Principles of Writing (หลักการเขียนบทความทางวิชาการ)
3. การเขียนบทความทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3.1 การเขียนบทความทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์
3.1.2 การเขียนทางมนุษยศาสตร์
การเขียนทางมนุษยศาสตร์ เช่นการเขียนทางวรรณกรรม ประวัติศาสตร์และปรัชญา เป็นการให้ข้อมูล บอกให้ทราบ (writing to inform) การเขียนทางมนุษยศาสตร์มักเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ การจัดกลุ่มเนื้อหาจึงมีความสำคัญที่สุด นอกจากจะสะท้อนวิธีศึกษาวิจัย แนวคิด ข้อค้นพบแล้วยังเป็นการแสดงจุดยืนของผู้เขียนต่อเรื่องนั้นๆ อีกด้วย
นอกจากนี้ยังเป็นการเขียนโต้แย้ง (making arguments) เพื่อตีความ เนื้อหาหรือเอกสาร หรือเพื่อปกป้อง เนื้อหา ประเด็นที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอ การเขียนสรุปเนื้อหาใช้ historical present tense
การกล่าวอ้างและหลักฐานในทางมนุษยศาสตร์เกี่ยวพันกับการตีความ แปลความหมาย หรือวิพากษ์วิจารณ์ text (เนื้อหาหรือเอกสาร) โดยอาจค้นพบรูปแบบที่ทำให้ text นั้นมีความหมาย อ่านซ้ำเพื่อให้เห็นว่ามีรูปแบบเช่นนั้น กล่าวอ้างรูปแบบ และอ้างถึงเนื้อหาใน text เพื่อเป็นหลักฐานสนับสนุน