ผลิตแผ่นประคบร้อนสมุนไพรแห่งแรกของโลก
โดย...รศ.ดร.อาทิตย์  พวงมะลิ
อาจารย์นักวิจัยคณะเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)

          ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแหล่งสมุนไพรธรรมชาติที่มีคุณภาพสูงภาครัฐเห็นความสำคัญและสนใจสมุนไพรรวม ทำให้เกิดการส่งเสริมมากขึ้นเพื่อลดการนำเข้ายารักษาโรค
จากต่างประเทศตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายการที่จะนำสมุนไพรมาประคบเพื่อให้ระบบการหมุนเวียนของเส้นเลือดและบรรเทาอาการปวดเรียกกันว่า ลูกประคบ จากคำว่าลูกประคบปัจจุบันเรามีแผ่น
ประคบร้อนสมุนไพรโดยอาศัยเตาไมโครเวฟ เพื่อทำให้เกิดความร้อนการประคบร้อน คือ การใช้วัสดุที่ค่อยๆ คลายความร้อนออกมาวางประกบประคอบ ณ จุดที่มีอาการปวดเมื่อยเคล็ดขัดยอก
จัดว่าเป็นการให้การรักษาด้วยความร้อนระดับตื้น และช่วยให้เกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และพังพืดต่างๆ


ภาพจาก วิทยากร

          ความเป็นมาของการผลิตแผ่นประคบร้อนสมุนไพร เริ่มจากการประคบด้วยแผ่นประคบร้อนหรือที่เราเรียกว่า hot pack เป็นวิธีการบำบัดรักษาที่ให้ความร้อนชื้นโดยตรงแก่เนื้อเยื่อเป็น
วิธีการหนึ่งสลับการรักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท โครงร่าง กล้ามเนื้อ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อความยืดหยุ่น ลดปวดช่วย
กระตุ้นไหลเวียนโลหิต โดยอาศัยหลักการถ่ายเทความร้อนจากอุปกรณ์ประคบร้อนเข้าสู่เนื้อเยื่อขณะทำการประคบ


ภาพจาก Web Site

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 28-3-60

          การผลิตภัณฑ์ร้อนใช้มาแต่ดั้งเดิมที่สถานพยาบาลต่างๆ เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ต้องใช้ร่วมกับถังต้มซึ่งเป็นครุภัณฑ์ที่มีราคาแพงและมีการเสียบไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลาทำให้
กินไฟ สาเหตุดังกล่าวทำให้มีการศึกษาถึงแผ่นประคบร้อนที่มีศักยภาพในการบำบัดรักษามาประคบแทนแผนประคบร้อนดั้งเดิมที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบมีราคาแพง และลดการนำเข้าจาก
ต่างประเทศ วิธีการนี้เป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงการรักษา

          ความสำคัญอยู่ที่อุณหภูมิให้พอเหมาะกับช่วงของการบำบัดรักษาซึ่งแผ่นประคบร้อนที่ได้อาจจะมีความสะดวกต่อการใช้งานโดยให้ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการบำบัดรักษาเพื่อกระตุ้น
การไหลเวียนของโลหิต ช่วยการปวดเมื่อยและช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีขึ้น โดยนำเมล็ดธัญพืชสมุนไพรตามตำรับแพทย์พื้นบ้านล้านนามาในพอเหมาะ มาบรรจุในถุงผ้าที่มีลักษณะเป็น
กระเป๋า เพื่อให้เหมาะกับการวางประคบในส่วนต่างๆ ของร่างกายให้กระชับ ซึ่งก่อนที่จะนำมาใช้งานต้องนำไปอบในไมโครเวฟก่อน ประมาณ 2 – 10 นาที ตามระดับความร้อนที่ต้องการ ซึ่ง
ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแผ่นความร้อนได้จดสิทธิบัตรจากรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์


ภาพจาก Web Site

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 28-3-60

          การเก็บรักษาความร้อนจากการศึกษาเมล็ดธัญพืชที่มีอยู่ในท้องถิ่น พบว่าข้าวเหนียวกับเมล็ดมะขาม มีคุณสมบัติที่ให้อุณหภูมิที่พอเหมาะเป็นตัวตั้งต้น ส่วนองค์ประกอบของสมุนไพร
ต่างๆ ตามตำรับแพทย์พื้นบ้านล้านนาจะมีหลายชนิด ตัวยืนพื้นหลักมีขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ผิวมะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย เกลือต่างๆ แล้วจะมีสมุนไพรหลักที่หวังผลการรักษาตรงความต้อง
การการรักษา ซึ่งอาจจะเป็นพวกของไพลมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช้ำและช่วยการอักเสบต่างๆ การประยุกต์สูตรต่างๆ จะใช้สมุนไพรตามพื้นบ้าน ซึ่งอาจจะเป็นเถาเอ็นอ่อนเพื่อผ่อนคลายเพื่อ
ยืดเส้น เถาโคครามช่วยลดการปวดข้อ หรือเถาวัลย์เปรียงในการลดปวดเมื่อยต่างๆ เป็นต้นทั้งนี้จะมีการปรุงรสปรุงกลิ่นให้เหมาะสมกับที่ผู้ใช้ การบำบัดของแต่ละคนจะมีความชื่นชอบที่ไม่
เหมือนกัน ถ้าบางคนไม่ชื่นชอบกลิ่นนี้ก็อาจทำให้ไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวไม่ค่อยผ่อนคลาย บางคนชอบกลิ่นนี้ถูกโฉลกก็ทำให้ผ่อนคลายดีขึ้น กลุ่มพวกนี้สามารถปรุงแต่งโดยใช้การบูร พิมเสน
กฤษณา ยูคาลิปตัส หรือกานพลูต่างๆ แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคล


ภาพจาก Web Site

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 28-3-60

          วิธีการใช้งานแผ่นประคบร้อนหนึ่งแผ่น จากที่ได้ทดลองใช้งาน จุดสำคัญของแผ่นประคบร้อนอยู่ที่อุณหภูมิที่พอเหมาะกับช่วงบำบัดรักษา คือเรื่องของกลิ่นประมาณสักหกเดือนกลิ่นอาจ
จะหายไป แต่คุณสมบัติของความร้อนยังคงอยู่ จริงๆ แผ่นประคบร้อนอยู่ที่อุณหภูมิที่เหมาะสม และบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 40-45 องศาเซลเซียสระยะเวลาไม่ต่ำกว่า
20 นาที ตัวแผ่นความร้อนที่ใช้งานในแต่ละครั้งจะเก็บความร้อนได้ประมาณ 20-30 นาที วันสามารถทำได้ประมาณสองครั้งหรือสามครั้งก็มากที่สุด เพราะว่าร่างกายต้องการปรับสภาพของ
เนื้อเยื่อ การที่เราให้ความร้อนสะสมนานเกินไป เช่น สมมติแบบเราเสียบไฟฟ้าค้างไว้สมมติจะเสี่ยงต่อการไหม้ เวลาที่พอเหมาะคือ 20-30 นาที แล้วก็ทิ้งช่วงไว้ก็อาจจะประมาณสองสาม
ชั่วโมง แล้วค่อยกลับมาใช้อีกครั้ง


ภาพจาก Web Site

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 28-3-60

          ถุงผ้าที่ใช้ใส่สมุนไพร ควรจะเป็นผ้าที่มีคุณสมบัติทนและระบายความร้อนได้ดีจะเป็นผ้าฝ้ายได้การดูแลหลังการใช้งาน ดูแลรักษาง่ายใช้เสร็จแล้วพึ่งลมเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องปกติ
เพียงพอเพราะเวลาใช้งานต้องผ่านความร้อนถือเป็นการฆ่าเชื้อ กลิ่นหมดก็สามารถเติมได้โดยการหยดน้ำมันหอมระเหยลงในถุง เป็นการปรุงแต่งกลิ่นตามที่ชอบ สมุนไพรที่นำมาใช้เหล่า
นี้ผ่านกรรมวิธีไม่ว่าจะเป็นการทำให้แห้ง เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อปนเปื้อนต่างๆ หัวใจสำคัญเพื่อความสะอาดปลอดจากเชื้อโรคและสิ่งปนเปื้อน


ภาพจาก Web Site

ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 28-3-60

          การนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้เป็นการสนับสนุนส่งเสริมเกษตรกรของเรา เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม สามารถหาวัสดุดิบที่มีภายในประเทศได้อย่างหลากหลาย
ตลอดจนเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านท้องถิ่นที่มีแต่ดั้งเดิม นำมาการประยุกต์ใช้สำหรับการดูแลรักษา เป็นการรักษาสุขภาพเบื้องต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยเหลือประเทศชาติลดการนำเข้าสินค้าจาก
ต่างประเทศ และถ้ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอาจจะสามารถนำเงินตราจากต่างประเทศเข้าประเทศได้อย่างไม่ยากนัก



นางสาวอุษณีย์ โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 2 วิทยาศาสตร์ / เทคโนโลยี
กลุ่มรายการที่ 2/33-57
CD-A2(2/3)-57