเททำทุกอย่างเพื่อให้มีอย่างคนอื่นเขา
แบบนี้ท่าทางเราจะเกิดภาวะการเปรียบเทียบที่เป็นพิษเสียแล้ว
หากคุณมีแนวคิดเช่นนี้
ยิ่งทำให้รู้สึกผิดหวัง ท้อแท้ ไม่มีความมั่นใจและรักตนเองน้อยลงทุกที แต่จะให้เปลี่ยนความคิดแบบปัจจุบันทันด่วนย่อมเป็นไปไม่ได้
เพราะการ
เปลี่ยนแปลงความคิดต้องใช้เวลาพอสมควร และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนจนดีขึ้นเรื่อยๆ
โดยหลักความคิดง่ายๆ ที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ และรักตนเองมากขึ้น มี 12
วิธีหลักๆ ดังนี้
1.
อย่าเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น เป็นหลักการง่ายๆ แต่หลายคนก็ยังทำใจแข็งไม่ได้เสียที
วิธีแก้คือ ต้องทำใจยอมรับตัวตนของเรา ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น สีผิว
รูปร่าง ฯลฯ ทุกคนเกิดมาย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นจงรักตนเอง ภูมิใจในสิ่งที่เราเป็นดีที่สุด
2.
จงเปรียบกับคนที่ด้อยกว่า สำหรับคนที่กำลังท้อแท้ คิดว่าตนเองแย่ที่สุดแล้ว
ให้หันมามองผู้ที่ลำบากกว่า หรือจะลองเป็นอาสาสมัครไปเยี่ยมผู้ยากไร้ขาดโอกาสดูบ้าง
ก็ได้ เพราะการทำเช่นนี้นอกจากจะสร้างกำลังใจให้ตนเองต่อสู้กับความยากลำบากแล้ว
ยังได้บุญกุศลอีกด้วย
3.
ไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก ไม่ควรคิดว่าไม่มีใครเข้าใจปัญหาของเราหรือไม่มีใครสนใจ
อันที่จริงหากเรามองไปรอบด้านก็จะเห็นว่าหลายคนยินดีที่จะช่วยเหลือเรา
เพียงแต่ว่าเราไม่ได้เอ่ยปากขอร้องเท่านั้นเอง แน่นอนว่าหากเราตกที่นั่งลำบาก
และสิ่งที่ขอให้ช่วยก็ไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงนัก เชื่อว่ามีคนเต็มใจช่วยแน่นอน
4.
พูดคุยกับเพื่อน เมื่อไรที่มีปัญหาหนักใจ อย่าลังเลที่จะปรึกษาเพื่อนสนิท
หรือว่าหากเกิดขัดใจกันขึ้นมา อย่าลังเลที่จะเปิดอกพูดคุยกัน อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นปัญหาคาใจ
5.
ปรึกษานักบำบัด หากพบว่าตนพยายามแก้ไขวิธีคิดแล้ว แต่ไม่สำเร็จสักทีให้นัดเวลาพูดคุยกับนักบำบัด
หรือจิตแพทย์ก็ได้ ไม่ต้องกลัวหรืออายว่าคนอื่นจะหาว่าบ้า
เพราะหากปล่อยให้กังวลใจอยู่เช่นนี้สุขภาพจิตเสียแน่นอน
6.
ให้รางวัลตนเอง หลังจากที่ผ่านงานยากๆ หรืออุปสรรคหนักๆ เช่น ไปท่องเที่ยวพักผ่อน
นัดสังสรรค์กับเพื่อนรู้ใจ
7.
เก็บความภูมิใจลงในบันทึก ให้จดบันทึกข้อดี ลักษณะเด่น ความสามารถพิเศษ
หรือความสำเร็จที่ตนเอง ภาคภูมิใจลงบนไดอารี่ หรือสมุดจด อาจทำเครื่องหมายเน้น
ผลงานที่ทำสำเร็จเพราะเมื่อไรที่หยิบมาอ่านจะได้ชื่นใจ เกิดความภูมิใจในความสามารถของตนเองหรืออาจใช้วิธีประเมินตนเองอย่างยุติธรรม
โดยจดสิ่งที่ตนทำสำเร็จในแต่
ละวัน แล้วประเมินอาทิตย์ละครั้ง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง
8.
เสริมจุดเด่นลดจุดด้อย อย่าลังเลที่จะเรียน หรือทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ
ไม่แน่คุณอาจจะมีพรสวรรค์บางอย่าง ซ่อนอยู่แบบไม่รู้ตัวมาก่อนก็ได้
9.
พยายามทำกิจกรรมที่ตนชื่นชอบ ไม่ต้องกังวลว่าต้องไปตามลำพังตราบใดที่ยังชอบและมีความสุขกับกิจกรรมนั้นๆ
เช่น ไปเรียนวาดรูป เรียนภาษาต่างประเทศ ฯลฯ
นอกจากจะทำให้จิตใจแจ่มใส ยังอาจจะได้รู้จักเพื่อนใหม่ เจอคนหลากหลายมากขึ้น
10.
อย่าโทษตัวเองไปเสียทุกเรื่อง ปรับวิธีคิดให้มีเหตุและผลมากขึ้นกว่าเดิม
11.
เผชิญหน้ากับการว่ากล่าว การว่ากล่าวนับว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องพบเจอ
แต่สำหรับคนที่ขาดความมั่นใจ จะเกิดอาการสะเทือนใจมากกว่าคนอื่นเพื่อจะลบ
ความรู้สึกนี้ ก่อนอื่นต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของการว่ากล่าว เช่น ติเพื่อก่อ
หรืออคติ หากเข้าข่ายประเด็นหลัง อย่าเก็บมาใส่ใจเพราะจะยิ่งบั่นทอนความมั่นใจให้ลดน้อยลงไปอีก
แต่หากเป็นเหตุผลแรก ให้ยิ้มสู้ รับฟัง และกล่าวขอบคุณ นำคำตินั้นมาปรับปรุงพัฒนาตนเอง
12. ดูแลสุขภาพตนเอง
พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ รักษาความสะอาด นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
วิธีดูแลตนเองเช่นนี้นอกจากจะให้
บุคลิกภาพดูดีขึ้นแล้ว ยังทำให้จิตใจแจ่มใสอีกด้วย ไม่ให้จิตใจจดจ่อ หมกมุ่นอยู่กับข้อด้อยของตนเองมากไป
การเปลี่ยนแปลงความคิดตนเองเพื่อเพิ่มความมั่นใจ อาจดูยาก
และใช้ความอดทนพอสมควร แต่ความมั่นใจนี้เองจะทำให้คุณมีความสุขกับชีวิต กลายเป็นคนใหม่ที่รักและพอใจกับในสิ่งที่คุณเป็น
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
ผศ.น.พ.สเปญ อุ่นอนงค์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
ร.พ.รามาธิบดี. โรคชอบเปรียบเทียบ. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=534.
15/12/2003. สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2559.
ธานินทร์ หงษา. 5 วิธี รักษาโรคชอบเปรียบเทียบ ชงัดนักแล. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก:
https://www.gotoknow.org/posts/94523. 2550. สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2559.
คัดลอกจากนิตยสาร HealthToday. 12 วิธีเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง. (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก: http://www.dhammajak.net/dhamma/12-2.html. 09/06/2008.
สืบค้น 9 กุมภาพันธ์ 2559.
|