ทำให้ชีวิตมีความสุขในปีใหม่
โดย...พระอาจารย์อัครเดช ญาณเดโช
พระวัดฉาง ตำบลบางปรอก
อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557) |
การแสวงหาความสุข
แต่ก็ยังหาไม่เจอเพราะว่าความจริงแล้วอยู่ที่ตัวเรา สร้างมาจากข้างในของตัวเราเอง
ไม่ใช่รอจากคนอื่นมาหยิบยื่นให้ ถ้าว่ากันจริงๆ แล้วความสุขคือความทุกข์
ที่น้อยลง เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะสร้างความสุขคือการลดความทุกข์ที่เกิดจากกาย
วาจา ใจ ที่เป็นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ต่างๆ ที่เข้ามาเราก็จะปรับตัวอยู่ตรง
นั้นได้มากหรือน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และตัวของเรา
ภาพจาก
Web Site
http://www.goon-thailand.com/uploads/userfilesimages/trick/2015-12-03/03-12-15-article-web(500x500)-3.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-3-60 |
|
การเชื่อมโยงกับหลักธรรมที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข
อันดับแรกมีอิทธิบาท 4 คุมเครื่องที่ทำให้สำเร็จทั้งการเรียนและการทำงานมีสี่ข้อ
ข้อที่ 1 คือ
ความพึงพอใจแล้วจะมีความรักในสิ่งที่ทำจะได้ทำออกมาดี ข้อที่ 2 คือ วิริยะความเพียร
เพียรพยายามในการเรียน ในการทำงาน มีความขยัน มีความอดทน มีความมุมานะ บากบั่นจนประสบ
ความสำเร็จ ข้อที่ 3 จิตตะ คือความตั้งใจ จะมีการฝักใฝ่อย่างจริงจังไม่ว่าการเรียนหรือการงานต้องมีความตั้งใจจดจ่อในสิ่งที่ทำจะทำทุกอย่างให้ดีที่สุด
ข้อที่ 4 วิมังสา ความสุขุมรอบคอบ
รู้จักพิจารณาในสิ่งที่ทำด้วยปัญญา มีการตรวจตราอยู่เสมอ
ภาพจาก
Web Site
http://oamc.ku.ac.th/_2015/01-jan/02-new-year/04_in.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-3-60 |
|
หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ
เหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ให้มีความรัก มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่กัน คือ
สังคหวัตถุ 4 ข้อที่ 1 หนึ่งทานคือการให้ การเสียสละการเอื้อเฟื้อแบ่งปัน
ของตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นและไม่ตระหนี่ถี่เหนียวไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว
ข้อที่ 2 ปิยวาจา คือพูดจาอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดจาก้าวร้าว พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ข้อที่ 3 อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ข้อที่
4 สมานัตตา คือ ความเป็นผู้มีความสม่ำเสมอมีความประพฤติเสมอตนเสมอปลาย
ภาพจาก
Web Site
http://www.dhamdee.com/wp-content/uploads/2014/12/clip_image002_0000.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-3-60 |
|
ธรรมของผู้ใหญ่ที่ควรมีพรหมวิหาร
4 ข้อที่ 1 เมตตาคือความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากจะให้ผู้อื่นมีความสุข มีจิตที่ดีแผ่ไมตรีจิตและก็คิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วไป
ข้อที่ 2 กรุณา
คือความสงสารคิดอยากจะให้คนอื่นพ้นทุกข์ใส่ใจจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยาก
ความเดือดร้อน ของเพื่อนมนุษย์ ข้อที่ 3 สามมุทิตา คือความยินดีเห็นผู้อื่นได้ดีแล้วก็มีความยินดีกับเค้า
มี
จิตใจผ่องใส พลอยยินดีเมื่อเขาได้ดีมีสุขความเจริญงอกงาม ข้อที่ 4 คืออุเบกขา
คือความวางใจเป็นกลาง คือ มีจิตเรียบ ตรง ไม่เอนเอียงด้วยความรักหรือความชัง
พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติ
ไปตามธรรม รู้จักวางเฉย สงบใจ วางใจเป็นกลาง
ภาพจาก
Web Site
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/blog_data/815/12815/images/budda/p1.GIF
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-3-60 |
|
หลักธรรมข้อปฏิบัติแบบสายกลาง
ไม่ตึงไม่หย่อนจนเกินไปที่เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา อริยมรรค 8 ประการ คำว่ามรรค
แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความ
ทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วย
อำนาจของอวิชชา มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือก
ฟั่นแปดเกลียว
องค์แปดคือ ข้อที่ 1 สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจถูกต้อง ข้อที่ 2 สัมมาสังกัปปะ
คือความใฝ่ใจถูกต้อง ข้อที่ 3 สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง ข้อที่ 4 สัมมากัมมันตะ
คือการกระทำถูกต้อง
ข้อที่ 5 สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง ข้อที่ 6 สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
ข้อที่ 7 สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง ข้อที่ 8 สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
รวมลง
ในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกันแล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล -
สมาธิ - ปัญญา การปฏิบัติธรรม (ศีล-สมาธิ-ปัญญา) คือการเดินตามมรรค
ภาพจาก
Web Site
http://www.sinsaehwang.com/wp-content/uploads/2014/11/8happypeopledo1-570x350.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-3-60 |
|
ทำงานให้มีความสุขถึงจะได้ค่าตอบแทนน้อยหรือว่าเข้าไปทำงานแล้วไม่อยากทำ
จะมีแนวคิดการสร้างความสุขเป็นสิ่งที่พวกเราแสวงหา คือความสุขของคฤหัสถ์
4 ข้อที่ 1 อัตถิสุข
หมายถึง ความสุขอันเกิดจากการมีทรัพย์ โดยเฉพาะความภาคภูมิใจในทรัพย์ ที่หามาได้ด้วยแรงกาย
สติปัญญาความสามารถของตนเอง ข้อที่ 2 โภคสุข หมายถึง สุขอันเกิดจากการใช้จ่าย
ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง หรือสร้างประโยชน์สุขต่อบุคคลอื่นในสังคม
ข้อที่ 3 อนณสุข หมายถึง สุขจากการไม่เป็นหนี้ ข้อที่ 4 อนวัชชสุข หมายถึง
สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือความภูมิใจเอิบอิ่มใจว่าตนมีความประพฤติสุจริต
ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียน ไม่ได้ทั้งทางกายวาจาใจ ความสุขทั้งสี่ข้อนี้ยึดหลักฐิตธรรมมิกะถะ
คือประโยชน์ที่จะให้เกิดในปัจจุบัน
หรือที่เรียกว่า หัวใจเศรษฐี คืออุอากะสะ คือการตั้งตัวได้อย่างมั่นคง มีทรัพย์
ใช้จ่ายไม่ขัดสน หลักปฏิบัติเพื่อจะใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์ในปัจจุบันมีสี่ประการท
คือ ข้อหนึ่งอุฐานสัมปทาคือมี
ความขยันหมั่นเพียร ข้อที่สองอารักขสัมปทาคือต้องรู้จักรักษาทรัพย์ที่หามา
ข้อที่สามกัลยาณมิตตาต้องมีกัลยาณมิตร มีมิตรที่ดี มีเพื่อนที่ดี คบหาแต่คนที่ดี
ไม่คบหาเพื่อนที่นำความเสื่อมเสีย
นำพาเราไปสู่ทางที่ไม่ดี ข้อที่สี่สัมมะชีวิตาคือการเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้
สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่จะทำให้เราเกิดความสุขได้ในปัจจุบัน
นางสาวอุษณีย์
โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/52-57
CD-A1(7/7)-57
|