เมื่อเร็วๆนี้ทุกท่านคงได้ยินข่าวเกี่ยวกับการพบผู้ป่วยโรคโปลิโอ ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดกับไทย ซึ่งเชื้อโปลิโอ ที่ก่อให้เกิดโรคครั้งนี้เป็นสายพันธุ์ที่ใช้ผลิตวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการตรวจพบว่าสายพันธุ์ดังกล่าวเกิดการกลายพันธุ์ และก่อให้เกิดโรค และเชื้อที่ กลายพันธุ์ดังกล่าวเคยเกิดการระบาดในยูเครนและมาลีมาก่อนหน้านี้ ทำให้องค์การอนามัยโลกและประเทศต่างๆตื่นตัวมากขึ้นและเตรียมหาทางรับมือกับโรคโปลิโอชนิดนี้ แล้วสำหรับเราซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านกับ สปป.ลาว จะมีอาการเตรียมรับมือกับปัญหานี้อย่างไร ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโรคและประเทศสมาชิกมีเป้าหมายที่จะกวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดสิ้นไปจากโลกใน พ.ศ.2561 โดยใช้มาตรการหลักที่สำคัญคือการเฝ้าระวัง ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างเฉียบพลัน ร่วมกับมาตรการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค แต่อาจไม่เป็นไปดังอย่างคาดหวังเนื่องจากยังพบการระบาดของโรคโปลิโอ เป็นระยะ ครั้งนี้เรามารู้จักกับโรคโปลิโอกันให้มากขึ้นรวมถึงวิธีป้องกัน โรคโปลิโอ เป็นโรคที่มีการทำลายระบบประสาทควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อโดยเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า โปลิโอ พบการติดเชื้อได้บ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 5 ปี เชื้อโรคสามารถติดต่อได้โดยการกิน ผ่านทางอาหาร น้ำมูก น้ำลาย เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายของผู้ที่ไม่มีภูมิต้านทาน ตัวเชื้อโรคจะเข้าไปเพิ่มจำนวนที่คอหอย และลำไส้ หลังจาก นั้น 2-3 วันต่อมาจะกระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลือง และเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เกิดอาการไข้ บางส่วนจะกระจายสู่ไขสันหลังและสมองทำให้เกิดการอักเสบและการทำลายของระบบ ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตและฝ่อในที่สุด ลักษณะอาการของโรคโปลิโอ มีได้หลายรูปแบบ ร้อยละ 95 ของผู้ติดเชื้อโปลิโอจะไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่สามารถที่จะแพร่เชื้อโดยผ่านสารคัดหลั่งต่างๆเช่น น้ำลาย น้ำมูก และทางอุจจาระ ประมาณร้อยละ 4-5 จะมีอาการไม่รุนแรงอาจมีอาการคล้ายไข้หวัด ไข้ต่ำๆ 2-3 วัน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ปวดศีรษะ เจ็บคอ หลัง จากนั้นจะหายเป็นปกติดีอย่างรวดเร็วภายใน 2- 4 วัน โดยไม่มีอาการของกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน ประมาณร้อยละ1 จะมีอาการแบบเยื้อหุ้มสมองอักเสบ จะพบมีอาการ คอแข็ง หลังแข็ง ปวดตามกล้ามเนื้อแขนขา ต้นคอ และหลัง อาการต่างๆเหล่านี้อาจเป็นอยู่ 2-10 วัน แล้วหายเป็นปกติ ประมาณร้อยละ 0.1-2 เท่านั้นที่จะมีอาการของกล้ามเนื้อ อ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน ในรายที่อาการรุนแรงอาจมีผลทำให้กล้ามเนื้อหายใจไม่ทำงาน ไม่สามารถหายใจได้เองและอาจเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจในรายที่มีกล้าม เนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน เมื่อหายจะทิ้งความพิการหลงเหลือไว้ ทำให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อลีบ ไม่สามารถใช้งานได้ ส่วนใหญ่มักเป็นที่กล้ามเนื้อต้นขาหรือต้นแขนมากกว่ากล้าม เนื้อส่วนปลาย มักเป็นข้างเดียวมากกว่า 2 ข้าง โดยไม่มีผลต่อระบบประสาทรับความรู้สึก สำหรับการรักษา ปัจจุบันยังไม่มียาที่จำเพาะต่อโรคโปลิโอ ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ แก้ปวด ในกรณีที่มีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อแขนขา อาจใช้ผ้า ชุบน้ำอุ่นประคบ รวมถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเช่น แผลกดทับ ปอดอักเสบ ที่เหลือจะเป็นการรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพของกล้ามเนื้อและการฟื้นฟูทางด้านจิตใจ
การป้องกันที่ทางภาครัฐจัดให้ปัจจุบันคือการรณรงค์ให้เด็กไทยทุกคนได้รับวัคซีนครบตามที่กำหนด ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอมี 2 ชนิดคือวัคซีนโปลิโอชนิดรับ ประทาน (เป็นวัคซีนเชื้อเป็น แต่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง จนไม่สามารถก่อโรคได้ แต่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค) สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ทั้งในเลือดและลำไส้ และภูมิที่ เกิดขึ้นอยู่นานตลอดชีวิต ส่วนชนิดที่ 2 คือวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด(เป็นวัคซีนเชื้อตาย) เมื่อฉีดจะกระตุ้นให้เกิดภูมิขึ้นในเลือด แต่ภูมิคุ้มกันที่ลำไส้จะเกิดขึ้นน้อย ทำให้ผู้ที่ได้รับ วัคซีนชนิดฉีดเพียงอย่างเดียว สามารถติดเชื้อโปลิโอจากธรรมชาติได้ โดยที่ไม่มีอาการเจ็บป่วย แต่มีโอกาสที่เชื้อโรคเข้าไปเพิ่มจำนวนที่ทางเดินอาหาร ขับถ่ายออกมาทาง อุจจาระ และแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดให้เพิ่มการให้บริการวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด 1 เข็มแก่เด็กอายุ 4 เดือน ร่วมกับการให้วัคซีนโปลิโอชนิด กินตามกำหนดปกติ
สำหรับประชาชนอย่างเราๆจะมีส่วนช่วยในการป้องกันการแพร่กระจายและการป้องกันไม่ให้เกิดโรคโปลิโอได้อย่างไร
คงเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจอยู่ใช่ไหมครับ
|