โอกาสทางการค้าตลาด
AEC วิเคราะห์ได้อย่างไร
โดย...รองศาสตราจารย์ ดร.เชาว์ โรจนแสง
อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557) |
โอกาสทางการค้าในตลาด
AEC ผู้ประกอบการไม่สามารถนิ่งอยู่กับที่ เพราะถ้าหากว่าไม่สามารถพัฒนาองค์การจะสู้กับคู่แข่งขันไม่ได้
สิ่งสำคัญมากองค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเองอยู่เสมอจะทำ
ให้มีโอกาสทางการค้าตลาด AEC เศรษฐกิจปีที่ผ่านมามูลค่าการค้าชายแดนของประเทศไทยมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผลจากการที่ประเทศเพื่อนบ้านมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบาย
เศรษฐกิจและการค้าเสรีมากขึ้น รวมไปถึงพัฒนาการร่วมมือและความตกลงทางการค้าในรูปแบบต่างๆ
ปัจจัยมีส่วนส่งเสริมให้มูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่ก็ยังส่งผลต่อความใกล้ชิด
และความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ มากขึ้น ประเทศไทยจะมีโอกาสทางการค้าสูง
ขึ้นอยู่กับโอกาสทางการค้าตลาด AEC ที่มีการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง
ภาพจาก
Web Site
http://www.apecthai.org/images/2558/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8
%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%88/AEC.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
ผู้ประกอบการควรจะมีความรู้เรื่องการวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด
โดยยึดหลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม
หรือที่คุ้นกันชื่อ SWOT Analysis เกี่ยว
กับเรื่องของ อันดับแรกจุดเด่นหรือจุดแข็งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน ปัจจัยต่อไปเรื่องจุดด้อยหรือจุดอ่อนเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน
เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ปัจจัย
ต่อไปโอกาสเกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอก ปัจจัยสุดท้ายอุปสรรคเกิดจากปัจจัยภายนอก
เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์
การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
การวิเคราะห์
SWOT Analysis เจาะในเรื่องของการวิเคราะห์ประเทศต่างๆ บางประเทศอาจจะมีแนวโน้มมีผู้สูงอายุมากขึ้นและเข้าสู่สังคมสูงอายุ
ถ้าจับจุดนี้ประเทศไทยวางเรื่องการนำสินค้าไป
จัดจำหน่ายต้องสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ เข้าไปสู่ประเทศต่างๆ หรือการวิเคราะห์คนของประเทศนั้นมีกลุ่มอย่างไร
เช่น เด็ก ผู้คนวัยทำงาน ผู้สูงอายุ มีจำนวนมากน้อยแค่ไหน ข้อมูลแบบนี้เป็นโอกาสของ
ประเทศไทย ในการทำตาลาด เช่น การจำหน่ายสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ กำหนดกลุ่มเป้าหมายของประเทศนั้นได้ชัดเจนมีกลุ่มใด
หรืออาจจะมีอย่างอื่นกลุ่มประเทศอาเซียน อาจจะเป็นแหล่งที่จะเป็นผลิต
วัตถุดิบป้อนให้กับธุรกิจ เช่น ลาว กัมพูชา พม่า ขณะที่การพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
AEC ทำให้เพิ่มอำนาจการต่อรองทางราคากับภูมิภาคอื่นๆ ภูมิภาคอื่นอาจจะอยู่ในฐานะผู้ผลิตวัตถุดิบ
หรือ
เศรษฐกิจโลกปรับตัวเป็นแบบหลายศูนย์กลาและเอเซียนรวมถึงประเทศเศรษฐกิจก็เกิดสิ่งใหม่ๆ
ขึ้นทำให้เกิดเค้ามีความสำคัญมากขึ้น มีอำนาจในการต่อรอง
ภาพจาก
Web Site
http://3.bp.blogspot.com/-jM7Ke3ekknM/T_ZlBR7yfQI/AAAAAAAABwk/6gv9VZL48Ew/s1600/aec.JPG
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
การดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป
ส่งผลผู้บริโภคไม่ได้พิจารณาจากปัจจัยราคาแต่ต้องการอาหารที่มีคุณค่าเหมาะสมมีประโยชน์และตอบสนองการดำเนินชีวิต
เช่น ตอนนี้จะได้เห็นว่า
ประเทศพม่า ประเทศลาว หรือในกัมพูชา อาหารไทยเป็นที่นิยม ความเจริญเข้าไปในประเทศต่างๆ
เหล่านี้เป็นโอกาสให้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมไทยที่จะเข้าไปทำการตลาดประเทศต่างๆ
นำสิ่งนี้ไป
สื่อสารเกิดความนิยม ซึ่งเหมือนคนไทยไปอเมริกากัน กลับมาประเทศไทยนำวัฒนธรรมหรือนำพฤติกรรมการบริโภคมาใช้กับประเทศไทย
ตรงนี้เป็นโอกาสการค้า ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ
การเมือง และปัจจัยทางด้านกฎหมายอะไรต่างๆ ถ้ามองเรื่องอาหาร สิ่งที่จะพ่วงมาด้วยคือวัตถุดิบ
แล้วคนที่เป็นผู้ปรุง ประเทศไทยได้เผยแพร่เรื่องของวัฒนธรรมไปกับสิ่งเหล่านี้
เรื่องของระเบียบต่างๆ
มีการส่งเสริมการลงทุนเป็นอย่างไร มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้สิทธิอะไรที่จะเอื้อต่อการให้ประเทศต่างชาติเข้าไปทำการตลาดหรือไม่
การอนุญาตให้สามารถเข้าไปลงทุนใน
ฐานะที่เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ด้วยกันหรือไม่ ต้องศึกษาให้ดีถ้าพิจารณาในภาพรวมเป็นโอกาส
หรือสามารถเข้าไปเป็นเจ้าของธุรกิจ นำเงินออกย่างไร เพราะหลังจากได้กำไรส่วนหนึ่ง
สามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนได้อย่างเสรี เช่น การลงทุนเพิ่มต่อแล้วเราไปทำกิจกรรมทางด้านการตลาดต่อเป็นสิ่งที่น่าจะทำได้
แต่ ณ วันหนึ่งได้ผลกำไรตอบแทนแล้ว ต้องไปศึกษามีกฎระเบียบในด้านของ
ภาษี เรื่องของแรงงานค่าจ้างต้องใช้แรงงานค่าจ้างของประเทศนั้นเหมือนกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านของแรงงานฝีมือต้องพัฒนาต้องเรียนรู้ ค่าจ้างแรงงานวันข้างหน้าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
จะปัญหา
ในการที่จะเข้าไปทำการตลาด
ภาพจาก
Web Site
https://blog.eduzones.com/images/blog/aec1/20120216210826.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
ผู้ประกอบการเตรียมเทคนิคการลดความเสี่ยง
เริ่มจากเตรียมแผน และวิธีการเพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ เช่น กฎหมายการนำเงินออกนอกประเทศวันละเท่าไหร่ส่วนหนึ่งสามารถที่จะทำได้โดยอาจจะ
มีทางด้านภาครัฐ อาจจะต้องมีการต่อรองหรือตกลงกับประเทศต่างๆ แต่ด้านนักธุรกิจต้องมีแผนในการที่เป็นแผนสำรอง
จะได้มีการเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดปัญหา ประเทศไทยพิจารณาจุดแข็งจุดอ่อน
เรื่องของโอกาสสำหรับธุรกิจไทย เช่น สิงคโปร์พยายามที่จะขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น
หรือประเทศบรูไนมีประชากรน้อยและส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ อนาคตจะประสบปัญหาเรื่อง
น้ำมันหมดรายเป็นรายได้หลักขณะนี้ประเทศบูรไนส่งเสริมทางด้านการเกษตร เป็นโอกาสให้ประเทศไทยเข้าไปทำการตลาดทำให้ประเทศบรูไนมีศักยภาพในสร้างผลผลิตทางเกษตรหรือประเทศเวียดนาม
เริ่มมีรายได้และความต้องการสูงเกิดจากเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วการบริโภคเพิ่มขึ้น
เป็นโอกาสประเทศไทยจะเข้าไปทำธุรกิจในประเทศต้องการ
ภาพจาก
Web Site
http://th.aectourismthai.com/images/blog/content2/20150629-1435562486.2236-9.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
ผู้ประกอบการมือใหม่จะลดความเสี่ยง
การเข้าไปทำธุรกิจจะใช้วิธีการค่อยเป็นค่อยไปน่าจะดีกว่า ลองทดสอบตลาด เช่น
ธุรกิจส่วนใหญ่ในบ้านเราเริ่มจากประเทศเพื่อนบ้านเดินทางมาซื้อสินค้า
ประเทศไทยเป็นแถบชายแดนหรือว่าจะเข้ามาในกรุงเทพ สิ่งการเกิดตลาดการค้า และถ้าเราวางแผนส่งออกสินค้าที่เขาต้องการไปขายในประเทศเขาไม่ต้องเดินทางมาซื้อที่ประเทศไทย
หรือหาตัวแทน
จำหน่ายในต่างประเทศ ค่อยเริ่มทำอย่างรอบคอบและสุดท้ายสามารถสร้างการตลาดการค้าในประเทศนั้นอย่างยั่งยืน
นอกจากไปทำการตลาดอย่างเดียวอาจจะไม่พอ อาจจะไปตั้งฐานผลิตในประเทศเขา
พิจารณาว่าเป็นการดีกว่าจะผลิตในประเทศไทย เช่น เรื่องของแรงงาน เรื่องของวัตถุดิบที่จะใช้
ในเรื่องการสร้างแรงงานฝีมือ เหล่านี้เอื้อทำให้สามารถนำจากเงินประเทศไทยไปลงทุน
โดยไม่ต้องใช้
ทรัพยากรในประเทศ
กรณีการจะตั้งฐานผลิตในประเทศเป้าหมายต้องพิจารณาว่ามีวัตถุดิบเพียงพอหรือไม่
กฎหมายกำหนดให้ใช้แรงงานในประเทศเขาหรือเปล่าอาจจะไม่กำหนด พิจารณาความจำเป็นต้องใช้แรงงาน
ของเขา โดยส่วนใหญ่น่าจะดีกว่าการนำแรงงานไปจากประเทศไทย แต่ในการทำงานส่วนที่เป็นหัวใจของบริษัท
หรือหัวหน้าหลักในส่วนต่างๆ ควรจะเป็นคนไทยดำเนินงาน แม้แต่การพัฒนาฝีมือแรงงาน
มีลักษณะแบบไหน
ภาพจาก
Web Site
http://www.prosoftgps.com/upload/6155/ajogw03AcG.jpg
ข้อมูลภาพ
ณ วันที่
28-4-60
|
|
ปัจจุบันนี้ในโลกนี้ทุกวันนี้ใช้เทคโนโลยีมากกว่าที่จะใช้คน
คนอยู่ในฐานะควบคุม บางทีอาจจะคุ้มกว่าค่าฝึกฝีมือแรงงานคนท้องถิ่นให้มีความรู้และสามารถทำได้
แต่แน่นอนเหมือนกับสอนให้เขา
รู้แต่วันหนึ่งอาจจะออกมาแข่งกับเราในส่วนนี้ต้องรู้และทำใจ สิ่งที่จะช่วยได้คือ
จะต้องมีนวัตกรรมใหม่อยู่ตลอดให้เขาตามไม่ทันและไม่ย่ำอยู่กับที่ทำอะไรให้ดีขึ้นๆ
ใฝ่หาความรู้ในพื้นที่เพื่อวิเคราะห์
โอกาสทางการตลาด และเรื่องประสบการณ์มีความสำคัญมากในการผลิตสินค้าหรือบริการ
เช่น สินค้าของไทยดีอยู่แล้ว ต้องรักษาให้อยู่ในคุณภาพมาตรฐานที่เป็นมาตรฐานสากล
อย่างน้อยมาตรฐานของ
ไทยและมาตรฐานสากล และก็ทำพยายามที่จะรักษามาตรฐานและทำให้มาตรฐานดียิ่งขึ้น
มีนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถที่มีโอกาสทางค้ากับตลาดต่างประเทศได้ต่อไป
นางสาวอุษณีย์
โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)
กลุ่มที่ 3 บริหารงาน/บริหารคน
กลุ่มรายการที่ 3/49-57
CD-A3(5/5)-57
|