อุทยานการศึกษา
: อุทยานแห่งการเรียนรู้
โดย...รองศาสตราจารย์ ดร.สมจิต โยธะคง
คณะกรรมการบริหารกองทุนอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557) |
การจัดทำโครงการอุทยานการศึกษา
เป็นการใช้พื้นที่ทั้งหมดของสถานศึกษาเป็นแหล่งศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ
รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัยและตลอดชีวิต เพื่อสร้างความหลากหลาย
ให้ตระหนักถึงคุณค่าสิ่งแวดล้อม สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น จริยธรรม วัฒนธรรม
ภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนอุทยานการศึกษารัชมังคลา
ภิเษก มีภารกิจหลักคือ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สำนักการศึกษาต่อเนื่องทำหน้าที่ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
โดยอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราชแห่งนี้ เปิดให้ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและทัศนศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ
ภาพจาก
Web Site
http://www.stou.ac.th/Information/STOU_View/
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
ความเป็นมาของอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาห้ารอบ
และพระราชพิธีมังคลาภิเษก
พ.ศ. 2530 มีคณะกรรมการอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก ในช่วงแรกๆ คือ ศาสตราจารย์
ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย และเป็นประธานคณะกรรมการบริหารกองทุน
อุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก พื้นที่ของอุทยานการศึกษาจะแทรกซ้อนตามพื้นที่ของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นส่วนพื้นที่เป็นสนามหญ้า
สวนสาธารณะ อาคารต่างๆ เพราะฉะนั้นขอบเขต
ของอุทยานการศึกษาไม่ได้หมายความว่าเป็นเฉพาะส่วนที่เป็นพื้นที่สีเขียวเท่านั้น
วัตถุประสงค์ในการสร้างอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก ประกอบด้วย
1. เพื่อเป็นแหล่งให้การศึกษาตามอัธยาศัยตามนโยบายของมหาวิทยาลัย
และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อให้บุคคลทุกเพศทุกวัยได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่าง
กว้างขวางและต่อเนื่องด้วย
2. เพื่อเป็นแหล่งวิชาการสำหรับนักเรียนนักศึกษาในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเป็นการเสริมการศึกษาในระบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. เพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการจัดกิจกรรมทางวิชาการเน้นวิชาการและนันทนาการด้วยคือการพักผ่อน
ศิลปวัฒนธรรมและงานประเพณีต่างๆ ของทั้งในภูมิภาคในประเทศ
4. เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมด้านการศึกษา
การฝึกอบรม และการประชุมสัมมนาของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
5. เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วๆ
ไป ข้างเคียงมหาวิทยาลัยชุมชน รวมทั้งเป็นแหล่งทัศนศึกษาสำหรับประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ
มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเปิดกว้างๆ
รองรับทั่วไป ส่วนความสำคัญอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก มีความสำคัญคือเป็นทั้งแหล่งการศึกษาเรียนรู้โดยเฉพาะเรียนรู้ตลอดชีวิตตามอัธยาศัยด้วย
เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ แหล่งออกกำลังกายแก่บุคคลทั่วไป และชุมชนรอบๆ มหาวิทยาลัย
พื้นที่เปิดสนามหญ้าพืชพรรณหลากหลายชนิด สระน้ำช่วยเสริมสร้างความเป็นระเบียบสวยงามร่มรื่นแก่
มหาวิทยาลัย เพื่อตอบสนองหรือสนองเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยว่าเป็นมหาวิทยาลัยเขียวสะอาด
ภาพจาก
Web Site
http://www.stou.ac.th/Information/STOU_View/
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
สถานที่แรกที่เด่นที่สุดของคืออาคารพุ่มข้าวบิณฑ์
เป็นอาคารสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ประยุกต์สถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัยมาใช้ในการออกแบบก่อสร้าง
คนที่ออกแบบคือรองศาสตราจารย์
ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ซึ่งและได้รับเชิดชูเกียรติจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นศาสตราภิชาน สาขาสถาปัตยกรรมและศิลปินแห่งชาติ
เป็นผู้ออกแบบและการจัดตั้งอาคารจะตั้ง
อยู่ที่ตรงกลางของอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษกตั้งอยู่กลางสระน้ำ ภายในอาคารจะมีพื้นที่ใช้สอยสามชั้น
และสิ่งสำคัญของมหาวิทยาลัยจะเป็นสถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุดของมหาวิทยาลัย
ภาพจาก
Web Site
http://www.stou.ac.th/Information/STOU_View/
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
สถานที่
2 คือ อาคารอเนกนิทัศน์ เป็นหอประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชตรงนี้
และสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันเป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย
และกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ประชุมสัมมนาขนาดใหญ่นานาชาติสมมติ การจัดเลี้ยงสาระสังสรรค์
การจัดเลี้ยงสถาปนาของมหาวิทยาลัย
ภาพจาก
Web Site
http://www.stou.ac.th/Information/STOU_View/
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
สถานที่
3 หอพระพุทธมิ่งมงคลธรรมสถาน หอพระเป็นอาคารจตุรมุข ลักษณะแท่นฐานย่อมุมทั้งสี่ด้าน
มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 120 ตารางเมตร ออกแบบโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ
สุวรรณคีรี
เป็นอาคารประดิษฐานพระพุทธมหามุนีศรีสุโขทัยธรรมาธิราช ประจำมหาวิทยาลัย
มีลักษณะพระพุทธรูปปางมารมารวิิชัย ทองเหลืองรมดำปิดทองคำเปลวแท้ พระพุทธรูปลอยองค์ทองเหลืองเคลือบทองและ
ทองเหลืองรมดำ และได้ปฏิบัติตนเป็นคนดี ตั้งมั่นในศีลธรรมย่อมมีความเจริญรุ่งเรือง
และประสบความสำเร็จ
ภาพจาก
Web Site
http://www.stou.ac.th/Information/STOU_View/
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
สถานที่
4 คือ ห้องอาคารสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระบรมราชินี เป็นแหล่งรวบรวมทางประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่เจ็ดที่สำคัญๆ
ทั้งหมด
รวมถึงสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ตั้งอยู่ที่ชั้นสอง อาคารบรรณสาร
มีการจัดรูปแบบของอาคารเหมือนกับสมัยของพระองค์ ได้มีคนเข้ามาศึกษาเรียนรู้และก็เป็นห้องที่มีความสวยงามมาก
ภาพจาก
Web Site
http://www.stou.ac.th/Information/STOU_View/
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
สถานที่
5 คือ พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่เจ็ด ตั้งเด่นเป็นสง่าตั้งของพระองค์เรียกว่าแบบยืนตรงเด่นสง่าอยู่หน้าอาคารพุ่มข้าวบิณฑ์
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์นับถือของบุคลากรในมหาวิทยาลัย นักศึกษา
และคนทั่วๆ ไปให้ความเคารพนับถือมักจะมีคนไปสักการะพระองค์เป็นประจำ ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ
และเป็นจุดยึดเหนียวชาว มสธ.
ภาพจาก
Web Site
http://www.stou.ac.th/Information/STOU_View/
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
นอกจากนี้ก็มีทางด้านอาคารศาลาประจำทิศ
ปลูกสร้างอยู่ในอุทยานการศึกษา จะอยู่จริงๆ ก็มีอยู่สี่ทิศด้วยกันเป็นอาคารประยุกต์แบบทรงไทย
สำหรับคนที่จะมีทางเดินเชื่อมโยงต่อเวลาเดินหรือวิ่งมา
ออกกำลังกายนั่งพักผ่อนและเชื่อมต่อทุกภาคส่วนของอุทยาน สถานที่เหล่านี้เป็นส่วนที่สำคัญๆ
ที่เกี่ยวข้องกับอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก
โครงสร้างพื้นที่ใช้สอยหรือว่าสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
มีแนวคิดมาจากเรื่องของโครงสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวก ประโยชน์ใช้สอยจะแบ่งออกเป็นสองส่วนที่สำคัญๆ
ส่วนหนึ่งเป็นส่วนที่เป็นภูมิทัศน์
สีเขียวที่เกี่ยวกับเรื่องของงานภูมิทัศน์โดยตรง สีเขียวสะอาด ร่มรื่น สวยงามตามธรรมชาติ
มีต้นไม้ใหญ่ที่เขียวชอุ่มตลอดทั้งปี และมีอาคารสถานที่พร้อมอำนวยความสะดวก
เป็นปอดของมหาวิทยาลัย
นอกจากนี้มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ในนนทบุรี พันธุ์ไม้ในนนทบุรีถือว่าสำคัญมาก
ทั้งไม้ดอก ไม้ประดับไว้ที่นี่เพื่อศึกษาเรียนรู้ต่อไป ส่วนที่ 2 เป็นกิจกรรมทางการศึกษาตามอัธยาศัย
การเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต
ไทย เอกลักษณ์ไทย ศิลปวัฒนธรรม มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาะเกร็ดที่มีชื่อเสียงมากเรื่องของเครื่องปั้นดินเผาในอาคารเฉลิมพระเกียรติ
80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นอกจากนี้มีลานเอนกประสงค์หน้าอาคารวิทยทัศน์
บริเวณนี้มีสระน้ำที่เป็นกระเพาะหมู่อยู่ด้านหน้าสวยงาม มีน้ำพุพุ่ง และลานสำหรับจัดด้านศิลปวัฒนธรรม
เช่น งานลอยกระทงประจำปีหรือวันงาน
เลี้ยงรับรองช่วงกลางคืน น้ำพุ และเวทีการแสดงกลางแจ้ง ส่วนตอนกลางวัน มีที่นั่งพักผ่อนใต้ต้นนนทรี
มองเห็นไอน้ำที่ฟุ้งจายเวลาที่เปิดน้ำพุ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการใช้สอยพื้นที่และสิ่งปลุกสร้างที่เกี่ยวกับ
เรื่องของงานภูมิทัศน์โดยตรง เกิดประโยชน์ใช้สอยที่มีประสิทธิภาพ มีความร่มรื่นสวยงาม
ตลอดจนมีเอกลักษณ์ที่งดงามโดดเด่น
นางสาวอุษณีย์
โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม / การท่องเที่ยว
กลุ่มรายการที่ 4/32-57
CD-A4(3/3)-57
|