SubMenu :: Back :: Next

 

 

 

2. กระบวนการเขียนบทความวิชาการ



 

       2.1.3 ลงมือเขียน 

             การเขียนรายละเอียดเนื้อหาส่วนต่าง ๆ ตามโครงเรื่อง เมื่อมีภาพรวมอยู่ในโครงร่างหรือในใจแล้วผู้เขียนบทความวิชาการอาจจะเขียนส่วนต่าง ๆในโครงเรื่องก่อนการเขียนคำนำก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนตามลำดับ  เมื่อเขียนเนื้อหาเสร็จต้องตรวจสอบการอ้างอิง บรรณานุกรม   แล้วเขียนบทคัดย่อ 
             การนำข้อมูลจากการศึกษาวิจัยมาอภิปราย   อาจยกข้อความ (reporting) หรือสรุปความ(summarizing) จากประเด็นจากวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยมาเพื่อสนับสนุนประเด็นโต้แย้ง  หรือนำข้อความนั้นมาเขียนใหม่ด้วยภาษาของตนเองที่เรียกว่าการถอดความ (paraphrasing) มีการยกตัวอย่าง หรือรายละเอียดประกอบ ไม่ควรยกมาโดยไม่มีการปรับ และต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลเสมอ
             นักศึกษาหรือผู้วิจัยต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของบทความวิชาการของตนเองว่าจะเป็นการให้ข้อมูล โน้มน้าว ตั้งประเด็นโต้เถียงอภิปราย  บอกขั้นตอน เสนอทางเลือก เพื่อการใช้ภาษาที่สอดคล้อง
            การเขียนอภิปรายประเด็นต่าง ๆ นักศึกษาหรือผู้วิจัยอาจสำรวจถึง ความเกี่ยวพันของประเด็นต่างๆ ในลักษณะ ความเชื่อมโยง ลักษณะตรงข้าม ลำดับ สาเหตุและผล  การเป็นส่วนย่อยของส่วนใหญ่
การใช้ภาษาในส่วนของการเขียนเนื้อหาต้องได้ใจความที่ต้องการสื่อสาร ถูกต้องตามหลักภาษากระชับ ได้ใจความ ราบรื่นสละสลวย เครื่องหมายต่างๆ ถูกต้อง 
             การเขียนบทความวิชาการควรใช้ลักษณะเป็นทางการ ไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกมากเกินไป ในการเขียนบทความวิชาการ  เนื่องจากผู้อ่านคือผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการ ดังนั้นน้ำเสียงของบทความจึงต้องเป็นวิชาการ ไม่มีอคติ ไม่มีการประชดประชันเสียดสีเย้ยหยันแนวคิดที่ตรงข้ามกับผู้เขียน

             ในการเขียนเนื้อหา นักศึกษาหรือผู้วิจัยควรตระหนักว่าอาจต้องแก้ไขหลายครั้งจึงจะได้งานเขียนที่สามารถสื่อ “สาร” (message) ตามที่ต้องการอย่างแท้จริง 

 

 

 

TOP