เทคนิคการเขียนโครงการมุ่งผลสัมฤทธิ์
โดย...รองศาสตราจารย์ ดร.บุญศรี พรหมมาพันธุ์
รองอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สิน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2557)

          ความหมายของคำว่าโครงการภาษาอังกฤษอาจจะเรียกว่า Project หมายถึงกลุ่มของกิจกรรมของงานที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน โครงการจะเป็นส่วนหนึ่งของแผน จุดเด่นคือ จะต้องมีระยะเวลา
เริ่มต้นและสิ้นสุด โครงการเป็นลักษณะที่พิเศษไม่ใช่งานปกติ และคำว่าโครงการมุ่งผลสัมฤทธิ์ คำว่าโครงการมุ่งผลสัมฤทธิ์จะมีความสับซ้อนที่โครงการมุ่งผลสัมฤทธิ์แปลว่ามุ่งผลสำเร็จ จะต้องคาดหวัง
บางทีคาดหวังเกินเป้า จะต้องให้หวังว่าให้เกิด Outcomes เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อองค์กร เช่น ทำเรื่องโครงการอาหารกลางวัน ทอดไข่เจียว ข้าวไข่เจียว ถือว่าเป็นโครงการอาหารกลางวันแบบธรรมดา
แต่ถ้าเกิดโครงการมุ่งผลสัมฤทธิ์เราจะต้องมุ่งเป้าว่า อาหารกลางวันที่อาจจะทำหลากหลายเช่น มีสเต็กปลาแซลมอน มีสปาเก็ตตี้ หรือ มีส้มตำปูปลาร้าไข่เค็ม ที่มีหลากหลายไม่ธรรมดา ดังนั้นเป้าหมาย
ของ 2 โครงการ มีความแตกต่าง คือความซับซ้อนของงาน ความสำคัญของโครงการมีความสำคัญมาก เพราะว่าเป็นแผ่นภาพขององค์รวม ที่ว่าองค์กรหรือหน่วยงานนั้นจะพุ่งเป้าไปทางใดจะมีการดำเนิน
กิจกรรมไปอย่างไร และจะประสบผลสำเร็จมาก ขึ้นอยู่กับโครงการนั้นๆ


ภาพจาก Web Site
https://thidaratkhamheang.files.wordpress.com/2015/11/sh_20120323053209.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-5-60

          เทคนิคการเขียนไม่ว่าจะเป็นโครงการทั่วไปหรือว่าโครงการมุ่งผลสัมฤทธิ์ จะต้องมีขั้นตอนดังนี้
          1. ต้องทราบองค์ประกอบรู้โครงการเป็นอย่างดี ต้องรู้รอบ รู้รอบในที่นี้หมายถึงรู้ในศาสตร์ของการเขียนโครงการ รู้ว่าหน้าตาโครงการเป็นอย่างไร เช่น ถ้าบอกจะวาดภาพเด็กผู้ชายซักหนึ่งภาพ จะต้อง
รู้องค์ประกอบว่า เด็กผู้ชายจะต้องประกอบด้วย เช่น ใบหน้า ลำตัวแขนขา เสื้อผ้า
          2. หลังจากที่เรารู้ องค์ประกอบรู้โครงการเป็นอย่างดี ต้องมาฝึกเขียน ต้องมีความคิดเชิงนวัตกรรม ความคิดเชิงนวัตกรรมหมายถึงว่า คิดวิเคราะห์สังเคราะห์คิดแปลกใหม่ แทนที่จะวาดรูปเด็กผู้ชาย
อาจจะใส่สีสัน ระบายสีให้น่าดูน่าชม อยากเสนอแนะโดยเฉพาะนักเขียนหน้าใหม่ ต้องหาประสบการณ์โดยการเรียนรู้จากโครงการอื่น ว่าเขามีการเขียนอย่างไรแล้วก็ต้องฝึกเขียน
          3. ต้องเขียนให้ครบถ้วนในทุกหัวข้อหมายถึง ในการเขียนโครงการหนึ่งๆ จะประกอบไป หัวข้อ 9 หรือ 10 หัวข้อ ต้องเขียนให้ครบ ต้องมาตรวจสอบว่า สิ่งที่เขียนใช้ภาษาสละสลวย อ่านแล้วซับซ้อน
เข้าใจยากหรือไม่ มีการตรวจทานก่อนที่จะลงไปทำเขียนเต็มรูปแบบเพื่อนำเสนอหน่วยงาน
          4. นักเขียนโครงการจะต้องรู้รายละเอียด โครงการเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานถ้าจะเขียนให้เต็มรูปแบบ จะเขียนโครงการเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานอะไร เช่น โครงการที่หนึ่งเป็นโครงการพัฒนาการ
เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยแบบมืออาชีพ โครงการย่อยที่สองอาจจะเป็นโครงการจัดงานประจำสู่งานวิจัยเหล่านี้เป็นต้น
          องค์ประกอบแรกจะต้องรู้ว่าเป็นแผนงานอะไร ต้องมาเขียนชื่อโครงการจะต้องเขียนเป็นลักษณะแบบทำกลางๆ ไม่เขียนเป็นคำถาม หลังจากที่มีชื่อโครงการสิ่งสำคัญ คือ หลักการและเหตุผล จะต้อง
มีข้อมูลเชิงประจักษ์ ข้อมูลอ้างอิงในการเขียนบทนำ ทำไมต้องมีโครงการ ถ้าเทียบกับวิจัยจะเป็นความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา แต่ในการเขียนโครงการจะใช้หัวข้อว่าหลักการและเหตุผล คือ
วัตถุประสงค์ ของโครงการ ควรจะเขียนเป็นข้อๆ ใช้คำให้ชัดเจน ต่อจากนั้นการเขียนโครงการ คือ หัวข้อเป้าหมาย เป้าหมายเป็นการกำหนดตัวเลขเชิงปริมาณ หัวข้อต่อไปคือระยะเวลา เรื่องต่อไปงบประมาณ
ให้ละเอียดว่า จะใช้งบรายได้งบประมาณแผ่นดิน หมดค่าวัสดุค่าใช้จ่ายอย่างไร ต้องเขียนชัดเจน ตามมาคือผู้รับผิดชอบโครงการอาจจะเป็นคณะบุคคลหรือหน่วยงานหรือองค์กร หลังจากนั้นจะมีวิธีดำเนินการ
แปลว่าต้องเขียนเป็นขั้นตอน เช่น มีการวางแผน อาจจะมีการตั้งคณะทำงาน อาจจะมีการเก็บข้อมูลภาคสนาม คือ ต้องเขียน มีตารางแบบ Timetable หลังจากนั้นต้องมีเรื่องการติดตามผล มีการประเมินผล
อย่างไร หัวข้อท้ายสุด คือ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โครงการนี้ปิดแล้วจะได้ประโยชน์อะไรต่อองค์กรต่อหน่วยงาน


ภาพจาก Web Site
http://www.nualumni.nu.ac.th/ardd_website/images/photo_activity_news/58/ardd240758.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-5-60

          ข้อควรระวังในการเขียนโครงการ เรื่องที่หนึ่งคือรู้จริง แปลว่านักเขียนหน้าใหม่ต้องรู้ว่าหน้าตาโครงการควรจะประกอบไปด้วย 9 หรือ 10 หัวข้อ ถ้าไม่มีความรู้ตรงนี้จะเขียนไม่ได้ ห้ามเขียนแบบเพ้อฝัน
สำคัญที่สุด คือ จะต้องรู้ว่า รอบรู้ในศาสตร์ หัวข้อรายละเอียด พอรู้รายละเอียด ข้อที่สองเขียนให้ครบถ้วนตามลำดับหัวข้อ ต้องไล่มาตั้งแต่แผนงาน ชื่อโครงการ วัตถุประสงค์เรื่อยไป พอหนึ่งรู้หน้าตาองค์ประกอบ
สองต้องเขียนให้ครบถ้วน สามต้องมีเทคนิคการเขียนด้วยใช้ภาษาสละสลวย อ่านแล้วเข้าใจง่าย เพราะฉะนั้นเป็นต้องมาตรวจสอบ ตรวจสอบด้วยตนเองอ่านแล้วเข้าใจไหม หลังจากนั้น เวลาเขียนร่างแรกอาจจะ
มีข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไข แล้วยื่นนำเสนอหน่วยงานเพื่ออนุมัติงบประมาณ เพราะฉะนั้นข้อพึงระวัง คือ บางทีไม่มีข้อมูลที่สังเคราะห์วิเคราะห์อย่างเพียงพอในการเขียนโครงการไม่เขียนจากจินตนาการ
จะต้องสั่งสมข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณจะต้องมาวิเคราะห์สรุปแยกแยะในการเขียน
          หลักง่ายๆ ข้อเสนอแนะสำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ ในการเขียนโครงการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ จำหลักง่ายๆ 3 ข้อ คือ รู้แม่นยำ นำสิ่งใหม่ ใช้การได้ รู้แม่นยำคือต้องรอบรู้ในส่วนประกอบรายละเอียด
Template ของการเขียนโครงการ ต้องรู้แม่นยำจริงคิดเชิงนวัตกรรม นำหรือทำสิ่งใหม่ เพราะว่าคงจะไม่มาขายข้าวไข่เจียวธรรมดามีการพลิกแพลงดัดแปลง ฉะนั้นการคิดเชิงนวัตกรรมแปลว่า คิดวิเคราะห์
สังเคราะห์คิดเชิงพัฒนา ไม่คิดซ้ำซากย้อนอดีตอย่างนี้ ใช้การได้สำคัญจะต้องเขียนโครงการที่นำไปใช้ได้จริงอย่าเพ้อฝันจินตนาการไม่ได้ และสำคัญคือทำอย่างไรให้หน่วยงานที่รับพิจารณาข้อเสนอตามงบ
ประมาณที่กำหนด จะต้องพูดเรื่องของประโยชน์ มีประโยชน์มากเป็นหลักฐานเชิงวิชาการ คือ ในการเขียนโครงการ เช่น บริการเผยแพร่สู่สังคมมีประโยชน์ต่อชุมชน สำคัญมากโครงการเป็นเหมือนเข็มทิศ
ว่าองค์กรหน่วยงานจะเดินไปทางไหน การเขียนโครงการจะต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กันหมด ทุกหัวข้อมีน้ำหนักความหมายผู้รับผิดชอบคือใคร ระยะเวลาที่ทำจะสัมพันธ์กับหมวดงบประมาณ จะมองว่าวิธีดำเนิน
การชัดเจน มีการวางแผน การประชุม การตั้งคณะทำงาน พูดง่ายๆเขาจะมองตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งไปจนเสร็จโครงการ และจะเป็นประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เกิดผลเชิงบวก


ภาพจาก Web Site
http://th.jobsdb.com/th-th/wp-content/uploads/sites/3/2014/08/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%
E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%
B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B5.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-5-60

          ในการเขียนโครงการ ส่วนแรกคนเขียนโครงการมีความรู้จริงจะต้องมีศาสตร์ความรู้ ไม่ได้ไปลอกโครงการอื่น ไม่ควรทำจะต้องหนึ่งหาความรู้ ความรู้หาได้ตั้งหลายรูปแบบ โดยการอ่านตำรา โดยดูจาก
โครงการอื่นที่เขาทำเป็นแนวทาง ต้องรู้จริง นำสิ่งใหม่ ใช้การได้ เป็นเทคนิคที่ยอดเยี่ยม ในการนำไปใช้สำหรับนักเขียนโครงการหน้าใหม่ รวมถึงนักเขียนโครงการมุ่งผลสัมฤทธิ์ได้ผลดีอย่างแน่นอน

 


นางสาวอุษณีย์ โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2558)
กลุ่มที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต
กลุ่มรายการที่ 1/11-58
CD-A1(1/4)-58