การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว
โดย...นายพิทักษ์สิน สิวรุจน์
นักวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
อีเมล์
: koreangate@hotmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
มนุษย์ไม่ว่าจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมใด
หรือมีชีวิตในอยู่ในช่วงสมัยใด ย่อมมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นแฟ้น
เพราะมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของ
ธรรมชาติจนไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด อาจกล่าวได้ว่าการกระทำใดๆ
ของมนุษย์ย่อมมีผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง และในขณะเดียวกัน
การ
เปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมย่อมส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ได้เช่นกัน
ดังนั้น แทนที่มนุษย์จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อดำเนินกิจกรรม
หรือ บำบัด ความต้องการของตนเองแล้ว มนุษย์ทุกคนจึงควรตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคมมนุษยชาติเสียมากกว่า
โดย
กระทำได้ในทุกโอกาส แนวทางหนึ่งที่มนุษย์สามารถกระทำได้ไม่ว่าจะสังกัดหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนก็คือ
การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว
ภาพจาก
Web Site
http://www.rd1677.com/open.php?id=59060
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-4-58 |
|
นิยาม
การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว
(Green Procurement หรือ Green Purchasing) คือการจัดซื้อสินค้าและจัดจ้างบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กล่าวคือ เป็นการจัดซื้อ
จัดจ้างสินค้าและบริการที่ส่งผลกระทบน้อยกว่าสินค้าและบริการปรกติทั่วไปที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
โดยพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหา
วัตถุดิบ ไปจนถึงขั้นตอนการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังหมดอายุการใช้งาน แทนการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้สินค้าและบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น
การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
จากนิยามข้างต้น
จะเห็นได้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวแตกต่างจากการจัดซื้อจัดจ้างโดยทั่วไปตรงที่พิจารณาถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญด้วย
นอกเหนือจากคุณภาพ
ราคา และการส่งมอบ ตามหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป (ดูแผนภาพที่ 1 ประกอบ)
คุณภาพ
+ ราคา + การส่งมอบ + ปัจจัยสิ่งแวดล้อม = การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว |
แผนภาพที่
1 : แผนภาพแสดงหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว
ภาพจาก
Web Site
http://www.greenistasociety.com/read/read_22.php
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-4-58 |
|
ตัวอย่างการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว
การจัดซื้อสินค้าและจัดจ้างบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หรือ การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว นั้น สามารถยกตัวอย่างเกณฑ์ในการจัดซื้อจัดจ้างได้ดังต่อไปนี้
(1) เกณฑ์ในการจัดซื้อตลับหมึกสำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร
/ เครื่องพิมพ์
-
ไม่ใช้สารประกอบปรอท ตะกั่ว โครเมียม และแคดเมียม เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์
-
ไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสารก่อมะเร็ง
-
สำหรับตลับหมึกสี ไม่มีสารเอมีนที่เป็นพิษในส่วนผสมของผงหมึก
(2) เกณฑ์ในการจัดซื้อแฟ้มเอกสาร
ซองบรรจุภัณฑ์ กล่องใส่เอกสาร และกระดาษสีทำปก
-
แฟ้มเอกสาร ซองบรรจุภัณฑ์ และกล่องใส่เอกสาร ต้องทำจากเยื่อเวียนทำใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ
70 และถ้าใช้กระดาษลูกฟูกบุภายในกล่อง กระดาษลูกฟูกต้องทำ
จากเยื่อเวียนทำใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
-
กระดาษสีทำปกต้องทำจากเยื่อเวียนทำใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
(3)
เกณฑ์ในการเลือกใช้บริการโรงแรม ให้เลือกใช้บริการโรงแรมที่ได้รับการรับรองด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
เช่น เกียรติบัตรใบไม้เขียว หรือได้รับการรับรอง
ISO 14001 แต่ถ้าหากโรงแรมใดไม่ได้รับการรับรองดังกล่าว สามารถพิจารณาข้อกำหนดต่อไปนี้
-
มีระบบบำบัดน้ำเสีย (หรือถ้าหากไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย จะต้องไม่มีการระบายออก)
-
ไม่อยู่ระหว่างการถูกกล่าวโทษหรือถูกตรวจสอบเรื่องร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม
-
เกณฑ์อื่นๆ ได้แก่ ความปลอดภัย การจัดการขยะ การใช้พลังงานและทรัพยากร อากาศและเสียง
ผลกระทบต่อระบบนิเวศ ผลกระทบต่อชุมชนโดยรวม
ภาพจาก
Web Site
http://www.hbinstrument.com/accreditations.php
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 11-4-58 |
|
ประโยชน์ของการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว
จากตัวอย่างที่ยกมาข้างต้น
การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวนั้นส่งผลดีมากมายต่อทั้งผู้บริโภค และผู้ผลิตสินค้าและบริการ
รวมถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม
การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวกล่าวได้ว่ามีผลกระทบโดยตรงผู้บริโภค
เนื่องจากผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการจะปลอดภัยจากสารพิษที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
ส่วนประโยชน์ที่มีต่อ
ผู้ผลิตนั้น มักจะเป็นผลดีในทางเศรษฐกิจระยะยาว เนื่องจากเกิดการประหยัดในต้นทุนการผลิตจากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์
ที่ดีของผลิตภัณฑ์และองค์กรผู้ผลิตสินค้าและให้บริการ
เหนือสิ่งอื่นใด
คือเกิดประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม เพราะถ้าหากทุกคนตระหนักและนำแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวไปปฎิบัติ
ย่อมลดผลกระทบต่อสิ่ง
แวดล้อม กล่าวได้ว่าเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้นในองค์รวม
การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวนั้นไม่เพียงแต่ส่งผลดีต่อผู้ปฏิบัติแต่เพียงเท่านั้น
แต่สามารถกล่าวได้ว่ายังประโยชน์ต่อทุกๆ คน หากมนุษย์เรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
พร้อมใจกันนำแนวคิดดดังกล่าวไปปฏิบัติ เนื่องจากแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นถือได้ว่าเป็นหนทางหนึ่งในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
และ
พัฒนาสังคมของมนุษยชาติให้สอดคล้องกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน
เอกสารอ้างอิง
...........................................................................................................................
กรมควบคุมมลพิษ. (2549). การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.
ค้นวันที่ 10 เมษายน 2558 จาก www.pcd.go.th/count/ptechdl.cfm?FileName=GP_seminar.ppt.
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2550). การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(Green Procurement). ค้นวันที่ 10 เมษายน 2558 จาก http://eco-town.dpim.go.th/article/detail.php?id=170.
จันทวัน เบ็ญจวรรณ์. (ม.ป.ป.). มนุษย์กับธรรมชาติ. ค้นวันที่ 11 เมษายน 2558
จาก http://human.tru.ac.th/elearning/Human%20Being/human-detail1_3.html.
___. (ม.ป.ป.). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. ค้นวันที่ 11 เมษายน 2558 จาก http://human.tru.ac.th/elearning/Human%20Being/human-detail1_5.html.
ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2554). การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม.
ค้นวันที่ 10 เมษายน 2558 จาก http://www.environnet.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=949&Itemid=211
|