ลูกเสือแห่งชาติ
สารคดีรายการวิทยุกระจายเสียงประจำปี 2558
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2558)

          ประวัติการลูกเสือโลก เกิดขึ้นแห่งแรกของโลกโดย ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ในประเทศอังกฤษเมื่อปีพ.ศ. 2450 จากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟอีคิง
(Mafeking) ที่แอฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ได้ตั้งกองทหารเด็กช่วยสอดแนมการรบจนรบชนะข้าศึก เมื่อกลับไปยังประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน
ไปฝึกทหารอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี ปี พ.ศ. 2451 ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกที่ประเทศอังกฤษ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหารและฝึกให้คน
บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม ท่านลอร์ด เบเดน โพเอลล์ จึงได้แต่งหนังสือฝึกอบรมลูกเสือขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน โดยหนังสือเล่มดังกล่าวมีชื่อว่า Scouting for Boys และคำว่า Scout
ซึ่งใช้เรียกแทนลูกเสือมีความหมายตามตัวอักษรคื


ภาพจาก Web Site
http://scout.nma6.go.th/wp-content/uploads/2013/03/scout1.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-5-60

S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี
O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟังอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่ในโอวาท
U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี
T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

          การจัดตั้งลูกเสือในประเทศไทย ถือกำเนิดเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทราบเรื่องของลอร์ด เบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ในประเทศอังกฤษ เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติ
สู่ประเทศไทยได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหารเพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัยมี
ความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
          ต่อมาใน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ดังนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 จึงมีพระบรมราชโองการจัดตั้งลูกเสือขึ้นในประเทศไทย
นับเป็นประเทศที่สามของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา โดยทรงมีพระราชปรารภว่า เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายประถมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็น
ประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ลูกเสือกองแรกของไทย ตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง โรงเรียนวชิราวุธในปัจจุบัน และได้จัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียนต่างๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น
รวมทั้งพระราชทานคำขวัญให้ลูกเสือว่า เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือนายชัพน์ บุนนาค ในสมัยนั้นกิจการลูกเสือไทยเลื่องลือไปยังนานาชาติ ส่งผลให้กองลูกเสือที่ 8
ของประเทศอังกฤษ ได้มีหนังสือขอพระราชทานนามลูกเสือกองนี้ว่า กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานให้ตามความประสงค์ ลูกเสือกองนี้
ติดเครื่องหมายช้างเผือกที่แขนเสื้อทั้ง 2 ข้างและยังปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้


ภาพจาก Web Site
http://www.trat-pao.go.th/board/data/attachment/forum/201506/29/2159470ve3chvc30vklwow.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-5-60

          เริ่มจากกิจการลูกเสือสำหรับเด็กชายก่อน จึงจะเริ่มแพร่เข้าไปหมู่เด็กหญิง และสําหรับกิจการลูกเสือในไทยก็เช่นกัน เมื่อถึงระยะเวลาอันควรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมี
พระราชดำริที่จะให้สตรี และเด็กหญิงได้มีส่วนร่วมในกิจการลูกเสือ โดยทรงเห็นว่าสามารถจะเป็นกำลังให้กับชาติบ้านเมืองได้ แม้จะไม่ใช่กองกำลัง ดังนั้นจึงทรงตั้งกลุ่มสตรีขึ้นมากลุ่มหนึ่งซึ่งพระองค์ทรง
เรียกสมาชิกแม่เสือ ส่วนใหญ่เป็นบุตรและภรรยาเสือป่า โดยแม่เสือมีหน้าที่หลักในการจัดหาเสบียง และเวชภัณฑ์ให้กับกองเสือป่า ในขณะเดียวกันก็ทรงจัดตั้งกองลูกเสือสำหรับเด็กหญิง และพระราชทาน
นามว่าเนตรนารี ซึ่งเนตรนารีกองแรกคือ กองเนตรนารี โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ในปีพ.ศ. 2457 ต่อมาได้เป็นชื่อโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยวิชาที่เรียนคือ

          1. วิชาพฤกษศาสตร์ เป็นวิชาได้เพาะเมล็ดพืช ผัก ดอกไม้ มันฝรั่งและหัวหอม
          2. วิชาปฐมพยาบาล หัดช่วยคนเป็นลม วิธีพันผ้าพันแผลและเข้าเฝือก การชำระล้างและพันแผล
          3. วิชาทำกับข้าว หุงข้าว วิชานี้เป็นงานไปในตัว เพราะต้องผลัดเวรกันไปตลาด และทำกับข้าว
           การเรียนและฝึกซ้อมกฎของเนตรนารี คือพยายามหาความงามทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนประพฤติ สุภาพอ่อนโยน อารีอารอบ ต้องพยายามหาความรู้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและส่วนตัว อดทนในสิ่ง
ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม
           ลูกเสือคือเยาวชนชายและหญิงอายุระหว่าง 8-25 ปี ที่รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชาลูกเสือ โดยยึดมั่นในหลักการวิธีการ และวัตถุประสงค์ของการลูกเสืออย่างเคร่งครัด ข้อบังคับคณะลูกเสือ
แห่งชาติว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ได้กำหนดประเภทและเหล่าลูกเสือว่า ลูกเสือมี 4 ประเภท
          1. ลูกเสือสำรองเนตรนารีสํารอง อายุ 8-11 ปี คติพจน์ทำดีที่สุด
          2. ลูกเสือสามัญเนตรนารีสามัญ อายุ 11 ถึง 16 ปี คติพจน์จงเตรียมพร้อม
          3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ อายุ 14 ถึง 18ปี คติพจน์มองไกล
          4. ลูกเสือวิสามัญเนตรนารีวิสามัญ อายุ 16 ถึง 25 ปี คติพจน์บริการ


ภาพจาก Web Site
http://www.cb.ac.th/wp-content/uploads/2013/07/1039754_541335455902892_197123059_o.jpg
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-5-60

          คำว่าปฏิญาณตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า การให้คำมั่นโดยสุจริตใจ ลูกเสือจะต้องสำนึกว่าเขากล่าวคำปฏิญาณด้วยความสมัครใจของเขาเอง จะต้องเข้าใจด้วยว่า ผู้จะเรียกได้ว่า
เป็นคนจริงเพื่อให้ผู้อื่นนับถือ หรือเชื่อถือได้นั้น จะต้องเป็นผู้รักษาคำพูดโดยเฉพาะที่เป็นคำปฏิญาณ หรือคำมั่นสัญญาของตน กล่าวคือถ้าสัญญาว่าจะทำอย่างไรแล้ว ต้องทำเหมือนปากพูดทุกอย่าง ดังคำ
ปฏิญาณที่กล่าวว่า ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า

          ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แสดงให้เห็นว่า ลูกเสือมีหน้าที่หน้าที่ต่อชาติ ชาติไทยรวมกันเรียกว่าประเทศไทย ประกอบด้วยประชาชน พลเมือง ที่รวมกันเรียกว่าคนไทย
ธงชาติเป็นเครื่องหมายแห่งชาติ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของลูกเสือทุกคนจะต้องแสดงความเคารพ ในโอกาสที่ชักธงขึ้นสู่ยอดเสา และเวลาชักธงลงจากยอดเสา เป็นพิธีสำคัญอย่างหนึ่งของลูกเสือ ซึ่งจะต้องกระทำ
ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ต้องระมัดระวังไม่ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของธงสัมผัสกับพื้นเป็นอันขาด ให้เกียรติของธงชาติไม่ทำสิ่งไม่สมควร เช่น นำผืนธงไปปูพื้น เช็ด สิ่งของหรือเหยียบย่ำและกองไว้แทบ
เท้า ลูกเสือควรจะทราบด้วยว่าแต่ละสีมีความหมายอย่างไร ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือทุกคนจะต้องสามารถร้องเพลงชาติได้อย่างถูกต้อง หน้าที่ต่อศาสนา ลูกเสือจะนับถือศาสนาใดๆก็ได้ เพราะทุก
ศาสนาก็มีความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือให้บุคคลเป็นคนดีได้แก่ การละเว้นความชั่ว กระทำแต่ความดีและทำใจให้ผ่องใสบริสุทธิ์ หน้าที่ต่อพระมหากษัตริย์ ลูกเสือสนใจในพระราชกรณียกิจของ
พระมหากษัตริย์ โดยเน้นถึงเวลาที่พระองค์ทรงอุทิศให้แก่บ้านเมือง และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนประชาชนในท้องถิ่นต่างๆทั่วราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติเป็นที่
รวมแห่งความเคารพสักการะและความสามัคคีของคนไทยทั้งชาติ นอกจากนั้นพระองค์ทรงเป็นพระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ

          ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นหลักการสำคัญประการหนึ่งของลูกเสือ และเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำได้ ได้รับการยกย่องจากประชาชนโดยทั่วไป โอกาสที่ลูกเสือจะบำเพ็ญ
ประโยชน์ควรเริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กก่อน แล้วขยายออกไปตามวัยและความสามารถของเด็ก กล่าวคือหนึ่งบ้านของลูกเสือ ควรส่งเสริมให้เด็กทำงานในบ้าน หรือบำเพ็ญประโยชน์ต่อครอบครัว เพื่อเป็นการ
บ่มเพาะนิสัยที่ดีให้แก่เด็ก สองโรงเรียนหรือที่ตั้งกองลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือควรส่งเสริมให้เด็กได้ทำงานเป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ต่อห้องเรียน ต่อโรงเรียนให้มากที่สุด โดยสอนให้ลูกเสือตระหนักว่างาน
เป็นสิ่งที่มีเกียรติ งานเท่านั้นเป็นเครื่องวัดคุณค่าของคน

          ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ


ภาพจาก Web Site
http://www.obec.go.th/sites/obec.go.th/files/photos/51366/605513.JPG
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 31-5-60

          ลูกเสือชาวบ้าน เป็นกลุ่มของชาวบ้านที่มาทำประโยชน์แก่สังคม ผ่านการลูกเสือโดยที่มีการทำงาน หรือการเข้าค่ายต่างๆคล้ายกับลูกเสือที่มีการเรียนการสอนตามโรงเรียน เริ่มต้นในปีพ.ศ. 2512
โดยตำรวจตระเวนชายแดน ได้ฝึกสอนให้ชาวบ้านรู้จักดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน การป้องกันตนเอง ตลอดจนการสอดแนมรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนเป็นอันดับต้น เพื่อป้องกันการคุกคามของ
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยการฝึกได้นำเอาหลักในการฝึกวิชาลูกเสือมาเป็นแนวทางปฏิบัติ ภายหลังได้รับการขยายไปสู่ทั่วทุกภูมิภาคและทุกจังหวัด เนื่องจากเป็นองค์กรที่สามารถเสริมสร้าง
ให้ประชาชนได้มีความผูกพัน เสริมสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากลูกเสือประเภทอื่น

 


นางสาวอุษณีย์ โฉมฉายแสง เรียบเรียง
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2558)
กลุ่มที่ 4 ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
กลุ่มรายการที่ 4/27-58
CD-A4(2/3)-58