รอบรู้โรค
: ปวดหัวแบบไหน
บ่งบอกถึงอันตรายและโรคร้ายแรง
โดย... คุณกุลชัญญา สุวรรณวงศ์
อาชีพ แพทย์
แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
อีเมล์ : kacakra@gmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
อาการปวดหัวเป็นอาการที่พบได้บ่อยในภาวะปกติของบุคคลทั่วไป
กว่าครึ่งของบุคคลที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปเคยมีอาการปวดหัวอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต
และมากกว่า 90 %
ของผู้ป่วยที่ไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดศีรษะไม่ได้มีสาเหตุจากโรคร้ายแรงหรือเป็นอันตราย
อย่างไรก็ตาม แม้อาการปวดหัวจะเป็นอาการที่พบได้บ่อยและมักจะสัมพันธ์กับความ
เครียด หรือ ความเจ็บป่วยอื่น เช่น เป็นไข้หวัด โดยไม่ได้มีสาเหตุอันตรายใดๆแฝง
ทว่าส่วนน้อยของผู้ที่มีอาการปวดหัวอาจบ่งบอกถึงบางโรคที่อันตรายถึงชีวิต
คำถามก็คืออาการปวดหัวแบบไหนที่อาจบ่งบอกถึงโรคร้ายแรงเหล่านั้น
คำตอบแรกก็คือความรุนแรงและความเฉียบพลันของอาการปวดหัว
อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นทันทีทันใดและมีความรุนแรงมาก อาจบ่งชี้ถึงสาเหตุจากหลอดเลือดในสมอง
แตก เลือดออกในสมองหรือชั้นเยื่อหุ้มของสมอง โดยความรุนแรงของอาการปวดหัวแบบนี้นั้นจะรบกวนและจำกัดการประกอบกิจวัตรเป็นประจำเป็นอย่างมาก
ซึ่งอาจต้องแยก
กับอาการปวดหัวรุนแรงจากโรคไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะจากโรคไมเกรน หรืออาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์
ที่ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดศีรษะอย่างมาก ปวดจนนอนไม่หลับ
หรือปวดจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก ไม่สามารถทำงานได้ เช่นกัน แต่ความรุนแรงของอาการปวดศีรษะจากหลอดเลือดในสมองแตก
หรือเลือดออกในสมองนั้น จะเป็นมากกว่ามาก
ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่อาการปวดหัวแบบไมเกรนจะมีอาการปวดหัวจนไม่สามารถทำงานได้แต่สามารถแต่งตัว
เปลี่ยนชุด เพื่อมาพบแพทย์ได้ ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกใน
สมองหรือเยื่อหุ้มสมองนั้น มักจะปวดจนไม่สามารถมาพบแพทย์ได้เอง ต้องให้ญาตินำตัวมา
และอาจยังอยู่ในชุดนอนขณะมาโรงพยาบาล
ตัวอย่างภาพถ่ายเอ็กซเรย์คมพิวเตอร์
(CT SCAN) แสดงลักษณะของเลือดออกในเนื้อสมอง
ภาพจาก
Web Site
http://radiopaedia.org/articles/intracranial-haemorrhage
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
31-3-59
|
|
คำตอบต่อมาก็คือระยะเวลาการดำเนินโรคของอาการปวดศีรษะ
หากอาการปวดศีรษะเป็นๆหายๆ โดยมีช่วงระยะเวลาที่อาการปวดศีรษะหายสนิท มักจะบ่งถึงโรคที่มีสาเหตุ
ไม่ร้ายแรง เช่น อาการปวดหัวแบบไมเกรน หรืออาการปวดหัวจากความเครียด ในขณะที่อาการปวดหัวเป็นตลอดเวลาและมากขึ้นเรื่อยๆในทุกๆวัน
อาจกำลังบ่งบอกถึงสาเหตุที่
เป็นอันตราย เช่น เนื้องอกในสมอง เป็นต้น ช่วงเวลาที่มีอาการปวดหัวก็อาจช่วยในการจำแนกโรคเช่นกัน
โดยอาการปวดศีรษะที่เป็นมากในช่วงเย็นหรือก่อนนอนมักจะบ่งบอกถึง
สาเหตุจากความเครียด หรืออาการปวดศีรษะชนิด tension ในขณะที่หากอาการปวดศีรษะเป็นมากในช่วงเช้า
หรือเช้ามืด อาจบ่งบอกถึงสาเหตุจากความดันในกะโหลกศีรษะที่
เพิ่มขึ้น ซึ่งสัมพันธ์ กับการมีเนื้องอก หรือการติดเชื้อในสมอง
ตัวอย่างภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(MRI) แสดงเนื้องอกของเยื่อหุ้มสมอง (meningioma) ซึ่งพบเป็นเนื้องอกที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้บ่อย
ภาพจาก
Web Site
http://www-sop.inria.fr/asclepios/projects/Health-e-Child/DiseaseModels/content/brain/images/images_TumorGrowth5/scan2_full_kucuk.png
ข้อมูลภาพ ณ วันที่
31-3-59
|
|
และอีกหนึ่งคำตอบก็คืออาการปวดหัวที่พบร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาทมักจะบ่งบอกถึงสาเหตุที่ไม่ปกติของสมอง
โดยความผิดปกตินี้ผู้ป่วยอาจรู้สึกได้เอง หรือ
แพทย์เป็นผู้ตรวจพบก็ได้ ตัวอย่างของความผิดปกติที่ผู้ป่วยหรือญาติสามารถรู้สึกได้เอง
ก็เช่น อาการปวดศีรษะที่เกิดร่วมกับแขนหรือขาอ่อนแรง เดินเซ หน้าเบี้ยว มีอาการชา
หรือไม่มีความรู้สึกต่อการสัมผัส ความร้อน เย็น ตามัว มองภาพไม่ชัด ความจำและการตัดสินใจแย่ลง
ชัก หรือในบางรายก็อาจแสดงออกด้วยอาการทางจิตเวช เช่น เป็นบ้า ได้เช่นกัน
ส่วนอาการแสดงที่แพทย์อาจตรวจพบเพิ่มเติมก็เช่น มีความบกพร่องของลานสายตาบางส่วน
มีปฏิกิริยาตอบสนองฉับพลันที่ผิดปกติ จอประสาทตาบวม เป็นต้น ซึ่งโรคที่เป็นสาเหตุ
ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาทนั้นก็มีได้หลายสาเหตุด้วยกัน
ทั้งโรคติดเชื้อ เช่น สมองอักเสบ หรือ เนื้องอกและมะเร็ง ความผิดปกติแต่กำเนิด
บางชนิดที่ไม่ได้แสดงอาการตั้งแต่แรกเกิด หรือรวมทั้งโรคที่เกิดจากภูมิต้านทานของตัวเองที่ผิดปกติ
นอกจากนี้การประเมินว่าอาการปวดศีรษะนั้นเกิดจากสาเหตุที่เป็นอันตรายหรือไม่
อาจพิจารณาได้จากปัจจัยเสี่ยง เช่น หากพบอาการปวดศีรษะในผู้สูงอายุเป็นครั้งแรกอาจ
นึกถึงสาเหตุที่เป็นอันตรายไว้ก่อน หรืออาการปวดศีรษะในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง
อาจต้องนึกถึงภาวะที่มะเร็งกระจายมายังสมองร่วมด้วย ในขณะที่หากพบอาการปวดหัวในผู้ป่วย
กลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อไวรัส HIV หรือ ได้รับยาเคมีบำบัด
ได้รับยากดภูมิคุ้มกันชนิดต่างๆ อาจต้องนึกถึงอาการปวดศีรษะจากสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง
ติดเชื้อ
อักเสบ เป็นฝี โดยเชื้อก่อโรคอาจเป็นเชื้อก่อโรคธรรมดา หรือเชื้อฉกฉวยโอกาสก็ได้เช่นกัน
หากแพทย์ได้ทำการประเมินและวินิจฉัยว่าอาการปวดศีรษะที่เป็นนั้นไม่น่าจะมีสาเหตุมาจากโรคซึ่งเป็นอันตราย
แพทย์ผู้รักษาอาจพิจารณาให้ยารักษาก่อน โดยไม่จำเป็น
ต้องส่งตรวจเพิ่มเติม แต่ถ้าหากอาการปวดหัวยังคงเท่าเดิมหรือรุนแรงขึ้นภายหลังได้รับการรักษาตามมาตรฐานของโรคที่สงสัยโดยใช้ระยะเวลาการตรวจติดตามที่เหมาะสมแล้ว
แพทย์อาจพิจารณาให้มีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมซึ่งเป็นได้ทั้งการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองหรือการถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมองตามแต่ความเหมาะสมและข้อบ่งชี้
แต่
ถ้าหากแพทย์ผู้ดูแลไม่มีการตรวจเพิ่มเติมใดๆ แม้ว่าผู้ป่วยจะกินยาและมาตามนัดตรวจติดตามต่อเนื่องโดยที่อาการปวดศีรษะไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง
ผู้ป่วยอาจร้องขอเพื่อเปลี่ยนแพทย์
ผู้ทำการรักษาได้เช่นกัน
อาการปวดศีรษะเป็นเรื่องที่ควรรู้เพราะเป็นอากานที่พบบ่อยในชีวิตประจำ
และอาจบ่งชี้ภาวะอันตรายที่ซ่อนอยู่ได้ หากมีอาการปวดศีรษะ เฉียบพลันรุนแรง
อาการปวดหัว
ที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ อาการปวดที่เกิดร่วมกับความผิดปกติของระบบประสาท หรือในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
http://radiopaedia.org/articles/intracranial-haemorrhage
http://www-sop.inria.fr/asclepios/projects/Health-e-Child/DiseaseModels/content/brain/images/images_TumorGrowth5/scan2_full_kucuk.png
|