การฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ก็สำคัญนะ
โดย...นายธนะพัฒน์ เพชรกล่อง
อาชีพปัจจุบัน แพทย์ประจำคลินิกชุมชนอบอุ่นเทศบาลนครแม่สอด
ต.แม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก
อีเมลล์ : phetklong2011@gmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
ภาพจากเว็บไซต์
https://www.sandiegounified.org/schools/dana/tdap-booster-required-7th-grade-students
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
16-2-59
|
|
วัคซีนเป็นสิ่งที่วงการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลกพยายามคิดค้นมาเพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของมนุษย์หรือแม้แต่ในสัตว์
เพื่อที่จะป้องกันการเจ็บป่วยจาก
โรคติดเชื้อหรือลดความรุนแรงของโรค ซึ่งในหลายๆประเทศได้มีการบรรจุการฉีดวัคซีนชนิดต่างๆเข้าไปในระบบสาธารณสุขให้เหมาะสมกับประเทศของตนและสถานการณ์การ
ระบาดของโรคในขณะนั้น โดยส่วนใหญ่เรามักจะให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก
เนื่องจากเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่ายและอาการจะรุนแรง แต่เราเองในฐานะ
ที่เป็นผู้ใหญ่การฉีดวัคซีนก็ยังมีความสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะว่าถึงแม้เราจะเคยฉีดวัคซีนบางตัวมาแล้วในวัยเด็กก็ตามเช่น
การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน เมื่อ
เวลาผ่านไปภูมิคุ้มกันที่ร่างกายที่เคยมีจะค่อยๆลดลง จนไม่อาจที่จะป้องโรคได้
หรือวัคซีนบางตัวเช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ จึงต้องฉีดทุกๆปี วันนี้เรามาสร้างความกระจ่าง
เรื่องนี้กัน
ภาพจากเว็บไซต์
http://www.greensboro.com/blogs/the_chalkboard/guilford-health-department-offers-tdap-vaccination-clinics/article_f67252b6-1e70-11e4-b9f9-0017a43b2370.html
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
16-2-59
|
|
สำหรับการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่นั้นจะยึดแนวทางตามคำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ของราชวิทยาลัยอายุแพทย์แห่งประเทศไทยปี พ.ศ.2555
ซึ่งจะไม่เหมือนของเด็กเลยเสียที่เดียว และคำแนะนำการให้วัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ของประเทศไทยอาจจะไม่เหมือนของต่างประเทศด้วย
เพราะโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาทาง
สาธารณสุขในแต่ละภูมิภาคของโลกก็ไม่เหมือนกัน แต่มีบางโรคที่มีการระบาดอย่างรวดเร็วและมีการเสียชีวิตสูง
อาจจะมีคำแนะนำให้ฉีดเพิ่มเติมซึ่งเราก็ควรติดตามฟังข่าว
อย่างใกล้ชิดสำหรับในครั้งนี้ผมจะขอนำเสนอวัคซีนที่มีชื่อว่า วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน
ภาพจากเว็บไซต์
http://www.greensboro.com/blogs/the_chalkboard/guilford-health-department-offers-tdap-vaccination-clinics/article_f67252b6-1e70-11e4-b9f9-0017a43b2370.html
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
16-2-59
|
|
ถึงแม้ปัจจุบันเราจะไม่ค่อยพบการระบาดของโรคดังกล่าวในประเทศไทยแล้ว
แต่เนื่องจากมีการย้ายถิ่นฐานของชาวต่างชาติ ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย เขาเหล่านั้น
อาจนำโรคดังกล่าว กลับมาระบาดในประเทศไทยได้อีกโดยเฉพาะโรคคอตีบและโรคไอกรน
สำหรับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักนั้นจะฉีดครั้งสุดท้ายในวัยเด็กเมื่ออายุ
12 -14 ปีหลังจากนั้นจะไม่ได้มีการนัดฉีดเพิ่มเติม ทำให้เมื่อมีการเจาะดูระดับภูมิคุ้มกันโรคบาด
ทะยักในกลุ่มคนที่อายุ 15-30 ปีพบว่าภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักมีแนวโน้มลดลง
แต่ถ้ามีการฉีดกระตุ้นจะทำให้มีระดับภูมิคุ้มกันที่เพิ่มมากขึ้นที่จะสามารถป้องกันโรคได้
ดังนั้น
จึงมีคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก 1 เข็มทุกๆ 10 ปี
สำหรับโรคคอตีบเราจะเห็นข่าวออกมาเป็นระยะๆว่าพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อและมีอาการของโรคคอตีบ
ครั้งล่าสุดคือนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้ทางสถาบันต้อง
เริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่ สำหรับวัคซีนคอตีบนั้นจะฉีดครั้งสุดท้ายเมื่อเด็กอายุ
12-14 ปี หลังจากนั้นไม่ได้มีการฉีดซ้ำ จึงทำให้ระดับภูมิคุ้มกันลดลง ดังนั้นทาง
กระทรวงสาธารณสุขจึงได้แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ โดยแนะนำใช้วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบหรือที่เรียกย่อๆว่า
Td( Td คือ tetanus toxoids และ dipththeria)
แทนการให้วัคซีนบาดทะยัก(วัคซีนบาดทะยักตัวเดี่ยวๆเราจะเรียกชื่อย่อว่า TT
มาจากคำว่า tetanus toxoid ) นอกจากนี้ยังมีคำแนะว่าสามารถใช้วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ
( Td )
ฉีดกระตุ้นได้ทุกๆ 10 ปี โดยไม่มีผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นและไม่มีผลกระทบต่อการสร้างภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักอีกด้วย
สำหรับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนนั้นจะฉีดครั้งสุดท้ายในวัยเด็กเมื่ออายุ
4-6 ปี ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ระดับของภูมิคุ้มกันโรคจะต่ำลงจนไม่สามารถป้องกันโรคได้
นอกจากนี้ยังพบว่าสาเหตุหลักของการติดเชื้อไอกรนรุนแรงในเด็กทารก เกิดจากการติดเชื้อจากมารดาและสมาชิกในบ้านที่ป่วยเป็นโรคไอกรน
ดังนั้นในกรณีที่มีเด็กทารกอายุ
น้อยกว่า 1 ปีในบ้าน สมาชิกในครอบครัวควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน
โดยไม่ต้องสนใจว่าสมาชิกที่เป็นผู้ใหญ่ในบ้านนั้นจะเคยได้รับการฉีด Td หรือ
TT ครั้ง
สุดท้าย เมื่อไร นอกจากนี้แพทย์อาจจะนำให้หญิงตั้งครรภ์ที่ตั้งท้องเกิน 20
สัปดาห์ขึ้นไปได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ( tetanus ,diphtheria,acellular
pertussis vaccine :Tdap ) แทน Td หรือ TT หรืออาจให้ฉีด Tdap หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อไอกรนในทารก
ผู้อ่านอาจเริ่มสงสัยแล้วว่าวัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน
ที่มีใช้ในประเทศไทยนั้นมีแบบไหนบ้าง จากการค้นข้อมูลพบว่า วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรนมีดังต่อไปนี้
ถ้า
เป็นวัคซีนชนิดเดียวจะมีอยู่ตัวเดียวคือ วัคซีนป้องกันบาดทะยัก สำหรับ ไอกรน
และ คอตีบจะไม่มีตัวเดียวๆแต่จะเป็นวัคซีนรวมได้แก่วัคซีนบาดทะยักและคอตีบ
หรือที่เรียกย่อๆ
ว่าTd และ DT ( D จะเป็น Dipththeria toxoid ? 40 IU ถ้าเป็น d จะเป็น purified
Dipththeria toxoid ? 2 IU ถึงแม่ปริมานจะน้อยกว่าแต่ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน
นะครับ) แต่ถ้าเป็นวัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน จะมี 3 ชนิดคือ Tdap ,DTap,DTwp
ทั้ง 3 แบบนี้นอกจากจะมีความแตกต่างในเรื่องของตัวปริมานวัคซีนคอตีบดังที่กล่าวมา
ข้างต้นแล้วยังมีความแตกต่างที่วัคซีนป้องกันไอกรน ถ้าเป็น wp เป็นเชื้อไอกรนเต็มเซลล์ที่ทำให้ตายแล้วเอามาทำเป็นวัคซีน
ส่วน ap เป็นการนำเอาบางส่วนของเชื้อไอกรน
มาทำเป็นวัคซีนมีผลให้วัคซีนไอกรนชนิด ap เกิดอาการข้างเคียงหลังฉีดต่ำกว่า
wp แต่ราคาก็จะแพงกว่าด้วย สุดท้ายคือ วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน ผสมกับ
วัคซีนป้องกัน
ไวรัสตับอักเสบบีหรือผสมกับวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด( Tdap+IPV,Tdwp+HBV,DTap+IPV
และ DTap+IPV+HBV) ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากฉีดวัคซีน
ปวด บวม
แดงร้อนในตำแหน่งที่ฉีด อาจใช้น้ำเย็นประคบเพื่อลดอาการปวด
ไข้ อาเจียน
เบื่ออาหาร โดยส่วนใหญ่แล้วไข้ที่เกิดจากการฉีดวัคซีนจะเกิดหลังฉีดไม่เกิน
24 ชั่วโมงและไข้จะไม่เป็นนานมากว่า 2 วัน แต่ถ้าเป็นนานกว่านั้นควรปรึกษา
แพทย์
ไข้ที่เกิดจากการฉีดวัคซีน
ไม่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อ ถ้ารู้สึกไม่สบายตัวมากอาจใช้ยาลดไข้แก้ปวดได้
สำหรับวัคซีนไอกรนชนิดไม่มีเซลล์เหมาะสำหรับคนที่อาจจะมีปัญหาในการฉีดวัคซีนไอกรนชนิดเต็มเซลล์
ซึ่งได้แก่ ผู้ที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทหรือภาวะชัก ,
ผู้ที่มีโรคประจำตัวและอาจมีอันตรายจากภาวะไข้สูงเช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ,
ผู้ที่เคยมีประวัติอาการข้างเคียงรุนแรงหลังได้วัคซีนไอกรนชนิดเต็มเซลล์
ดังนั้นถ้าเราจดจำอาการข้าง
เคียงที่รุนแรงที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่
จะทำให้เราปลอดภัยมากขึ้นเมื่อจะต้องได้รับวัคซีนในครั้งต่อๆไป
สำหรับการจะเลือกใช้วัคซีนแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับความจำเป็น
ความเหมาะสมแต่ละช่วงอายุ สภาวะสุขภาพของผู้รับวัคซีน รวมถึงความสามารถในการจ่ายค่าวัคซีนเพราะ
วัคซีนที่ผสมกันหลายตัวมักจะมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
1. คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยปี พ.ศ.2555
2. คู่มือ vaccine 2013 และประเด็นการสื่อสาร
|