SubMenu :: Back :: Next

 

 

 

3. การเขียนบทความทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

           3.2 การเขียนบทความทางสังคมศาสตร์



                  3.2.2 การเขียนทางสังคมศาสตร์

 

                วิธีการเขียนทางสังคมศาสตร์ เป็นการเขียนเพื่อบอกผู้อ่าน (writing to inform) บอกรูปแบบที่สามารถเห็นได้ มีการอธิบาย กระบวนการ เปรียบเทียบเหมือนและเปรียบต่าง แบ่งประเภท ให้คำนิยาม
                นอกจากนี้การเขียนทางสังคมศาสตร์ เช่นเดียวกับงานเขียนทางวิชาการอื่น ๆ ยังเป็นการสร้างความรู้โดยการโต้แย้ง  โดยการกล่าวอ้าง (claim) ซึ่งต้องมีหลักฐานข้อมูล (evidence) สนับสนุน ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ใช้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพในการสนับสนุนข้อกล่าวอ้าง  ในการใช้เหตุผลตรรกกะ (logic) ในการเขียนเชิงสังคมศาสตร์อาจจะไม่พบการเขียนแบบแสดงสาเหตุและผล (cause-effect logic) อย่างเช่นในงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
                ในทางสถิติ การวิจัยเชิงปริมาณพบค่าทางสถิติที่มีนัยสำคัญ เช่น .05 หมายความว่ามีโอกาสน้อยกว่า 5 ใน 100ในการที่ข้อค้นพบจะเกิดโดยความบังเอิญ  หรือค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ค่าความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปร สอง ตัวแปร ในทางบวกและลบ  อาจใช้สถิติเชิงอนุมาน (inferential statistics) เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม