SubMenu :: Back :: Next

 

 

 

3. การเขียนบทความทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

           3.2 การเขียนบทความทางสังคมศาสตร์



                 3.2.1 ความหมายของสาขาวิชาสังคมศาสตร์

 

                สังคมศาสตร์  มุ่งเน้นที่การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม ทั้งด้านจิตใจและวัฒนธรรมโดยใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษา    
                สาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เกี่ยวข้องกับ  รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ มานุษยวิทยา (anthropology) สังคมวิทยา สังคมศึกษา จริยศาสตร์ การศึกษา จิตวิทยา การสื่อสาร
                สมมติฐานเกี่ยวกับการศึกษาทางสังคมศาสตร์ พฤติกรรมมนุษย์เป็นรูปแบบต่าง ๆ มีกฎเกณฑ์ที่สามารถอธิบายได้   ปัจเจกบุคคลดำรงอยู่ในขอบข่ายรัศมีที่ซับซ้อน ทั้งระบบสังคมเล็กและใหญ่    ปัจเจกบุคคลในระบบมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระบบก็มีปฏิสัมพันธ์ และวิวัฒนาการไม่หยุดยั้ง มีองค์ประกอบที่เคลื่อนไหวอยู่เสมอ (dynamic entities)     ปัจเจกบุคคลและระบบสังคมวิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงตามเวลา สามารถสืบย้อนรอยพฤติกรรมปัจจุบันได้
                วิธีการศึกษา ใช้วิธี สังเกตและทดลอง วิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพ  มีการกล่าวอ้าง (claim) มีหลักฐาน (evidence) มีการใช้ตรรกะ (logic)
                การวิจัยทางสังคมศาสตร์ มีตัวแปรต้น (dependent variable) ตัวแปรตาม (independent variable)มีการทดลอง (experiment)
                เนื่องจากงานเขียนทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ส่วนหนึ่งมาจากงานวิจัยเชิงคุณภาพ จึงควรตระหนักถึงปัญหาที่พบจากการพิจารณาบทความทางวิชาการที่ศึกษาเชิงคุณภาพ   Woods (1999, 121-127) ได้สรุปไว้ดังนี้ วิธีการวิจัยไม่เหมาะสม อธิบายได้ไม่ดี   ข้อมูลจำกัดหรือใช้ผิด ใช้ทฤษฎีไม่เพียงพอ การนำเสนอและวิธีการเขียน อคติที่ผู้เขียนอาจไม่ตระหนัก (เช่นทางความคิดทฤษฎีที่ครอบงำผู้เขียน เขียนแต่สิ่งที่ผู้เขียนคิดว่าถูกต้อง เลือกข้อมูลที่สนับสนุนทฤษฎีที่ผู้เขียนชอบเท่านั้น)  องค์ความรู้ไม่เพียงพอ การศึกษาวรรณกรรมไม่ลึกซึ้งและวิพากษ์ การวิเคราะห์จำกัดเป็นการพรรณนาความโดยมาก หรือเพียงแค่จัดข้อมูลเข้ากลุ่ม  การอภิปรายจำกัด ผิวเผินไม่น่าเชื่อถือ


 


 

 

TOP